ประสิทธิภาพของระบบการอบแห้งข้าวแต๋นโดยใช้แหล่งพลังงานความร้อนแบบผสมผสาน

Main Article Content

ภคมน ปินตานา
ปฏิพัทธิ์ ถนอมพงษ์ชาติ

บทคัดย่อ

ขั้นตอนของกระบวนการผลิตข้าวแต๋น ที่สำคัญคือการทำให้แห้ง เมื่อข้าวเหนียวขึ้นรูปแล้ว หากไม่ทำให้แห้ง จะเกิดการเน่าเสียได้ การตากแดดต้องอาศัยธรรมชาติ แม้ต้นทุนต่ำมากแต่ก็ควบคุมสภาวะได้ยาก หากใช้โรงอบด้วยพลังแสงอาทิตย์ หากท้องฟ้าครื้ม ก็ไม่สามารถอบตากได้ แต่การใช้เตาอบก็มีต้นทุนสูงจากค่าก๊าซเชื้อเพลิง ในงานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาระบบการอบแห้งข้าวแต๋นโดยใช้แหล่งความร้อนแบบผสมผสานระหว่างแสงอาทิตย์ และชีวมวล การออกแบบและทดสอบเครื่องอบร่วมดำเนินการกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการผลิตข้าวแต๋นของ หสม.ข้าวแต๋นทวีพรรณ คือ เจ้าของกิจการ หัวหน้าฝ่ายผลิต และช่างซ่อมบำรุง ใช้หลักการออกแบบการทดลองแบบ Central Composite design โดยมีตัวแปรต้นคือ ความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิในโดม การทดสอบเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมพบว่าความชื้นสัมพัทธ์ที่ให้พัดลมหยุดทำงานคือ 35% และอุณหภูมิสำหรับเริ่มจุดเตาคือ 45 องศาเซลเซียส ใช้เวลาการอบแห้ง 1,320 นาที ความชื้นผลิตภัณฑ์อยู่ในเกณฑ์คือ ไม่เกิน 10%db โดยมีต้นทุนคงที่ 670,000 บาทและต้นทุนผันแปร 167 บาท ต่อรอบการผลิตข้าวแต๋นครั้งละ 2,000 กิโลกรัม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติเดช ดวงใจบุญ. (2561). การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์แบบผสมผสานสำหรับอาคารประเภทโรงแรม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 13(1). 65-78.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. โครงการสนับสนุนการลงุทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ปี 2560.

กระทรวงพลังงาน. เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2562. เวปไซต์ www.solardryerdede.com.

ธวัชชัย ธรรมชันแก้ว และ วีระ ฟ้าเฟื่องวิทยากุล. (2558). สมรรถนะของลูปเทอร์โมไซฟอนที่ใช้เป็นอุปกรณ์ประหยัดพลังงานในระบบอบแห้งชนิดเครื่องสูบความร้อนร่วมกับรังสีอินฟาเรด. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 22(2), 1-13.

ปฏิพัทธิ์ ถนอมพงศ์ชาติ และภคมน ปินตานา. (2561). การอบแห้งข้าวแต๋นโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับชีวมวล. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2561 มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 11-13 ธันวาคม 2561. 390-397.

แม้นนฤมาศ ที่ตั้ง. (2558). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า :กรณีศึกษา บริษัทผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า ABC จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกบัญชี. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Intharapongnuwat, W., Arkanit, K., Wancharoen, W., Warasawas, P. (2008). Process improvement for Thai-style fried rice crackers. Asian Journal of Food and Agro-Industry, 1(3), 155-166.

Janjai, S. (2012). A greenhouse type solar dryer for small scale dried food industries: development and dissemination. International Journal of Energy and Environment. 3(3), 383-398.

Pintana, P., Thanompongchart, P., Phimphilai, K., and Tippayawong, N. (2016). Combined effect of air temperature and velocity on drying of Thai rice cracker, KKU Engineering Journal, 43(S2), 244-246.

Saiai, S., Chithep, S. (2014). Estimate of energy dissipation on cabinet dryer for decreased moisture of cracker.
Proceedings of the 5th Endemic Conference, May 20-21 2014, Maejo University, Chiang Mai, Thailand.

Thanompongchart, P., Pintana, P., Phimphilai, K., and Tippayawong, N. (2016). Effect of drying methods on property of Thai rice cracker. KKU Engineering Journal, 43(S3), 459-461.