การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าทอตีนจกชาวไทยพวนแบบประยุกต์ ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าทอตีนจกชาวไทยพวนแบบประยุกต์ ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าทอตีนจกชาวไทยพวนแบบประยุกต์ การดำเนินการวิจัยเริ่มจากการสัมภาษณ์และการศึกษาลายผ้าตีนจก และผลิตภัณฑ์เดิม จากตีนจกชาวไทยพวน ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ผลการศึกษาพบว่า ผ้าตีนจกมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ทำให้พัฒนาได้ในรูปแบบที่จำกัด ผลิตภัณฑ์เดิมจากผ้าทอตีนจก เป็นผลิตภัณฑ์มีรูปแบบที่เฉพาะตัวไม่หลากหลาย ไม่ทันสมัย แบบซ้ำเดิมๆ พร้อมกับรูปแบบของผลิตภัณฑ์เดิมเหมาะสามารถนำไปใช้งานได้ในบางโอกาสเท่านั้น ควรเพิ่มคุณสมบัติของผ้าทอที่สามารถนำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้ในหลากหลายมากโอกาสมากขึ้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดในการพัฒนาคุณสมบัติ โดยการผสมผสานเส้นฝ้ายจากการใช้เส้นฝ้ายในท้องถิ่นนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา คือฝ้ายหมักโคลน เบอร์ 20 (ขนาดใหญ่กว่าฝ้าย/ไหมประดิษฐ์ที่กลุ่มใช้อยู่ในปัจจุบัน) กับเส้นด้ายประดิษฐ์ โดยมีแนวคิดในการพัฒนาลวดลายผ้าให้เกิดพื้นผิวในรูปแบบใหม่ และเพิ่มคุณสมบัติของผ้าทอให้ทนต่อการขัดถู และทนต่อการอ่อนตัวของสี จากแสงมากขึ้น ลวดลายผ้าทอตีนจก ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดของการออกแบบผลิตภัณฑ์แนวคิดของการออกแบบผลิตภัณฑ์ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระชัย สุขสด แนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ คือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่การพัฒนามาจาก ของเดิม รูปทรงของผลิตภัณฑ์ได้แนวคิดมาจากการพัฒนาแบบให้เข้ากับความต้องการของตลาด และแนวโน้มการออกแบบ โดยการใช้แนวโน้มการออกแบบปี 2017 Textile Trend Report Spring/Summer และแนวโน้มการใช้สีของ Omni-Theory Infash Forward Trend Spring/Summer 2017 [7] มาประยุกต์ใช้กับแนวคิด “คึดฮู้” ในการออกแบบ ทั้งหมด 3 รูปแบบ
นำไปสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์จากลวดลายผ้าตีนจกแบบประยุกต์ เกี่ยวกับหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์แบบประยุกต์ จำนวน 3 ท่าน พบว่า ความเหมาะสมของการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าจากลวดลายตีนจกไทยพวนแบบประยุกต์ รูปแบบที่ 1 อยู่ในระดับมากทีสุด (=4.30, S.D. =0.88) และนำไปสอบถามความพึงพอใจผู้บริโภคต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการผ้าตีนจกชาวไทยพวนแบบประยุกต์ สำหรับเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ของกลุ่มทอผ้า สถานประกอบการ และผู้บริโภคและนักท่องเที่ยว ณ ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ในรอบ 3 เดือน จำนวน 169 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ พบว่าความพึงพอใจการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าจากลวดลายตีนจกไทยพวนแบบประยุกต์ รูปแบบที่ 1 อยู่ในระดับมาก (=4.35, S.D. =0.85) โดยพิจารณาตามรายการพบว่าความทันสมัยมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด อยู่ในระดับมาก (=4.43, S.D. =0.88)
Downloads
Article Details
References
นวลแข ปาลิวนิช. (2557). ความรู้เรื่องผ้าและเส้นใย. กรุงเทพฯ : ยูเอ็ด.
ประดิษฐ์ รัตนวิจิตราศิลป์. (2559). Fashion & Textile Trend Report Spring/Summer 2017.
วารสาร Thai Textile and Fashion OUTLOOK. 18(1), 19–20.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). แนวการศึกษาค้นคว้าวิชาระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2558). วิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม [ออนไลน์].แหล่งที่มา www.thaitextile.org
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ.. (2559). ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ : [ออนไลน์].แหล่งที่มาwww.thaitextile.org
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. เล่มที่ 21. (2559). กรุงเทพฯ : โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน.
อังกาบ บุญสูง. (2559). การศึกษาแนวทางการสร่างเครือข่ายชุมชนหัตกรรมจักสานจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรติดถ์. 11(2), 404-418.
Omni-Theory Infash Forward Trend Spring/Summer 2017 (2559). Bangkok : Thailand Institute of Fashion Research.