ปัญหาสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมี ของพนักงานในร้านเสริมสวย ในเขตเทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

พิณัฎฐิณีย์ จิตคำ
อมรรัตน์ แสงนิล
อรยา นิลสุขุม
อรรัมภา เพชรรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีในการทำงานของพนักงานในเสริมสวย และเพื่อเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการใช้สารเคมีในการทำงาน ของพนักงานในร้านเสริมสวย ในเทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานในร้านเสริมสวยจำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบค่าดัชนีความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้เท่ากับ 1.00 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมี และปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการใช้สารเคมีในการทำงาน โดยวิธีการหาสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ ครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient)  ได้เท่ากับ 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีในการทำงานของพนักงานในเสริมสวย พบว่าส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันอันตรายอยู่ในระดับสูง  ร้อยละ 80 ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการใช้สารเคมีของพนักงานในร้านเสริมสวย พบมีอาการร้อยละ 33.33 โดยพบอาการทางผิวหนังมากที่สุด ร้อยละ 29.49 รองลงมาคืออาการทางระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 28.29 จากผลการวิจัยครั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสุขภาพ ควรให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพของพนักงานในร้านเสริมสวย ซึ่งถือเป็นแรงงานนอกระบบ โดยจัดให้มีการตรวจสุขภาพ อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อเป็นการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ และสนับสนุนการให้องค์ความรู้และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากสารเคมีในการทำงาน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบ้านดู่, (2563) สืบค้น 1 ธันวาคม 2564, จาก http://www.bandu.go.th
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2547) บทสรุปโครงการศึกษาวิจัยธุรกิจบริการสู่ตลาดโลก“ประเภทธุรกิจเสริมสวย” สืบค้น 1 ธันวาคม 2564, จาก https://dbd.go.th/
download/doc/1summary_of_beauty_salon.doc
ธุรกิจร้านเสริมสวย. (2553). สืบค้น 1 ธันวาคม 2564, จาก https://km.wu.ac.th/file/20160105-l27eJ.pdf
นลินี ศรีพวง. (2557). อาชีวอนามัยและความปลอดภัยกับงานเสริมสวย. สืบค้น 1 ธันวาคม 2564, จาก http://ipcs.fda.moph.go.th/csnetNEW/FileNewsLetter/chemical%2019-
1%20%20by%20fon%20-%20proof%206%20-%20sm.pdf.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ 5/2538. (2538). เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ. สืบค้น 1 ธันวาคม 2564, จาก http://www.ssonanoi.com/web2012/attachments/096
ปวีณา ลิมปิทีปราการ พลากร สืบสำราญ และขนิญญา ปุยฝ้าย. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีของผู้ประกอบอาชีพบริการตกแต่งผม-เสริมสวย ในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. ในการประชุมวิชาการด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 8. (1-19). อุบลราชานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ปิยะ แช่จัง. (2555). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดผืนผิวหนังอักเสบบริเวณมือในนักศึกษาช่างทำผมหญิงในเขตกรุงเทพ-มหานคร. วารสารควบคุมโรค, 38(2), 77-86.
แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน. (2562) .ใน เอกสารแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน (นอกระบบ) สำนักสร้างเสริมสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สำนักงานกองทุนสนันสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
พรแก้ว เหลืองอัมพร แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ สุรินธร กลัมพากร และ สรา อาภรณ์. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม อันตรายจากการใช้สารเคมีของช่างเสริมสวย ในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 28(2), 51-64
พิมาน ธีระรัตนสุนทร, บุญเรือง ฮุงหวล, และ มุกดาวรรณ ยวงเดชกล้า. (2560). ความรู้ ทัศนคติและ พฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงจากการสัมผัสสารฟอร์มัลดีไฮด์ของผู้ประกอบอาชีพช่างเสริมสวย
อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
วันชัย สุธีวีระขจร. (2554). อาชีวอนามัยในอุตสาหกรรมทางด้านความสวยงาม ในเอกสารการอบรมผู้ประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผมตามโครงการพัฒนายกระดับมาตรฐานสถานประกอบการรุ่นที่ 1 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 ณ โรงแรมรอยัลลิเวอร์ เขตบางพลัดกรุงเทพมหานคร เรื่องปัญหาสุขภาพจากการประกอบอาชีพสวยสวยหรือแต่งผม. จัดโดยกองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร.. กรุงเทพฯ : กองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย.
ศิรินทร์ทิพย์ ชาญด้วยวิทย์ และ ภัทราวดี จารวัฒนธรรม. (2556). คู่มือประเมินความเสี่ยงจากการทำงานกลุ่มผู้ประกอบอาชีพช่างเสริมสวย. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2563, จาก http://www.summacheeva.org/documents/book_2556_006.pdf
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2550). โครงการพัฒนาศึกษาพัฒนาระบบงานและการจัดทำเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับสถานบริการแต่งผม-เสริมสวย ตาม พรบ.การสาธารณสุข. รายงานการวิจัย, สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข.
Gago, D.M., Castelao, J.E., Yuan, J.M., Yu, M.C., & Ross, R.K. (2001). Use of permanent hair dyes and bladder cancer risk. Intemnational Journal of Cancer. (91), 575-9.
Hashemi, N., Boskababy, H., & Nazari, A. (2010). Occupational Exposures and Obstructive Lung Disease: A Case- control Study in Hairdresser. The Science Journal of the American Association for Respiratory Care, 55(7), 895-900.
Leino, T., Tammilehton, L, Luukkonen, R., & Nordman H. (1997). Self reported respiratory symptoms and diseases among hairdressers. Journal of Occupational and Environmental Medicine, 54(6), 452-455.
Lind, M.L., Albin, M., Brisman, J., Diab, K.K, Lillienberg, L., Mikoczy, Z. et al. (2007). Incidence of hand eczema in female Swedish hairdressers. Journal of Occupational and Environmental Medicine. 64, 191-195.
Mandiracioglu, A., Kose, S., Gozaydin, A,,Turken, M., & Kuzucu, L. (2009). Occupational health risks of barbers and coiffeurs in Izmir. Indian Journal of Occupational and Environmental Medicine. 13, 92-96.
Moscato, G., Pignatti, P., Yacoub, M.R.Romano, C., Spezia, S., & Perfetti, L (2005). Occupational asthma and occupational rhinitis in hairdressers. Chest, 128(5), 3590 - 98.acti
Ronda,E.,Garcia, A.M., Paya, J.S, & Moen, B.E. (2009). Menstrual disorders and sub fertility in Spanish hairdresser. European Journal of Oostetrics & Gynecology and Reproductive Biology. 147, 61-64.