การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับเมนูผัดไทยวไลยอลงกรณ์

Main Article Content

ณัฐสิมา โทขันธ์
ณหทัย โชติกลาง
กนกวรรณ ปุณณะตระกูล
อัจฉราพร สมภาร

บทคัดย่อ

“ผัดไทยวไลยอลงกรณ์” จัดเมนูอาหารจานเดียวยอดนิยมทุกช่วงวัยและมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น แต่การได้มาซึ่งผัดไทยแต่ละจานต้องใช้ทรัพยากรที่หลากหลาย และผู้บริโภคควรได้รับรู้ถึงเมนูที่ตนเองเลือกรับประทานที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ ดังนั้น การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของเมนูผัดไทยวไลยอลงกรณ์น้ำหนัก 500 กรัม สำหรับอาหาร 1 มื้อในรูปแบบนั่งรับประทานและการจัดส่งหรือซื้อกลับบ้าน โดยกำหนดขอบเขตการศึกษาประเมินปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (B2C) และจัดทำบัญชีรายการตลอดช่วงวัฏจักรชีวิต และวิเคราะห์ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปลดปล่อยออกถูกคิดคำนวณในรูปคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ซึ่งผลการศึกษาพบว่า คาร์บอนฟุตพริ้นท์ในแต่ช่วงวัฏจักรชีวิตเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การกำจัดซาก การปรุงอาหารและการขนส่งวัตถุดิบมีค่าเท่ากับ 1.2962, 0.3213 0.0411 และ 0.0053 kgCO2e ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการควรส่งเสริมให้ผู้บริโภคเลือกนั่งรับประทานในห้องอาหารเพราะให้ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (1.4650 kgCO2e) น้อยกว่าการใช้บริการจัดส่ง (1.7342 kgCO2e) ซึ่งการใช้บริการจัดส่งพบบัญชีที่เพิ่มปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 0.2691 kgCO2e จากการใช้เชื้อเพลิงและขยะพลาสติก คิดเป็นร้อยละ 8.41 ของสัดส่วนทั้งหมด (3.1992 kgCO2e) 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2557). คู่มือการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว. กรุงเทพฯ; กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ไทยพีบีเอส. (2565). Oxford บรรจุ "pad thai-ผัดไทย" อาหารไทยสู่ชื่อสากล. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2566, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/312484.

พรพิมล บุญคุ้ม. (2553). คาร์บอนฟุตพริ้นท์ใครว่าไกลตัว. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 37(213), 91-94.

ยินนิตรา คำนึงผล, วรวรรณ เพชรอุไร, นิมิต ขยัน และ ธเนศ ไชยชนะ. (2562). การประเมินปริมาณการใช้พลังงานและคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในการผลิตข้าวกล้องไรเบอรรีย์กรณี ศึกษาบ้านวังป้อง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่. วารสารวิชาการพลังงานทดแทนสู่ชุมชน, 2(3), 48-55.

ศรีสมร คงพันธุ์. (2561). อาหารขึ้นทะเบียน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ. กรุงเทพฯ; บริษัท ส.ส.ส.ส. จำกัด.

ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2564). มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ ริเริ่ม ‘ติดฉลากคาร์บอน’ บนเมนูในโรงอาหาร อีกหนึ่งวิธีช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2566, จากhttps://www.sdgmove.com/2022/09/27/ umass-carbon-labelling-footprint/.

สวทช. (2558). รายงานผลการดำเนินงานของ สวทช.ปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557 – มีนาคม 2558). ปทุมธานี; สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุชาดา อยู่แก้ว และ เมธินี บุญสูง. (2561). การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยวสด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิศวกรรมสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(2), 131–155.

Bae, L. D., Chul, J. S., Ho, S. K., Yeob, K. G., Cheol, J. H., & Gyu S. Y. (2014). Carbon footprint and mitigation of vegetables produced at open fields and film house using life cycle assessment. Korean Journal of Soil Science and Fertilizer, 47 (6), 457-463.

Chang, C. C., Chang, K. C., Lin, W. C., & Wu, M. H. (2017). Carbon footprint analysis in the aquaculture industry: Assessment of an ecological shrimp farm. Journal of Cleaner Production, 168, 1101-1107.

CONCITO, Denmark’s green think tank. (2021). The big climate database version1, bean sprouts, average values, raw. Retrieved January 5, 2023, from https://denstoreklimadatabase.dk/en/food/bean-sprouts-average-values- raw/ra00178.

IPCC. (2006). 2006 IPCC guidelines for national greenhouse gas inventories, volume 5 waste. Retrieved January 5, 2023, from https://www.ipcc-nggip.iges.or.jp/public/2006gl/vol5.html.

IPCC. (2007). Climate change 2007: Direct global warming potentials. Retrieved January 5, 2023, from http://www.ipcc.ch/publications_and_data/ar4/ wg1/en/ch2s2-10-2.html.

Oxford University Press. (2022). Oxford Learner’s Dictionaries. Retrieved January 1, 2023, from https://www.oxfordlearnersdictionaries.com/definition/ english/pad-thai.

Putri, A. M. H., & Waluyo, J. (2022). Analysis of Potential GHG emissions from Tofu industry and its mitigation in Indonesia. Jurnal Teknologi Lingkungan, 23(1), 62-70.

Spring Green Evolution. (2021). Pad Thai. Retrieved January 1, 2023, from https://www.sgethai.com/article.

TGO. (2021). Emission factor of carbon footprint product. Retrieved January 3, 2023, from http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/admin/uploadfiles/emission/ ts_b934985782.pdf.

TGO. (2022). Emission factor of carbon footprint product. Retrieved January 1, 2023, http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/admin/uploadfiles/emission/ts_ af09c20f4f.pdf.