ผลการใช้โปรแกรมการสอนทางกายภาพบำบัดตามรูปแบบความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับทฤษฎีความสามารถตนเองต่อระดับความเจ็บปวดและความสามารถทางกาย ของผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังในคลินิกฝังเข็ม

Main Article Content

จุฬารัตน์ รวมจิต
ศรัณยู เรือนจันทร์
ธนากร ธนวัฒน์
ภาคภูมิ โชคทวีพาณิชย์

บทคัดย่อ

        การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนทางกายภาพบำบัดตามความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับทฤษฎีความสามารถตนเอง ต่อระดับของอาการเจ็บปวด ความสามารถทางกาย การรับรู้ตามความเชื่อด้านสุขภาพ และการรับรู้ความสามารถตนเองในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างอายุ 20-45 ปี ในคลินิกฝังเข็ม โรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน ระยะเวลาดำเนินการ 8 สัปดาห์ โดยกลุ่มทดลองได้รับการฝังเข็มและโปรแกรมการสอนทางกายภาพบำบัดตามความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับทฤษฎีความสามารถตนเอง  ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการรักษาด้วยวิธีการฝังเข็มปกติอย่างเดียว เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย มาตรวัดความเจ็บปวด แบบประเมินความสามารถทางกาย แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ 3 ด้าน และแบบสอบถามความสามารถตนเอง 2 ด้าน การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบใช้สถิติ Paired sample t-test และ Independent t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05


          ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับโปรแกรมการสอนทางกายภาพบำบัด 8 สัปดาห์ ในผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนระดับอาการปวดหลังส่วนล่าง และระดับภาวะการจำกัดความสามารถทางกายลดลง สำหรับการรับรู้ตามความเชื่อด้านสุขภาพและการรับรู้ตามทฤษฎีความสามารถตนเองมีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ยกเว้นค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความคาดหวังของการมีพฤติกรรมต่อการลดอาการปวดหลังส่วนล่าง นั้นพบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน สรุปได้ว่าโปรแกรมการสอนทางกายภาพบำบัดตามรูปแบบความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับทฤษฎีความสามารถตนเองสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการอาการปวดหลังส่วนล่างและภาวะจำกัดความสามารถทางกายของผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมแพทย์ทหารบก. (2563, 25 ตุลาคม). รายงานจำนวนผู้มารับบริการฝังเข็มจำแนกตามสาเหตุป่วย
(รง.ผสต.10). http://58.137.162.170/amed/reports/reportstatusbyhospital
กาญจนา นิ่มตรง, นงนุช โอบะ, และ อาทิตย์ เหล่าเรืองธนา. (2555). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและอาการปวดของผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 6(2), 99-109.
จุฬาลักษณ์ วงศ์อ่อน. (2558). ผลการใช้โปรแกรมการสอนทางกายภาพบำบัดตามรูปแบบความเชื่อด้านสุขภาพของโรเซนสต๊อกต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการออกกำลังกายของผู้ป่วยปวดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบเชื่อมต่อกระดูกสันหลัง. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 21(1), 23-38
นิธิตา ธารีเพียร, ทัศนีย์ร วิวรกุล, สุรินธร กลัมพากร, และ วงเดือน ปั้นดี. (2552). การประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมต่อการป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่าง ของผู้ประกอบอาชีพทำอิฐมอญ. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 4(3), 1-10.
นุชรัตน์ มูลเมืองแสน, ณิชาภัตร พุฒิคามิน, และ รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล. (2556). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านต่ออาการปวดภาวะจำกัดความสามารถและพิสัยการเคลื่อนไหวของหลังในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างที่ไม่ทราบสาเหตุ. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(3), 107-114.
เพชรรัตน์ แก้วดวงดี, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล, วัณทนา ศิริธราธิวัตร, ยอดชาย บุญประกอบ, สาวิตรี วันเพ็ญ, ภาณี ฤทธิ์มาก, และยุพา ถาวรพิทักษ์. (2554). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาการปวดหลังส่วนล่าง อาชีพกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ (แหอวน) จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 26(4), 317-324.
เพ็ญศิริ จันทร์แอ, พงษ์พิพัฒน์ จงเพ็งกลาง, สันติสิทธิ์ เขียวเขิน และ ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์. (2562). ผลของโปรแกรมฤๅษีดัดตน ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหลังตึง เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 20(1), 93-103.
วิสุทธิ์ โนจิตต์, ทิพวรรณ ตั้งวงกิจ, จารุณี จาดพุ่ม และ มณี ดีประสิทธิ์. (2560). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายและความทนทานของกล้ามเนื้อ หลังในชาวนา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(4), 48-62.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์. (2563, 1 มีนาคม). อัตราป่วยโรคกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน. https://utt.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=envocc/format1.php&cat_id=f16421e617aed29602f9f09d951cce68&id=74b22d3ae96848ef364e6b1a26da8f37
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจภาวะการทำงานของประชากรทั่วราชอาณาจักร ไตรมาส 4: ตุลาคม-ธันวาคม 2560. กรุงเทพฯ, สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2561.
อมรรัตน์ แสงใสแก้ว, จุรีรัตน์ กอเจริญยศ, บุญรอด ดอนประเพ็ง และมารศรี ศิริสวัสดิ์. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายในขณะปฏิบัติกิจวัตร ประจำวันต่ออาการปวดและภาวะจำ กัดความสามารถ ในผู้ที่ปวดหลังส่วนล่างไม่ทราบสาเหตุ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร, 39(1), 1-13.
อรไท เจริญนุช. (2553). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับ พฤติกรรมการบริหารกล้ามเนื้อหลังของผู้ป่วย ปวดหลังส่วนล่างที่ได้รับบริการนวดแผนไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อินทิรา รูปสว่าง, สุภาพ อารีเอื้อ และ พรรณวดี พุธวัฒนะ. (2552). การศึกษาติดตามภาวะสุขภาพของผู้ป่วยที่มีปัญหาปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังก่อนและหลังผ่าตัดกระดูกสันหลัง. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 15(3), 344-360.
Bandura, A. (1997). Self – efficacy the exercise of control. New York: W.H. Freeman.
Franca, F.R., Burke, T.N., Hanada, E.S., Marques, A. P. (2010). Segmental stabilization and muscular strengthening in chronic low back pain - a comparative study. Clinical science, 65(10), 1013-1017.
Koes, B.W., van Tulder, M.W., Thomas, S. (2006). Diagnosis and treatment of low back pain. British Medical Journal, 332(7555), 1430-1434.
Pathak, A., Sharma, S., Mark, P. (2018). The utility and validity of pain intensity rating scales for use in developing countries. Pain report, 3(5), 1-8.
Rosenstock, M. (1974). Historical origins of the health belief model. Health Education Monigraphs, 2(4), 328-335.
Sanjaroensuttikul, N. (2007). The oswestry low back pain disability questionnaire (version 1.0) thai version. Journal of the Medical Association of Thailand, 90(7), 1417-1422.
Strand, J. (1994). Strategies for enhancing patient compliance. Journals for Physician Assistants, 18(1), 48-50.
Thanawat, T., Nualnetr, N. (2017). Effects of an intervention based on the Transtheoretical Model on back muscle endurance, physical function and pain in rice farmers with chronic low back pain. Journal of Back and Musculoskeletal Rehabilitation, 30(4), 847-856.
Wai, E.K., Roffey, D.M., Bishop, P., Kwon, B.K., Dagenais, S. (2010). Causal assessment of occupational lifting and low back pain: results of a systematic review. Spine Journal, 10(6), 224-266.
Zhang, Y., Wan, L., Wang, X. (2014). The effect of health education in patients with chronic low back pain. Journal of International Medical Research, 42(3), 815-820.