การประเมินศักยภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร กรณีศึกษาตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา การประเมินศักยภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร กรณีศึกษาตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ธนากร แสงสง่า
ธารทิพย์ รัตนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และศักยภาพในการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีสภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจในภาพรวมอยู่ในระดับดีและที่สำคัญคือมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ค่อนข้างมาก มีการจัดตั้ง รวมกลุ่มผู้ผลิตข้าวและมีกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ พันธุ์ข้าวที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์เหลืองประทิว การปลูกข้าวจะหว่านปุ๋ยพืชสดก่อนการไถแปลและไถคาด มีการใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพ (น้ำหมัก) มูลสุกร น้ำส้มควันไม้ สามารถผลิตข้าวเจ้าได้เฉลี่ยอยู่ที่ 401-500 กิโลกรัม/ไร่ สถานที่จำหน่ายผลผลิต ได้แก่ จำหน่ายในอำเภอ เกษตรกรเข้าร่วมโครงการความร่วมมือส่งเสริมการผลิตข้าวปลอดภัยฯ จังหวัดนครราชสีมา และเกษตรกรบ้านเตยมีการแบ่งพื้นที่ในการผลิตข้าวแบบผสมผสาน (เคมี+อินทรีย์) และทำนาโดยไม่ใช้สารเคมี เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเกษตรอินทรีย์ มีปัญหาเรื่องการจัดการน้ำ/แหล่งน้ำไม่เพียงพอ ต้นทุนในการผลิต ปุ๋ย เครื่องจักร แรงงาน ค่าเช่า มีต้นทุนสูง ประกอบกับปัญหาภัยแล้ง/ น้ำท่วม  ใน 1 ฤดูกาล อาจปลูก 2-3 ครั้ง แต่เก็บเกี่ยวเพียง 1 ครั้ง และดินเค็ม ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการข้าว. (2552). หลักการอารักขานาข้าวอินทรีย์. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมการข้าว. (2559). รายงานสถานการณ์การเพาะปลูกข้าว ปี 2559/60 รอบที่ 1. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

พินิตย์ กิ่งสอน. (2551). ศักยภาพการผลิตและการตลาดข้าวอินทรีย์ กรณีศึกษาสหกรณ์การเกษตรอินทรีย์ เชียงใหม่.เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา. (2557). การจัดการพื้นที่ปลูกข้าวตามความเหมาะสมของพื้นที่ (Zoning ข้าว) จังหวัดนครราชสีมา.[ออนไลน์].แหล่งที่มา https://r03.ldd.go.th/nma01/web/doc/Zonning.pdf. (5 มิถุนายน 2560)

สุภาวดี แหยมคง และคณะ. (2560). ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช ของเกษตรกรตำบลซับสมบูรณ์ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย ราชภัฏอุตรดิตถ์. 12(2), 15-25.