รูปแบบการประเมินสภาผู้นำชุมชนจัดการตนเองเพื่อชุมชนน่าอยู่

Main Article Content

แชน อะทะไชย
ฉัตรนภา พรหมมา
มานี แสงหิรัญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานและแนวทางการประเมินสภาผู้นำชุมชน พัฒนารูปแบบการประเมินสภาผู้นำชุมชนจัดการตนเองเพื่อชุมชนน่าอยู่ และทดลองใช้รูปแบบการประเมินสภาผู้นำชุมชนจัดการตนเองเพื่อชุมชนน่าอยู่ ดำเนินการศึกษา 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการดำเนินงาน แนวทางการประเมินสภาผู้นำชุมชน ด้วยการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์และประชุมระดมความคิดเห็น ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ สภาผู้นำชุมชน จำนวน 69 คนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคเหนือ  ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการประเมินสภาผู้นำชุมชนจัดการตนเองเพื่อชุมชนน่าอยู่ ด้วยเทคนิคเดลฟาย โดยผู้เชี่ยวชาญ 17 คน ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการประเมินสภาผู้นำชุมชนจัดการตนเองเพื่อชุมชนน่าอยู่ ใน 2 หมู่บ้านโดยคณะผู้ประเมิน 2 กลุ่ม จำนวน 20 คน วิเคราะห์เนื้อหา ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์


          ผลการศึกษา พบว่า 1)สภาผู้นำชุมชนสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทและเกิดผลสำเร็จในด้านการบริหารจัดการหมู่บ้าน สมาชิกในชุมชนมีพฤติกรรมด้านสุขภาพเหมาะสม มีความปลอดภัยในชีวิตและมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น แต่ยังไม่มีรูปแบบการประเมินที่ชัดเจน ควรมีการพัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อให้ได้สารสนเทศในการบริหารจัดการสนับสนุนการดำเนินงานสภาผู้นำชุมชน 2)การพัฒนารูปแบบการประเมินสภาผู้นำชุมชนจัดการตนเองเพื่อชุมชนน่าอยู่ ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ นิยามการประเมิน วัตถุประสงค์การประเมิน สิ่งที่ประเมิน 4 ด้าน(ด้านการจัดองค์กรสภาผู้นำชุมชน ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงานและด้านผลสำเร็จการดำเนินงาน จำนวน 16 ตัวชี้วัด) ขั้นตอนการประเมิน ผู้ประเมิน เครื่องมือประเมิน การตัดสินผลการประเมิน การรายงานผลการประเมิน และการนำผลการประเมินไปใช้ ผู้เชี่ยวชาญ เห็นว่ารูปแบบดังกล่าวมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ทุกองค์ประกอบ Mdn › 3.50และIQR ≤ 1.50 3)การทดลองใช้รูปแบบการประเมินสภาผู้นำชุมชนจัดการตนเองเพื่อชุมชนน่าอยู่ ใน 2 หมู่บ้าน พบว่า ผลการประเมินตามองค์ประกอบและตัวชี้วัดของรูปแบบดังกล่าว ทั้ง 2 หมู่บ้านอยู่ในระดับมากที่สุด คณะผู้ประเมินมีความเห็นว่ารูปแบบการประเมินมีความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม และความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.70, S.D. = 0.45)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขนิฏฐา กาญจนรังสีนนท์ และคนอื่นๆ. (2543). โครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบกระบวนการ ชุมชนและการ เชื่อมต่อกับระบบการบริหารการพัฒนาของรัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ฉัตรนภา พรหมมา. (2557).เอกสารประกอบการสอนรายวิชาระเบียบวิธีวิจัยและประเมินเพื่อพัฒนา
การศึกษา.อุตรดิตถ์.มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
(2561).รูปแบบการประเมินเสริมพลังการบริหารจัดการงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราช
ภัฎอุตรดิตถ์กับชุมชนท้องถิ่น.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์,13(2),1-12
ชนัดดา บุบผามาศ. (2557). การประเมินโครงการระบบโครงข่ายการเรียนรู้ไร้พรมแดนโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศิลปากร,
ชัญญา อภิปาลกุล. (2545). รูปแบบการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ในสถานศึกษา SINTPAE MODEL(ฉบับสรุป). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ปรเมธี วิมลศิริ. (2560). เศรษฐกิจไทยปี 2560. ไทยพับลิก้า. สืบค้น 26 มกราคม 2561,
จาก https://thaipublica.org/2017/05/nesdb-q1-2560/
ปิยนาถ น่วมทอง.(2562).การพัฒนารูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อทักษะชีวิต
สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี,8(2),290.
ประเสริฐ บุญเรือง. (2555). การจัดการศึกษาตลอดชีวิต. วารสารการศึกษาตลอดชีวิต,1(1), 1-4.
เพ็ชชรี อ้นทองทิม. (2561).รูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาบูรณาการในสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน.วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 8(1), 87-89.
พัชราวดี ตรีชัย. (2552). การวิเคราะห์ความเป็นชุมชนเข้มแข็งของหมู่บ้านหนองกลางดงตำบลศิลาลอยอำเภอ สามร้อยยอดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารร่มพฤกษ์, 27(1), 126.
ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สารสนเทศสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
วจีพร สุขสมบูรณ์.(2561).รูปแบบการประเมินโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นภาษาอังกฤษ.วารสารวิชาการดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์,8(1),57-58.
วริฎฐา แก้วเกตุ. (2550). สภาองค์กรชุมชนรวมพลังสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
วิทยา จันทร์แดง. (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏว ไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริพร ศิริรัตน์. (2557). การประเมินโครงการเบญจวิถีนำทางสรรสร้างครอบครัวต้นแบบสายใยรักของศูนย์การ เรียนรู้โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว จังหวัดราชบุรี. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ศิลปากร.
ศูนย์คุณธรรมและสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2559). สถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย.
สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://www.springnews.co.th/news/12277
สมุทร ชำนาญ. (2546). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนที่บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุพจน์ แสงเงิน และคนอื่นๆ. (2546). กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน ศึกษากรณีชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และ
นวัตกรรม
สมบูรณ์ ธรรมลังกา. (2556). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน ในจังหวัดเชียงราย. (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). ไขเคล็ดลับความสำเร็จบ้านหนองกลางดง.
สืบค้น 25 กันยายน 2560, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content
อำนาจ ศรีรัตนบัลล์. (2560). ชุมชนน่าอยู่ระดับหมู่บ้าน. สืบค้น 15 มกราคม 2561,
จาก https://www.gotoknow.org/posts/652118
อำภา จันทรากาศ. (2543). ทุนทางสังคมที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.