การพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีการลดความชื้นผลผลิตทางการเกษตร และวัสดุชีวภาพมูลค่าสูงด้วยอากาศร้อนที่เหมาะสมโดยใช้แหล่งพลังงานความร้อนร่วม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีการลดความชื้นผลผลิตทางการเกษตรและวัสดุชีวภาพมูลค่าสูงด้วยอากาศร้อนที่เหมาะสมโดยใช้แหล่งพลังงานความร้อนร่วมที่เหมาะสมกับพื้นที่ และเพื่อหาแนวทางการควบคุมปัจจัยการเพิ่มอัตราการลดความชื้นและลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลเสียต่อคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์แห้ง จากการทดลองอบแห้งเมล็ดแมคคาเดเมียปริมาณ 400 กิโลกรัม ที่มีความชื้นเริ่มต้นประมาณร้อยละ 16-17 มาตรฐานแห้ง ได้เป็นผลิตภัณฑ์อบแห้งที่มีความชื้นตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อบแห้ง ด้วยเทคโนโลยีโรงเรือนอบแห้งใช้หลักการเรือนกระจกและเตาชีวมวล ใช้เชื้อเพลิงจากเศษกะลาแมคคาเดเมีย โดยใช้หลักการ Hot Air Tube พลังงานไฟฟ้าจากระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์จ่ายให้กับขดลวดสร้างความร้อนขนาด 1 Kwh. เพื่อเพิ่มอุณหภูมิร่วมด้วย ซึ่งหลักการทำงาน คือ การแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างท่อเหล็กกับลมร้อน พบว่า การใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมีสภาวะการทำงานที่เหมาะสมเมื่ออุณหภูมิภายในห้องอบเท่ากับ 70 องศาเซลเซียส สามารถลดเวลาในการอบแห้งจากเดิม 72 ถึง 96 ชั่วโมง เหลือเพียง 48 ชั่วโมง ประสิทธิภาพของระบบอบแห้งเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 50 โดยระยะเวลาคืนทุนของการใช้เทคโนโลยีอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับเทคโนโลยีความร้อนจากเชื้อเพลิงชีวมวลต้นแบบของงานวิจัยนี้มีค่าประมาณ 1.37 ปี ในส่วนของแนวทางการควบคุมปัจจัย พบว่า ปัจจัยด้านความสว่างมีผลต่อคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ ดังนั้น จึงต้องจำกัดค่าความสว่างอยู่ที่ 73.63±0.72 ซึ่งทำให้เมล็ดแมคคาเดเมียมีค่าสี (a*) เป็น -2.28±0.35 โดยเมล็ดแมคคาเดเมียที่ผ่านการลดความชื้นทุกเงื่อนไขการทดลอง มีจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดน้อยกว่า 25 โคโลนีต่อตัวอย่างอาหาร 1 กรัม (1:10 dilution factor) ผลการตรวจสอบไม่พบยีสต์และรา และสำหรับการวิเคราะห์การปนเปื้อนของอะฟลาทอกซินในผลิตภัณฑ์ แมคคาเดเมียที่ผ่านการลดความชื้นหลังจากการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 เดือน ตรวจไม่พบสารพิษอะฟลาทอกซินชนิด Aflatoxin B1, Aflatoxin B2, Aflatoxin G1 และ Aflatoxin G2 ทำให้ผลิตภัณฑ์แมคคาเดเมียอบแห้ง มีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเมล็ดแมคคาเดเมีย มผช.1145/2549
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิชาการเกษตร. สถาบันวิจัยพืชสวน. (2564). สถานการณ์การผลิตมะคาเดเมีย. https://www.doa.go.th/hort/wp-content/uploads/2021/01/สถานการณ์การผลิตมะคาเดเมีย_มกราคม64.pdf
ณิชาภัทร มูลรัตน์, อารีย์ อัจฉริยวิริยะ, และศิวะ อัจฉริยวิริยะ. (2564). การพัฒนาการทำแห้งเมล็ดกาแฟโดยใช้เครื่องอบแห้งพลังงานชีวมวลสำหรับการทำแห้งช่วงแรก. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 31(2), 191-200.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร. (ม.ป.ป.). การพัฒนาการเกษตรบนพื้นที่สูง. https://agecon-extens.agri.cmu.ac.th/Course_online/Course/352103/352103%20(section%20002)%20หลักการเกษตรทั่วไป/บทที่%2010%20การพัฒนาการเกษตรบนพื้นที่สูง.pdf
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง. (2562, 25 ตุลาคม). เกี่ยวกับสภาพพื้นที่สูง. https://www.hrdi.or.th/About/Highland
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลำปาง. (2563, 25 ตุลาคม). ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดลำปาง. https://www.opsmoac.go.th/lampang-dwl-files-421691791027
สุรชัย เหมหิรัญ และประชา บุณยวานิชกุล. (2560). การทบทวนวิธีการควบคุมการลดความชื้นข้าวเปลือกในเครื่องอบแห้งแบบต่าง ๆ. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 24(1), 60-68.
สุห์ดี นิเซ็ง, ภาณุมาศ สุยบางดำ, กฤษณพงค์ สังขวาสี, และสุพัตรา เพ็งเกลี้ยง. (2562). การศึกษาผลของขนาดช่องระบายความชื้นสำหรับการอบแห้งพริก ด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานผสมผสาน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 11(1), 158-168.
อณัฐธิชา จันทะพันธ์, สุมล แซ่เฮง พิสิษฐ์สังฆการ, และธนิต สวัสดิ์เสวี. (2564). การอบแห้งใบกะเพราด้วยเครื่องอบแห้งไมโครเวฟร่วมกับลมร้อนแบบสายพานลำเลียง. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 17(1), 53-64.