การยับยั้งสารไนเตรท/ไนไตรท์และไนโตรซามีนในผลิตภัณฑ์ปลาร้า จากสารต้านอนุมูลอิสระในพืชสมุนไพร

Main Article Content

เศรษฐา เรืองไชย
วิวรรธน์ แก่นสา
สุขสันติ ประกอบวงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสารไนโตรซามีนในปลาร้าที่วางขายในตลาดจังหวัดอุดรธานี ทำการตรวจระดับสารฟีโนลิก และสารต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay และฤทธิ์ยับยั้งสารไนเตรท/ไนไตรท์ในผลิตภัณฑ์ปลาร้าด้วยสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ ติ้ว (Cratoxylumformosum) กระโดน (Careyasphaerica) สะเดา (Azadirachtaindica) ชะมวง (Garciniacowa) และย่านาง (Tiliacoratriandra) ผลการวิจัยไม่พบการปนเปื้อนของสารไนโตรซามีนในตัวอย่างปลาร้า (30 ตัวอย่าง) ใบย่านางมีสารฟีโนลิกและมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดอย่างน้อย 1,900 mgGAE/100 กรัม และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระร้อยละ 72.28 ตามลำดับ การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งสารไนเตรท/ไนไตรท์ในปลาร้า พบว่าใบย่านางมีระดับการยับยั้งการปนเปื้อนได้ดีกว่าสมุนไพรชนิดอื่น 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ เชิงหอม. (2560). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสมุนไพรในการลดปริมาณไนเตรต/ไนไตรต์ในปลาส้ม. (โครงงานวิจัยปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (ชีววิทยา), มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี).

กัลยา วัฒนธีรางกูร. (2551). ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระจากกากเมล็ดสบู่ดำ (Jatropha curcas Linn.). (การศึกษาอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2553). อันตรายจากสารไนโตรซามีน. (โครงการประมวลสารสนเทศพร้อมใช้ สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี).

ชัยณรงค์ คันธพนิต. (2529). วิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์. กรุงเทพฯ: กรุงเทพวัฒนาพานิช. 276น.

ชลธิดา ภูบาลี, พรพิมล ประสานวงษ์ และ เสาวลักษณ์ โผดนอก. (2557). การวิเคราะห์ปริมาณไนไตรท์ในแฮมและเบคอน โดยใช้เทคนิคยูวี-วิสิเบิล สเปกโทรโฟโตเมทรี. (โครงงานวิจัยปริญญาครุศาสตรบัณฑิต (เคมี) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).

ดวงตะวัน ธนะเวช และ หนึ่งฤทัย เฮ้าบุญ. (2561). การวิเคราะห์ปริมาณไนไตรทและไนไตรท์ในผลิตภัณฑ์แหนมหมู โดยเทคนิคยูวี-วิสิเบิล สเปกโทรโฟโตเมทรี. (โครงงานวิจัยปริญญาครุศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์), มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี).

นันทวัน เอื้อวงศ์กูล, ชนาพร รัตนมาลี และ ศักดา ดาดวง. (2560). การวิเคราะห์หาปริมาณวิตามินซีในผักและผลไม้พื้นบ้าน จังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 10(1), 153-169.

วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล. (2553). วิตามินต้านอนุมูลอิสระ. วารสารวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 7(1), 56-63.

ศิริพร ตันจอ. (2560). ไนโตรซามีน สารก่อมะเร็งในอาหาร. อาหาร, 47(1), 20-28.

Makinde, E. A., Radenahmad, N., Adekoya, A. E., & Olatunji, O. J. (2020). Tiliacora triandra extract possesses antidiabetic effects in high fat diet/ streptozotocin-induced diabetes in rats. Journal of Food Biochemistry, e13239.

Pereira, E. A, Petruci, J. F. S. & Cardoso, A. A. (2012). Determination of nitrite and nitrate in brazilian meats using high shear homogenization. Food Anal Methods, 5, 637 - 642.

Pinlaor, S., Hiraku, Y., Ma, N., Yongvanit, P., Semba, R., Oikawa, S., Murata, M., Sripa, B., Sithithaworn, P. & Kawanishi, S. (2004). Mechanism of NO-mediated oxidative and nitrative DNA damage in hamsters infected with Opisthorchis viverrini: a model of inflammation-mediated carcinogenesis. Nitric Oxide, 11(2), 175-183.

Sripa, B., & Pairojkul, C. (2008). Cholangiocarcinoma: lessons from Thailand. Current Opinion in Gastroenterology, 24(3), 349-356.

Thamavit, W., Bhamarapravati, N., Sahaphong, S., Vajrasthira, S., & Angsubhakorn, S. (1978). Effects of dimethylnitrosamine on induction of cholangiocarcinoma in Opisthorchis viverrini-infected Syrian golden hamsters. Cancer Research, 38(12), 4634-4639.