การประเมินความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุภายในโรงเรียน กรณีศึกษา: โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้นำเสนอผลการศึกษาความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุภายในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากรนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ดำเนินงานวิจัยโดยใช้วิธีเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และประเมินระดับความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุภายในโรงเรียน ผลการศึกษาพบว่า ประเภทอุบัติเหตุในโรงเรียนที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือ พลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงในระดับบาดเจ็บเล็กน้อย การเกิดอุบัติเหตุพบในช่วงเวลาพักกลางวันมากที่สุด สถานที่พบอุบัติเหตุมากที่สุดคือ สนามโรงเรียน และสาเหตุที่ทำให้การเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือ การขาดทักษะในการป้องกันอุบัติเหตุ จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงแสดงให้เห็นว่า ความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุภายในโรงเรียนอยู่ในระดับความเสี่ยงสูง เกิดอุบัติเหตุได้บ่อยครั้ง และมีความอันตรายปานกลาง ซึ่งจำเป็นต้องมีการควบคุมความเสี่ยงเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่นักเรียนในโรงเรียน งานวิจัยนี้ได้สรุปแนวทางการควบคุมความเสี่ยง เสนอวิธีการบริหารจัดการความเสี่ยงในรูปแบบวงจรควบคุมคุณภาพ และเสนอแนวทางในการจัดการความปลอดภัยของนักเรียน เชิงระบบครอบคลุมองค์ประกอบคุณภาพ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านโครงสร้าง ด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์
Article Details
References
นิภา มนุญิจุ, วสันต์ ศิลปะสุวรรณ และ เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์. (2557). การศึกษาเฉพาะรายกรณีของอุบัติเหตุในโรงเรียน: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ณัฎฐิยา แก้วถาวร. (2551). การจัดการความปลอดภัยในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำ นักงาน เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2550). ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาลในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราณี อินทรักษา. (2555). การศึกษาการดำเนินการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษาระดับ มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัศมี ตันศิริสิทธิกุล, นิลรัตน์ วรรณศิลป์, เกษร เทพแปง, ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ และ ชนภัทร วินยวัฒน์. (2555). รายงานการทบทวนองค์ความรู้ เรื่องการพัฒนาระบบเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย. จาก http://www.shi.or.th/upload/Download File/ศุกร์เสวนา 56/FridaySem57/ทบทวนองค์ความรู้ Patient Safety.doc เข้าถึงเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2561
วิจิตร บุญยะโหตระ. (2536). อุบัติภัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
ศิริพร อนุสภา. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความปลอดภัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนเอกชนในครอบครัวซาเลเซียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือแนวทางปฏิบัติและมาตรการรักษา ความปลอดภัยของสถานศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร: องค์กรการรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สุธีร์ รัตนะมงคลกุล. (2555). โครงการศึกษาปัญหาและการควบคุมอุบัติเหตุในเด็กนักเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมจินตนา คำพินิจ, จริยาวัตร คมพยัคฆ์ และ วนิดา ดุรงค์ ฤทธิชัย. (2550). การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุในนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนราชินี. วารสาร มฉก.วิชาการ; 11(21), 1-15.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2554). คู่มือการประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.(2556). คู่มือแนวทางปฏิบัติและมาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. (2543). ระบบบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทดีไซร์จำกัด.
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2557). สวัสดิศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
Agency for Healthcare Research and Quality. (2007). National Healthcare Quality Report 2007.Retrievedfromhttps://archive.ahrq.gov/qual/nhqr 07/- nhqr07.pdf.
Bamberg, S., Ajzen, I., & Schmidt, P. (2003). Choice of travel mode in the theory of planned behavior: The roles of past behavior, habit, and reasoned action. Basic and Applied Social Psychology, 25, 175-188.
Donabedian, A. (1988). The quality of care: How can it be assessed?. The Journal of the American Medical Association, 260(12): 1743-1748.
Heinrich, H. W. (1931). Industrial accident prevention: a scientific approach: McGraw-Hill.
Huber, D. L. (2014). Leadership and nursing care management. (5th ed). Missourri: Elsevier Saunders.
Pham, J. C., Girard, T., & Pronovost, P. J. (2013). What to do with healthcare Incident reporting systems. .Journal of Public Health Research, 2(3): 154-159.
Singh, B., & Ghatala, M. H. (2012). Risk management in hospitals. International Journal of Innovation, Management and Technology, 3(4): 417-421.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: John Wiley and Sons.