คุณสมบัติทางกายภาพของเส้นใยซีเมนต์จากหญ้าเนเปียร์

Main Article Content

พัทธนันท์ นาถพินิจ
บริสุทธิ์ จันทรวงศ์ไพศาล
โชติกา คงสมบูรณ์
พงษ์ศักดิ์ หงษ์เจริญศรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการผลิตแผ่นเส้นใยซีเมนต์จากหญ้าเนเปียร์ที่มีค่าแรงต้านแรงดัดสูง ทดแทนแผ่นฝ้าเพดาน โดยนำหญ้าเนเปียร์สดมาบดให้ได้ขนาด 
1 เซนติเมตร และทำการล้าง จากนั้นจึงนำมาผสมกับสูตรตามอัตราส่วนต่าง ๆ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการขึ้นรูปแผ่นเส้นใยซีเมนต์ เช่น ความชื้น สารเคมีและปริมาณที่ใช้ที่มีผลต่อการแข็งตัวของซีเมนต์ สัดส่วนเส้นใย น้ำหนักรวม และลักษณะเส้นใยแห้งหรือเปียก เป็นต้น ผลการวิจัย พบว่า ความชื้นในเส้นใยอย่างน้อยร้อยละ 50 มีผลให้แผ่นเส้นใยซีเมนต์มีค่าต้านแรงดัดสูงขึ้น ชนิดของสารเคมีที่ใช้ทุกตัวส่งผลให้แผ่นเส้นใยซีเมนต์มีค่าต้านแรงดัดสูงขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งไม่มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ แต่แคลเซียมคลอไรด์ส่งผลให้
ค่าต้านแรงดัดสูงที่สุด ซึ่งปริมาณที่ใช้คิดเป็นร้อยละ 0.5 ของน้ำหนักแผ่นเส้นใยซีเมนต์ที่ได้ นอกจากนี้สัดส่วนเส้นใยที่ 0.5 เท่า ของซีเมนต์สามารถนำมาผลิตเป็นแผ่นเส้นใยซีเมนต์ที่มีค่าต้านแรงดัดสูงถึง 15.71 เมกกะปาสคาล ที่ความหนา 1 เซนติเมตร น้ำหนักรวมของแผ่นเส้นใยซีเมนต์อยู่ที่ 10.6 กิโลกรัม ขนาด 63 x 63 ตารางเมตร ซึ่งแผ่นเส้นใยซีเมนต์ที่ได้สามารถนำไปใช้งานได้ เนื่องจากคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของแผ่นเส้นใยซีเมนต์ที่ได้ มีค่าความเป็นรูพรุน การพองตัว และการดูดซับน้ำต่ำ ความหนาแน่นรวม ความหนาแน่นปรากฏ และค่าต้านแรงดัดมีค่าสูง ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 7 เมกกะปาสคาล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ก่อ ทวีเงิน, ชัยยันต์ จันทร์ศิริ และ กิตติพงษ์ ลาลุน. (2558). คุณสมบัติทางกายภาพบางประการของหญ้าเนเปียร์ก่อนสับและหลังสับเพื่อผลิตเป็นชีวมวลอัดเม็ด. น. 34-43. ใน: รายงานการประชุมวิชาการวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติระดับชาติครั้งที่ 2, 11-12 กันยายน 2558. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ทรงกลด จารุสมบัติ, อำไพ เปี่ยมอรุณ, ธีระ วีณิน, วรกิจ สุนทรบุระ, วัลยุทธ เฟื่องวิวัฒน์ และ ปิยะวดี บัวจงกลง. (2552). แผ่นใยซีเมนต์จากไม้ยางพารา. ข่าวสารเกษตรศาสตร์, 54(2), 65-73.

ธนัญชัย ปคุณวรกิจ (2549). ประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนของฉนวนอาคารวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร. โครงการทุนการวิจัยมหาบัณฑิต สกว. สาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

ธวัช จิรายุส. (2530). กำลังจับยึดซีเมนต์ของไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส. วารสารวนศาสตร์, 6, 291-294.

นิตยา พัดเกาะ. (2560). การศึกษาการทำแผ่นกระเบื้องหลังคาจากเส้นใยธรรมชาติ กรณีศึกษา: เส้นใยใบสัปปะรด และเส้นใยเปลือกข้าวโพด. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโวฒ, 12(1) 11-19.

ภูษิต เลิศวัฒนารักษ์ และ อัญชิสา สันติจิตโต. (2555). คุณสมบัติของวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์ผสมเส้นใยธรรมชาติจากเส้นใยมะพร้าว และเส้นใยปาล์มเพื่อผลิตวัสดุก่อสร้าง. Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS), 9(1), 113-124.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2540). กระเบื้องซีเมนต์เส้นใยแผ่นเรียบ = Fibre-cement flat sheets. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.

การทดสอบหาความข้นเหลวของปูนซีเมนต์ไฮดรอลิค. (2555). สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2561จากhttps://engfanatic.tumcivil.com/tumcivil_1/media/ Lab_Soil_KKU/ LAB_Soil_KKU_ALL.pdf

ประยุทธ์ ทองคุปต์ และ ภาคภูมิ เลิศอารมณ์ (2537). การศึกษาคุณสมบัติการซึมน้ำผ่านซีเมนต์มอร์ตาร์ที่ใช้ในการคาดคลองชลประทานโดยใช้สารผสมพิเศษ. (ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. สืบค้นจาก lib.kps.ku.ac.th/SpecialProject/Irrigation_Engineering/2537/Bs/PrayutTo/

American Society of Testing and Material (ASTM). (2006). ASTM C1186-02 Standard specification for flat non-asbestos fiber-cement sheet. Philadelphia.

Asasutjarit, C., Charoenvai, S., Hirunlabh, J. & Khedari, J. (2009). Materials and mechanical properties of pretreated coir-based green composites. Composites: Part B, 40: 633-637.

Cook, D. J., Pama, R. P., and Weerasingle, H. L. D. (1978). Coir fibre reinforced cement as alow cost roofing material. Building and Environment, 13, 193-198.

Khedari, J., Suttisonk, B., Pratinthong, N. & Hirunlabh, J. (2001). New lightweight composite construction materials with low thermal conductivity. Cement and Concrete Composites. 23(1), 65-70.