การส่งข้อมูลความสัมพันธ์ของทิศและความเร็วลมผ่านระบบ SCADA เพื่อควบคุมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานลมขนาด 80 เมกะวัตต์

Main Article Content

อรรฆพร คงจิต
กัญญานัฐ ทองเทพ
วีรพล จิรจริต
จอมภพ แววศักดิ์
ธเนศ ไชยชนะ
ยิ่งรักษ์ อรรถเวชกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการผลิตไฟฟ้าด้วยการส่งสัญญาณข้อมูลลมเพื่อควบคุมการผลิตผ่านระบบสกาดา (Supervisory Control And Data Acquisition; SCADA) สามารถลดระยะเวลาก่อนเริ่มและเพิ่มความต่อเนื่องในการผลิตไฟฟ้า โดยใช้อุปกรณ์ตรวจวัดลมบนกังหันลมแต่ละต้นส่งข้อมูลลมให้กับระบบควบคุมที่ความสูง 553 เมตรจากระดับน้ำทะเล ขนาดกำลังการผลิตต่อต้น 2.5 เมกะวัตต์ จำนวน 32 ต้น กำลังการผลิตรวม 80 เมกะวัตต์ อำเภอซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ


การวิจัยแบ่งกังหันลมได้เป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ติดตั้งบริเวณที่ราบจะมีลมพัดในทิศแน่นอน จำนวน 15 ต้น และกลุ่มที่ติดตั้งใกล้กับเทือกเขาจะมีลมพัดในทิศไม่แน่นอน จำนวน 17 ต้น วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากระบบสกาดา ใช้ข้อมูลค่าเฉลี่ยมุมของลมที่พัดผ่านกังหันลมแต่ละกลุ่ม ในการกำหนดทิศรอลมของกลุ่มกังหันลม พบว่าในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 กังหันลมกลุ่มที่ลมมีทิศแน่นอนและไม่แน่นอน มีจำนวนข้อมูลรอบการทำงาน 5,444 และ 6,464 รอบ เมื่อใช้วิธีเพิ่มการผลิตไฟฟ้าด้วยการส่งสัญญาณผ่านระบบสกาดา ส่งผลให้ผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 162,568.37 และ 84,617.83 กิโลวัตต์ชั่วโมง ตามลำดับ รวมทั้งโครงการ เท่ากับ 247,186.20 กิโลวัตต์ชั่วโมง ผู้ดูแลระบบสามารถใช้วิธีการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าในงานวิจัยนี้ เพื่อเป็นแนวทางเพิ่มการผลิตไฟฟ้ากับโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลมโครงการอื่นๆ ได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงพลังงาน, กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2557). สารานุกรมพลังงานทดแทน Alternative Energy Encyclopedia. กรุงเทพฯ: มีเดีย เอกซ์เพอร์ทีส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด.
จำลอง มะละเขต, วีรพล จิรจริต, จอมภพ แววศักดิ์, ธเนศ ไชยชนะ, และ ยิ่งรักษ์ อรรถเวชกุล. (2561). การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมด้วยการประมวลสัญญาณจากสถานีพยากรณ์อากาศรอบกังหันลมเพื่อควบคุมการผลิตไฟฟ้า. ใน การประชุมวิชาการและการประกวดนวัตกรรมบัณฑิตศึกษาระดับชาติและนานาชาติ, เชียงใหม่, 694-701.
พรวี เกิดเกตุ, สมถวิล ขันเขตต์, วีรพล จิรจริต, จอมภพ แววศักดิ์, ธเนศ ไชยชนะ, และ ยิ่งรักษ์ อรรถเวชกุล. (2561). การกำหนดทิศรอลมของกังหันลมด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อเพิ่มเวลาในการผลิตไฟฟ้า. ใน การประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทยครั้งที่ 14, ระยอง, 1,097-1,100.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน. (2559). ข้อมูลผู้ผลิตไฟฟ้า SPP/VSPP. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.erc.or.th/ERCSPP/default.aspx?x=&muid=23& prid=41
สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ผันลมเย็น แปรเป็นพลังงานสะอาด – NSTDA. สืบค้น 28 พฤษภาคม 2562, จาก http://nstda.or.th/rural/public/100%20arti cles-stkc/99.pdf
อรรฆพร คงจิต, วีรพล จิรจริต, จอมภพ แววศักดิ์, ธเนศ ไชยชนะ, เสริมสุข บัวเจริญ, และ ยิ่งรักษ์ อรรถเวชกุล. (2561). สภาวะภูมิประเทศส่งผลต่อทิศลมมรสุมที่ผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานลมขนาดกำลังการผลิต 80 MW. ใน การประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทยครั้งที่ 14, ระยอง, 1,101-1,105.
อรรฆพร คงจิต, วีรพล จิรจริต, จอมภพ แววศักดิ์, ธเนศ ไชยชนะ, และ ยิ่งรักษ์ อรรถเวชกุล. (2561). การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของฟาร์มกังหันลม จำนวน 32 ต้น กำลังการผลิต 80 MW โดยใช้การสื่อสารระหว่างเครื่องกับเครื่องผ่านระบบ SCADA. ใน งานประชุมวิชาการ และนวัตกรรม กฟภ. ปี 2561, กรุงเทพฯ, 63-68.
Baumbach, G. (1991). Luftreinhaltung. Springer Verlag: Berlin.
Katsaprakakis, D. Al., and Christakis, D.G. (2012). 2.07-Wind Parks Design, Including Representative Case Studies. Comprehensive Renewable Energy, 2, 169-223.
iEnergyGuru. (2558). พลังงานลม : มารู้จักประเภทของลม และปรากฏการณ์ต่างๆ ของลมกันเถอะ!!!. สืบค้น 30 พฤษภาคม 2562, จาก https://ienergyguru.com/2015/07/ประเภทของลม/
Koetket, P., Khunkhet, S., Chiracharit, W., Waewsak, J., Chaichana, T., and Auttawaitkul, Y. (2018). Increasing Efficiency in Wind Energy Electricity Generating by Signal Processing from Wind Measuring Equipment on Wind Turbine for the Determination of Wind Direction. in 2018 International Workshop on Advanced Image Technology (IWAIT), Chiang Mai, 1-4.
Thai Meteorological Department Automatic Weather System. (2018). Wind Rose. Retrieved May 30, 2019, from http://www.aws-observation.tmd.go.th/web/aws/aws_ windroses.asp