การสร้างเครื่องและหาประสิทธิภาพถ่านอัดแท่งจากฝักราชพฤกษ์

Main Article Content

ปกรณ์ อุ่นไธสง
รชต มณีโชติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องผลิตถ่านอัดแท่งจากฝักราชพฤกษ์แล้วหา
ค่าความร้อนและประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีที่สุด โดยการนำฝักราชพฤกษ์แก่มาเผา
ด้วยกระบวนการคาร์บอนไนเซชั่นให้กลายเป็นถ่าน จากนั้นทำการบดและผสมตามอัตราส่วน
ที่กำหนดไว้ ซึ่งประกอบด้วย ถ่านฝักราชพฤกษ์ แป้งมันสำปะหลัง และน้ำ รวม 3 อัตราส่วน ได้แก่ อัตราส่วน 1 : 1 : 0.75, 2 : 1 : 0.50 และ 3 : 1 : 0.25 โดยน้ำหนัก จากนั้นทำการบด ผสม และอัดด้วยเครื่องอัดแท่งถ่านด้วยสกรูแบบอัดเย็น จากผลการทดสอบ พบว่า อัตราส่วนผสมที่ให้ค่าความร้อนและประสิทธิภาพการใช้งานทีดีที่สุด คือ อัตราส่วน 2 : 1 : 0.50 โดยให้ค่าความร้อน 22.58 MJ/kg (5,394 kcal/kg) และประสิทธิภาพการใช้งานอุณหภูมิสูงสุดที่ 87.6°C แล้วปล่อยให้อุณหภูมิลดลงเหลือ 50°C รวมเวลาเผาไหม้ 451 นาที ประสิทธิภาพทางความร้อน 52.81% นอกจากนี้ เมื่อทำการทดสอบต้มน้ำกับภาชนะแบบมีฝาปิด พบว่า อุณหภูมิเพิ่มขึ้น อยู่ที่ 95°C 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา นามวงษ์, เทวฤทธิ์ บุตรตะเคน และ มงคล คธาพันธ์. (2560). การศึกษาประสิทธิภาพของเกลียวอัดและการใช้งานเชิงความร้อนของเชื้อเพลิงแท่งจากเศษใบสะเดาแห้งร่วมกับถ่านไม้. น. 318-323. ใน: รายงานการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงาน วิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1 “นวัตกรรมสร้างสรรค์ ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ไทยแลนด์ 4.0”, 13 กรกฎาคม 2560. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, ร้อยเอ็ด.

ธเนศ ไชยชนะ, จอมภพ แววศักดิ์, จตุพร แก้วอ่อน และ อุษา อ้นทอง. (2557). สมบัติความเป็นเชื้อเพลิงของถ่านเปลือกมังคุด. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 17(3), 29–36.

ธารินี มหายศนันท์. (2548). การออกแบบและสร้างเครื่องผลิตถ่านอัดแท่งสำหลับการผลิตในระดับครับเรือน. (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

รุ่งโรจน์ พุทธีสกุล. (2553). การผลิตถ่านอัดแท่งจากถ่านกะลามะพร้าวและถ่านเหง้ามันสาปะหลัง. (หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

วรัญญา เทพสาสน์กุล, วรัญญา ธรรมชาติ และ อัครินทร์ อินทนิเวศน์. (2559). การศึกษาการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งที่ผ่านกระบวนการคาร์บอนไนเซชันจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรประเภทกะลามะพร้าว. น. 610-618. ใน: รายงานการประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 12, 8-10 มิถุนายน 2559. โรงแรมวังจันทน์ริเวอร์วิว, พิษณุโลก.

สมบัติ มงคลชัยชนะ และ ปิยะพงษ์ วงค์ขันแก้ว. (2560). การพัฒนาเครื่องอัดแท่งเชื้อเพลิงจากฟางข้าว. การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฎภาคเหนือ ครั้งที่ 17, 2307-2317.

หทัยนุช จันทร์ชัยภูมิ. (2561). ถ่านอัดแท่งจากเปลือกมะขาม. น. 288-296. ใน: รายงานการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3, 25 พฤษภาคม 2561. มหาวิทยาลัยราชธานี, อุบลราชธานี.

อรทัย วงษาเวียง, มาลีวรรณ อุนพิพัฒน์, ชลธิชา เจริญเนตร และ เอกราชันย์ ไชยชนะ. (2559). ไพโรไลซีสของวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในท้องถิ่นจังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 11(3), 46-53.