การศึกษาและพัฒนาเกณฑ์ปกติของสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนในเขตตำบลสามพร้าว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ธนัมพร ทองลอง
จิราพร แข็งขัน
จิรเดช อย่าเสียสัตย์
ฤทธิรงค์ อัญจะนะ
นฤปวรรต์ พรหมมาวัย
นุชนงค์ อุเทศพรรัตนกุล
ทรงยศ ศรีหริ่ง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาเกณฑ์ปกติของสมรรถภาพทางกายของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาโรงเรียนในเขตตำบลสามพร้าว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนในเขตตำบลสามพร้าว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 300 คน โดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของกรมพลศึกษา (2555) จำนวน 6 รายการ ได้แก่ นั่งงอตัวไปข้างหน้า ยืนกระโดดไกล ดันพื้น 30 วินาที ลุกนั่ง 30 วินาที วิ่งระยะไกล และวิ่งอ้อมหลัก วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเกณฑ์สมรรถภาพทางกาย โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS 


ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนชาย ชั้นประถมศึกษาตอนต้น พบว่า ลุกนั่ง 30 วินาที เท่ากับ 12 + 4.80 ครั้ง วิดพื้น 30 วินาที เท่ากับ 23 + 6.60 ครั้ง ยืนกระโดดไกล เท่ากับ 116 + 25.88 เซนติเมตร นั่งงอตัวไปข้างหน้า เท่ากับ 4 + 8.40 เซนติเมตร วิ่งอ้อมหลัก เท่ากับ 14.81 + 6.02 วินาที วิ่งระยะไกล 800 เมตร เท่ากับ 23.70 + 3.79 นาที นักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาตอนต้น พบว่า ลุกนั่ง 30 นาที เท่ากับ 10 + 4.97 ครั้ง ดันพื้น 30 นาที เท่ากับ 22 + 16.45 ครั้ง ยืนกระโดดไกล เท่ากับ 97 + 27.82 เซนติเมตร นั่งงอตัวไปข้างหน้า เท่ากับ 3 + 6.97 เซนติเมตร วิ่งอ้อมหลัก เท่ากับ 15.69 + 1.37 วินาที วิ่งระยะไกล 800 เมตร เท่ากับ 24.68 + 5.35 นาที นักเรียนชายชั้นประถมศึกษาตอนปลาย พบว่า ลุกนั่ง 30 วินาที เท่ากับ 16 + 5.20 ครั้ง วิดพื้น 30 วินาที เท่ากับ 22 + 9.19 ครั้ง ยืนกระโดดไกล เท่ากับ 149 + 20.13 เซนติเมตร นั่งงอตัวไปข้างหน้า เท่ากับ 5 + 5.02 เซนติเมตร วิ่งอ้อมหลัก เท่ากับ 6.45 + 2.11 วินาที วิ่งระยะไกล 800 เมตร เท่ากับ 20.10 + 3.07 นาที และนักเรียนหญิง ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย พบว่า ลุกนั่ง 30 นาที เท่ากับ 14 + 3.55 ครั้ง ดันพื้น 30 นาที เท่ากับ 23 + 6.85 ครั้ง ยืนกระโดดไกล เท่ากับ 144 + 17.40 เซนติเมตร นั่งงอตัวไปข้างหน้า เท่ากับ 7 + 6.22 เซนติเมตร วิ่งอ้อมหลัก เท่ากับ 7.97 + 3.23 วินาที วิ่งระยะไกล 800 เมตร เท่ากับ 21.18 + 3.49 นาที สรุปผลการวิจัย พบว่า ได้เกณฑ์ปกติของสมรรถภาพสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษา แบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ ดีมาก ดี ปานกลาง ค่อนข้างต่ำ และต่ำ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2555). แบบทดสอบและเกณฑ์ปกติของสมรรถภาพสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กไทยอายุ 7 – 18 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สัมปชัญญะ.

กรมวิชาการ. (2544). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จตุรงค์ เหมรา. (2560). หลักการและการปฏิบัติ: การทดสอบสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จรวยพร ธรณินทร์. (2537). หนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาพลศึกษาระดับมัธยมศึกษาเรื่อง มารู้ มาลอง มาเล่นกีฬา. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2550). ยืดชีวิตมิตรภาพ. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นดิ้งแอนด์ พับลิซซิ่ง จำกัด

เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพ: บริษัท สินธนาก๊อปปี้.

เทเวศร์ พิริยะพฤนท์. (2545). เอกสารประกอบการเรียนการวิจัยทางพลศึกษา. ภาควิชาพลศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิเทศสุขกิจ ทัพซ้าย. (2558). การพัฒนาแบบทดสอบและสร้างเกณฑ์ปกติของสมรรถภาพสมรรถภาพทางกายสำหรับนักศึกษาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 6(2), 128-140.

ปรียาภรณ์ กุลศิริรัตน์ และ นภัสวรรณ เจริญชัยภินันท์. (2560). การสร้างเกณฑ์สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนิสิตคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารพลศึกษา, 22(1), 111 – 119.

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา. (2561). ข้อมูลนักเรียน. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2561 จาก http://data.bopp-obec.info/emis/schooldataview_ student.php?School_ID=1041680033&Area_CODE=4101.

วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2541). หลักสูตรพลศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

Bloomfield, J., Ackland, T. R., & Elliott, B. C. (1994). Applied anatomy and biomechanics in sport. Melbourne: Blackwell. Scientific Publication.