ผลของการใช้สื่อแอพพลิเคชั่นเรื่องการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่อคะแนนความรู้ ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

Main Article Content

เสาวลักษณ์ ทาแจ้ง
กาญจนา ปัญญาธร
นิตยากร ลุนพรหม
อุมาพร เคนศิลา
ผาณิต คำหารพล
กนธิชา จีนกลั่น
กุลณัฐ วงษาเทียม
ธัญญาลักษณ์ สาลากัน
ธัญวลัย สายสิน
นรากร บรรดาศักดิ์
นฤมล ศรีงาม
นาราภัทร มูลเพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความแตกต่างของความรู้ก่อนและหลังในการใช้แอพพลิเคชั่นในกลุ่มทดลอง 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความรู้ในการใช้แอพพลิเคชั่นของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง บ้านคำกลิ้ง หมู่ 3 ที่รับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านจั่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 54 คน จากผลการสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ จำนวน 20 คน จำแนกออกเป็น 
2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง (ผู้ป่วยที่ใช้แอพพลิเคชั่นเป็น) จำนวน 10 คน และกลุ่มควบคุม (ผู้ป่วยที่ไม่ใช้แอพพลิเคชั่นไม่เป็น) จำนวน 10 คน เริ่มดำเนินการวิจัยวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563 รวมเป็นเวลา 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง แบบทดสอบความรู้เรื่องความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์ความแตกต่างของความรู้ก่อนและหลังในการใช้แอพพลิเคชั่นในกลุ่มทดลอง ด้วยสถิติ paired t-test และวิเคราะห์การเปรียบเทียบความแตกต่างของความรู้ในการใช้แอพพลิเคชั่นของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ independent t-test โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


            ผลการวิจัย พบว่า จากประชากรที่ศึกษา จำนวน 54 คน เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 64.8) มากกว่าเพศชาย (ร้อยละ 35.1) มีอายุระหว่าง 40-60 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นวัยผู้สูงอายุ (ร้อยละ 63) และเป็นวัยทำงาน (ร้อยละ 37) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระดับการศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 4 (ร้อยละ 55.6) รองลงมาเป็นประถมศึกษาปีที่ 6 (ร้อยละ 22.2) และระดับมัธยมศึกษา (ร้อยละ 18.5) ตามลำดับ มีผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ จำนวน 20 คน (ร้อยละ 37) โดยปัจจัยที่ส่งผลให้มีโอกาสเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้  คือ 1) การไม่ควบคุมอาหาร พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่รับประทานอาหารรสเค็ม จำนวน 15 คน (ร้อยละ 75) 2) ค่าดัชนีมวลกายเกินปกติ พบว่าดัชนีมวลกายมากกว่า 23 ก.ก/ม2 จำนวน 11 คน (ร้อยละ 55) 3) การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จำนวน 7 คน (ร้อยละ 35) 4) การสูบบุหรี่ จำนวน 4 คน (ร้อยละ 20) และ 6)การรับประทานยาไม่ตรงตามแผนการรักษา จำนวน 6 คน (ร้อยละ 30) สำหรับผลการใช้สื่อแอพพลิเคชั่น พบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้หลังใช้สื่อแอพพลิเคชั่นไม่ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 
(P< .05) แต่ผลค่าเฉลี่ยคะแนนของความรู้ในการใช้แอพพลิเคชั่นของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมโดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) สำหรับในยุคไทยแลนด์ 4.0 นี้แอพพลิชั่นความรู้จึงเหมาะในการช่วยทบทวนหรือเพิ่มความรู้ในการปฏิบัติตัวให้กับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). จำนวนและอัตราตายโรคไม่ติดต่อ ปี 2559 - 2561 (รวม 4 โรค/ความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/หัวใจขาดเลือด/หลอดเลือดสมอง/หลอดลมอักเสบ/ถุงลมโป่งพอง). สืสืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.thaincd.com/2016mission/documents-detail.php?id=13653&tid=32&gid=1-020.

ณัฐธิวรรณ พันธุ์มุง, อริสรา อยู่เลิศลบ และ สราญรัตน์ ลัทธิ. (2562). สำนักงานโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https:pr.moph.go.th.

กรองทอง คมรัตนปัญญา,ชัยยง ขามรัตน์ และ ทองหล่อ เดชไทย. (2553). ประสิทธิผลการป้องกันภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัย มข., 15(10), 897-909.

นฤมล โซว์สูงเนิน. (2560). การสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนวัยทำงานเพื่อป้องโรคความดันโลหิตสูง. วารสารสุขภาพภาคประชาชน, 12(1), 9-16.

ประเสริฐ อัสสันตชัย. (2551). การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563,จาก,https://www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/ knowledge article/knowledge healthy_2_008.html.

ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2556). การพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือด. (พิมพ์ครั้งที่ 10). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์.

อารีย์ แร่ทอง. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษาตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 15(3),63-70.

American Heart Association. (2016). What are the Symptoms of High Blood Pressure?. Retrieved February 15, 2020, from http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HighBloodPressure/SymptomsDiagnosisMonitoringofHighBloodPressure/What-are-the-Symptoms-of-High-Blood-Pressure_ UCM_301871_Article.

Batalden, P. B. (1991). Building Knowledge for Quality Improvement in Healthcare: An Introductory Glossary. Journal of Quality Assurance, 13(5), 8–12.

Gerber, B. S., Brodsky, I. G., Lawless, K. A., Smolin, L. I., Arozullah, A. M., Smith, E. V., Berbaum, M. L., Heckerling, P. S., & Eiser, A. R. (2005). Implementation and Evaluation of a Low-Literacy Diabetes Education Computer Multimedia Application. Diabetes Care, 28(7), 1574–1580.

World Health Organization, (WHO). (2019). Hypertension. Retrieved February 15, 2020 from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ hypertension