การประเมินค่าความร้อนจำเพาะเของเชื้อเพลิงเพื่อพัฒนากระบวนการช่วยตัดสินใจชิงเผา ในป่าเต็งรัง กรณีศึกษา: เขตอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์ (ประเทศไทย)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้อธิบายถึงกระบวนการศึกษาลักษระเชื้อเพลิงในป่าเต็งรัง บริเวณพื้นที่ป่าเต็งรังในอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยจัดทำเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้ในนการสร้างกระบวนการช่วยตัดสินใจชิงเผาป่าเต็งรังในพื้นที่ดำเนินโครงการ โดยการเก็บข้อมูลลักษณะเชื้อเพลิง จะทำการศึกษาระบบนิเวศน์ในป่า ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลพืชพรรณ ความหนาแน่นของพืช ความหนาแน่นสัมพัทธ์ ความถี่สัมพัทธ์ และค่าความร้อนจำเพาะของใบพืช เพื่อนำมาวิเคราะห์หาค่าความร้อนจำเพาะของเชื้อเพลิงที่สามารถใช้เป็นตัวแทนข้อมูลในพื้นที่ดำเนินโครงการได้ โดยจัดทำการกำหนดพื้นที่เก็บข้อมูลขนาด 50 เมตร x 50 เมตร เก็บข้อมูลไม้ต้น และ 10 เมตร x 10 เมตร เก็บข้อมูลไม้หนุ่ม จากนั้นนำตัวอย่างใบไม้ที่ร่วงบนผิวดินหาค่าความร้อนจำเพาะ และใช้ค่าความร้อนและค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์มาวิเคราะห์หาค่าความร้อนจำเพาะเชื้อเพลิงในพื้นที่ดำเนินโครงการ พบว่าในพื้นที่ป่าเต็งรังมีจำนวนไม้ต้น 141 ต้น และไม้หนุ่ม 176 ต้น ต่อพื้นที่ 0.32 เฮกตาร์ (2 ไร่) และมีพรรไม้ทั้งหมด 12 ชนิดพรรณ ต้นเต็งมีค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์มากที่สุดถึง 27.44 รองมาคืออ้อยช้างมีค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ 14.83 และอื่น ๆ เมื่อนำมาวิเคราะห์หาค่าความร้อนจำเพาะของเชื้อเพลิงในพื้นที่จะมีค่าเท่ากับ 19.58 MJ/kg จากนั้นจะสามารถนำข้อมูลค่าความร้อนจำเพาะมาใช้วิเคราะห์ค่าความรุนแรงของไฟจากระเบียบวิธีทางคณิตศาสตร์ เทียบกับการทดสอบในพื้นที่จริงพบว่าค่าความรุนแรงไฟจากการวิเคราะห์ข้อมูลมีความคลาดเคลื่อนมากสุดคือร้อยละ 28 ของค่าจากการทดสอบในพื้นที่จริง
Downloads
Article Details
References
2. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2562). คู่มือการจัดการเชื้อเพลิง. ส่วนควบคุมไฟป่า: สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า
3. วิจารย์ สิมาฉายา. (2552). มลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ: ปัญหาและแนวทางแก้ไข. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทัพยากรและสิ่งแวดล้อม.
4. พงษ์ธร วิจิตรกูล, ณัฐพล อัตตาธนากร และวัชรพงษ์ ธัชยพงษ์. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการลุกลามของไฟในนการชิงเผาป่าเต็งรัง. รายงานการประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย. เชียงราย, ประเทศไทย. หน้า 89-100.
5. ปัญญากร ดีเรือน และ วัชรพงษ์ ธัชยพงษ์. (2561). การวิเคราะห์ค่าความร้อนของใบไม้เพื่อทำนายความรุนแรงของไฟป่าเต็งรัง. การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33. อุดรธานี.
6. สถิต วัชรกิตติ. (2525). การสำรวจทรพยากรป่าไม้. ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. หน้า 170-175.
7. เสรี ศรีธิเลิศม เสถียร ฉันทะ และ สุนทรี กรโอชาเลิศ. (2564). ความหลากชนิดและการใช้ประโยชน์ของพืชป่าของชุมชนบ้านปางขอน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เพื่อพัฒนาท้องถิ่น). ปีที่ 16. ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2564). หน้า 129-149.
8. Alan A. Ager et al. (2018). Using transboundary wildfire exposure assements to improve fire management programs: a case study in Greece. International Journal of Wildland Fire, Volume 27, P. 501-513.
9. Curt T, Frejaville T. (2017). Wildfire policy in Mediterranean France: how far is it efficient and sustainable? Risk Analysis Vol.38, P. 472-488.
10. Fischer AP, Charnley S. (2012). Risk and cooperation: manging hazardous fuel in mixed ownership landscapes. Environmental Management Vol.49, P. 1192-1207.
11. Jennifer Sherry, Timothy Neale et al. (2019). Rethinking the maps: A case study of knowledge incorporation in Canadian wildfire risk management and planing. Journal of Environmental Management, Volume 234, P. 494-502.
12. Kalabokidis K., Palaiologou P and Finney MA. (2013). Fire behavior simulation in Mediterranean forests using the minimum travel time algorithm. Proceedings of 4th Fire Behavior and Fuels Conference - At the Crossroads: Looking Toward the Future in a Changing Environment. Russia. P. 468-492.