การเปรียบเทียบประสิทธิภาพตัวแบบอนุกรมเวลาที่สร้างด้วยวิธีบ๊อกซ์-เจนกินส์ วิธีปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังอย่างง่าย และวิธีพยากรณ์รวม สำหรับพยากรณ์ราคาไข่ไก่รายเดือน

Main Article Content

เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล

บทคัดย่อ

     


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพตัวแบบอนุกรมเวลาที่สร้างขึ้นด้วยวิธีบ๊อกซ์-เจนกินส์ วิธีปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังอย่างง่าย และวิธีพยากรณ์รวม สำหรับพยากรณ์ราคาไข่ไก่รายเดือน โดยใช้เกณฑ์ค่าเฉลี่ยของค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยสมบูรณ์น้อยที่สุด ข้อมูลที่ใช้ในการสร้างตัวแบบเป็นข้อมูลทุติยภูมิราคาไข่ไก่รายเดือน หน่วยเป็นบาทต่อหนึ่งร้อยฟอง จากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จำนวน 168 ค่า ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป MINITAB รุ่น 16


          ผลการวิจัยพบว่าตัวแบบที่สร้างขึ้นด้วยวิธีบ๊อกซ์-เจนกินส์ คือ ARIMA (1, 1, 1) ที่มีสมการพยากรณ์ คือ  =  เมื่อ  และ  แทนค่าพยากรณ์และความคลาดเคลื่อน ณ เวลา  ตามลำดับ ตัวแบบที่สร้างขึ้นด้วยวิธีปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังอย่างง่ายมีสมการพยากรณ์ คือ  = เมื่อ  และ  แทน ค่าพยากรณ์และค่าข้อมูลจริง ณ เวลา  ตามลำดับ และตัวแบบที่สร้างขึ้นด้วยวิธีพยากรณ์รวม มีสมการพยากรณ์ คือ  = เมื่อ  , และ  แทน ค่าพยากรณ์ด้วยวิธีพยากรณ์รวม วิธีบ๊อกซ์-เจนกินส์ และวิธีปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังอย่างง่าย ณ เวลา  ตามลำดับ โดยมีค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยสมบูรณ์น้อยที่สุดเท่ากับร้อยละ 5.94, 2.20 และ 5.64 ตามลำดับ แสดงว่าตัวแบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการพยากรณ์ราคาไข่ไก่รายเดือน คือ ตัวแบบที่สร้างจากวิธีปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังอย่างง่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนันต์ ฉัตรมณีสุวรรณ์. (2558). การพยากรณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย. น.672-683. ใน: การประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ ครั้งที่ 20, 27-29 พฤษภาคม 2558. คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ฐานเศรษฐกิจ. (2561). กรมปศุสัตว์ชงเอ้กบอร์ดแก้ปัญหาราคาไข่ไก่ตก. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2561 จาก https://www.thansettakij.com/content/business/342020.

ดาว สงวนรังศิริกุล, หรรษา เชี่ยวอนันตวานิช และ มณีรัตน์ แสงเกษม. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบเพื่อหาตัวแบบที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคเฝ้าระวังทางระบาดในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 38(1), 35-55.

เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล. (2562). การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ระหว่างวิธีปรับให้เรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบคูณ วิธีบ๊อกซ์-เจนกินส์ และวิธีพยากรณ์รวม สำหรับพยากรณ์ราคากุ้งขาวแวนนาไมรายเดือน. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ (ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 7(1), 72-86.

วรางคณา กีรติวิบูลย์. (2556). การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ระหว่างวิธีบอกซ์-เจนกินส์ วิธีการทำให้เรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลที่มีฤดูกาลอย่างง่าย และวิธีการพยากรณ์รวม สำหรับการพยากรณ์อุณหภูมิเฉลี่ยต่อเดือนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 18(2), 149-160.

วรางคณา กีรติวิบูลย์. (2557). การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ราคาไข่ไก่ด้วยวิธีบอกซ์-เจนกินส์ และวิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของโฮลต์. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 17(2), 35-43.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562ก). มาตรการปรับสมดุลไข่ไก่เป็นผล ดันราคาไข่ขยับขึ้นต่อเนื่อง ก.ค. อยู่ที่ฟองละ 2.83 บาท. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562 จาก http://www.oae.go.th/view.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562ข). ราคาไข่ไก่สด. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 จาก http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/price/monthly_price/egg.pdf.

Box, G. E. P., Jenkins, G. M., & Reinsel, G. C. (1994). Time Series Analysis: Forecasting and Control. New Jersey: Prentice Hall.

Farnum, N. R., & Stanton, L. W. (1989). Quantitative Forecasting Methods. Boston: PWS-KENT Publishing Company.