การศึกษาวาล์วควบคุมการไหลของน้ำที่เหมาะสมต่อการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดจิ๋วด้วยแบบจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรงไฟฟ้าพลังงานขนาดจิ๋วเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำที่สามารถพัฒนาได้ง่ายในพื้นที่ชุมชนที่มีศักยภาพพลังงานน้ำในปริมาณต่ำและเป็นโรงไฟฟ้าที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย โดยกังหันน้ำที่เหมาะสมจะเป็นกังหันน้ำแบบแรงกระแทกที่มีการต่อท่อน้ำผ่านวาล์วน้ำและฉีดเข้าไปยังใบพัดของกังนั้น งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของชนิดของวาล์วน้ำ ระยะห่างของหัวฉีดกับใบพัดของกังหันน้ำ และการควบคุมอัตราการไหลของน้ำที่เหมาะสมต่อการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานขนาดจิ๋ว โดยทำการศึกษาการพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณและการศึกษาการผลิตไฟฟ้าจริงกับกังหันน้ำแบบเพลตันขนาด จิ๋ว (5 kW) ผลการศึกษาพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณพบว่า วาล์วที่เหมาะสมคือวาล์วชนิดบอลวาล์ว (Ball valve) ซึ่งให้ลักษณะการไหลของน้ำที่คงที่มีความปั่นป่วนของการไหลน้อยที่สุด และจากการทดลองผลิตไฟฟ้าจริงพบว่าสามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ย 4.82 kW คิดเป็นสมรรถนะการทำงานของกังหันน้ำที่ 96.4% ที่การติดตั้งวาล์วน้ำชนิดบอลวาล์วในระยะระหว่างวาล์วกับใบพัดของกังหันน้ำ 200 mm และอัตราการไหลของน้ำที่ 80% ของอัตราการไหลสูงสุดที่ผ่านวาล์ว จากการศึกษานี้จะเห็นได้ว่าไม่จำเป็นต้องเปิดวาล์วน้ำเต็ม 100% ในการผลิตไฟฟ้านั้นก็หมายความว่าจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้น้ำได้อีกทางหนึ่ง
Downloads
Article Details
References
กระทรวงพลังงาน, สำนักนโยบายและแผนพลังงาน. พลังงานน้ำขนาดเล็ก. สืบค้น 24 ตุลาคม 2563, จาก http://www.eppo.go.th/images/Power/renewable-energy/18.pdf
2.Choi, M., Jung, Y. J. and Shin, Y. 2015. Unsteady flow simulations of Pelton turbine at different rotational speeds. Advances in Mechanical Engineering, 7(11), 1–9
3.Din, M. Z. U. and Harmain, G. A. 2020. Assessment of erosive wear of Pelton turbine injector: Nozzle and spear combination – A study of Chenani hydro-power plant. Engineering Failure Analysis, 116 (2020) 104695
4. Fortaleza, B. N., Juan, R. O. S. and Tolentino, L. K. S. 2018. IoT-based Pico-Hydro Power Generation System using Pelton Turbine. Journal of Telecommunication, Electronic and Computer Engineering, 10, 189-192
5.Guo, B., Xiao, Y., Rai, A. K., Zhang, J. and Liang, Q. 2020. Sediment-laden flow and erosion modeling in a Pelton turbine injector. Renewable Energy, 162 (2020), 30-42
6.Gupta, V., Prasad, V. and Khare, R. 2014. Effect of Jet Shape on Flow and Torque Characteristics of Pelton Turbine Runner. Journal of Engineering Research and Applications, 4(1), 318-323
7.Jeon, H., Park, J. H., Shin, Y. and Choi, M. 2018. Friction loss and energy recovery of a Pelton turbine for different spear positions. Renewable Energy, 123 (2018), 273-280
8.Yahya, A. K., Munim, W. N. W. A. and Z. Othman, "Pico-hydro power generation using dual pelton turbines and single generator," 2014 IEEE 8th International Power Engineering and Optimization Conference (PEOCO2014), Langkawi, 2014, pp. 579-584
9.Zidonis, A., Petley, S., Benzon, D. S., Panagiotopoulos, A., Anagnostopoulos, J. S., and Papantonis, D. E. 2017. Experimental investigation and analysis of the spear valve design on the performance of Pelton turbines: Three case studies. Conference: HYDRO 2017, At: Seville, Spain, October 2017