การศึกษาคุณสมบัติเชิงกลในไฟเบอร์กลาสผสมน้ำยางพาราและเส้นใยธรรมชาติ

Main Article Content

อนุรักษ์ รอดบำรุง
พอพันธ์ สุทธิวัฒนะ
เบญจมาศ เนติวรรักษา
กานต์ นัครวรายุทธ
ไพลิน ทองสนิทกาญจน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติเชิงกลในไฟเบอร์กลาสผสมน้ำยาง พาราและเส้นใยธรรมชาติ โดยใช้น้ำยางพาราข้น เรซิ่น สารลดแรงตึงผิว ตัวทำแข็ง ตัวเร่งปฏิกิริยาเท่ากับ 10:100:10:0.2:0.2 ตามลำดับและเติมอัตราส่วนของใยแก้วและเส้นใยสับปะรด 5 สัดส่วนเท่ากับ 600:0, 550:50, 500:100, 450:150 และ400:200 กรัม จากนั้นทำการผสม และขึ้นรูป เพื่อทดสอบคุณสมบัติเชิงกลจากการทดสอบพบว่าการเพิ่มสัดส่วนเส้นใยสับปะรดทำให้ไฟเบอร์กลาสมีค่าความต้านทานแรงดึงที่ใกล้กับการใช้เส้นใยแก้วและความต้านทานแรงกระแทกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยความต้านทานแรงดึงเท่ากับ 10.11 เมกะปาสคาล ความต้าน ทานแรงดึงไฟเบอร์กลาสผสมน้ำยางพาราและเส้นใยธรรมชาติที่อัตราส่วนผสม 400:200 มีคุณสมบัติดีที่สุด และการทดสอบความต้านทานแรงกระแทก โดยความต้านทานแรงกระแทกเท่ากับ 120 จูลต่อเมตร ไฟเบอร์กลาสผสมน้ำยางพาราและเส้นใยธรรมชาติที่มีอัตราส่วนผสม 450:150 จะมีความต้านทานแรงกระแทกสูงที่สุด และไฟเบอร์กลาสที่ผสม น้ำยางพาราและเส้นใยสับปะรด จะมีคุณสมบัติในการรับแรงกระแทกได้ดีสามารถนำไปประยุกต์เป็นวัสดุในการรับแรงกระแทกและทดแทนวัสดุที่มีต้นทุนสูงได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองวิจัยเศรษฐกิจยาง, ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจยาง, การยางแห่งประเทศไทย. (2562). สถานการณ์ยางพาราเดือนกันยายน 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษจิกายน 2562, จาก http://www.raot.co.th/ewt_dl_link.php?nid=5659.

ถิราวุธ พงศ์ประยูร, ญฐสพล เกียรติพานิช และ จันทรพร ผลากรกุล. (2546). การพัฒนาและศึกษาคุณสมบัติเชิงกลและคุณสมบัติการไหลที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตของเทอร์โมพลาสติกเสริมแรงที่เตรียมจากเส้นใยธรรมชาติ. รายงานการวิจัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พิพัฒน์ ไพศาลภาณุมาศ และ เจตสุตา ชาญศร. (2558). การศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการพันกับค่าความแข็งแรงของถังไฟเบอร์กลาส. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 18(3), 90-95.

ศรุต ศรีสันติสุข, สัมพันธ์ ไชยเทพ, ดามร บัณฑุรัตน์ และ ชาย รังสิยากูล. (2555). การเปรียบเทียบความต้านทานแรงดึงของวัสดุคอมโพสิตเสริมแรงด้วยเส้นใยไผ่ใยแก้วและคาร์บอนไฟเบอร์. ในการประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13. วันที่ 4-5 เมษายน 2555. เชียงใหม่. หน้า 23-29.

สุปราณี แก้วภิรมย์. (2557). คอมโพสิตรักษ์สิ่งแวดล้อมจากพอลิแลคติกแอซิคและเส้นใยสับปะรด. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรีย์วรรณ ด้วงนิล, กิ่งกาญจน์ เจมขุนทด, โสฐิดา พูนโตนด, เพลงพิณ เพียรภูมิพงศ์, ณรงค์ศักดิ์ ธรรมโชติ และ จิตติวัฒน์ นิธิกาญจนธาร (2560). การศึกษาสมบัติ ทางกลและสมบัติทางกายภาพของวัสดุเชิงประกอบพอลิแลกติคแอซิคผสมตะไคร้หอม. ในการประชุมวิชาการระดับชาตินวัตกรรมและเทคโนโลยีวิชาการ 2560. วันที่ 25-26 ธันวาคม 2563. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์, สุรินทร์. หน้า 304-308.

อาธร แย้มทะเล, ธีรยุทธ จตุเทน, โสฐิดา พูนโตนด, ณรงค์ศักดิ์ ธรรมโชติ และ จิตติวัฒน์ นิธิกาญจนธาร (2560). การศึกษาสมบัติทางกลของพอลิโพรพิลีนโดยการเติมเถ้าแกลบ. ในการประชุมวิชาการระดับชาตินวัตกรรมและเทคโนโลยีวิชาการ 2560. วันที่ 25-26 ธันวาคม 2563. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์, สุรินทร์. หน้า 293-297.

อุกฤษฎ์ นาจำปา. (2558). วัสดุกันกระแทกจากไฟเบอร์กลาสผสมน้ำยางพารา. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Annual Book of ASTM Standard. (2002). Standard Test Methods for Tensile Properties of Plastics. ASTM D638-02a.

Annual Book of ASTM Standard. (2004). Standard Test Methods for Determining the Izod Pendulum Impact Resistance of Plastics. ASTM D256-10.

Okubo, K., Fujii, T., & Yamamoto, Y. (2003). Development of Bamboo-based Polymer Composites and Their Mechanical Properties, Composites, 35(3), 377-383.

Wiwatthawitthayawong, T. (2004). The study spinning scouring the pineapple by hand using the spinning-foot. (Research report), Bangkok: Extile Industry Development Office Sakhakrom Industrial Promotion.