เทคนิคภาพถ่ายทางความร้อนและการเปรียบเทียบประสิทธิภาพเชิงความร้อน ของเตาอบไก่

Main Article Content

สัณหวัจน์ ทองแดง
บัญชา ล้ำเลิศ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาอบไก่ 3 แบบประกอบด้วย เตาอบแบบไม่หุ้มฉนวน, หุ้มฉนวน และดัดแปลงจากโอ่งน้ำ โดยยืนยันผลอุณหภูมิการทดลองที่ได้ด้วยภาพถ่ายทางความร้อน เตาอบมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 50 เซนติเมตร และความสูง 100 เซนติเมตร ใช้ถ่านไม้ยูคาลิปตัสเป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อน ไก่ที่ใช้อบมีน้ำหนักเฉลี่ย 1 กิโลกรัม อบครั้งละ 5 ตัว ผลการทดลองพบว่าเตาอบที่หุ้มฉนวนมีประสิทธิภาพทางความร้อนสูงสุดคือ 0.365 เวลาในการอบไก่ 34 นาที ใช้ถ่านไปทั้งสิ้น 300 กรัม ที่อุณหภูมิ 280 องศาเซลเซียส โดยภาพถ่ายทางความร้อนชี้ให้เห็นอุณหภูมิที่ผิวของเตาอบที่หุ้มฉนวนต่ำกว่าเตาอบแบบไม่หุ้มฉนวน และเตาอบแบบโอ่งน้ำ ซึ่งเตาอบทั้งสองแบบมีการกระจายของความร้อนรอบ ๆ เตาอบที่สูงทำให้เกิดการสูญเสียความร้อนที่สูงมาก ระยะเวลาอบที่นาน และสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐเศรษฐ์ น้ำคำ. (2560). การประเมินประสิทธิภาพเตาชีวมวลห้องเผาไหม้อิฐฉนวนทนไฟ. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, 9(9), 37-49

ศิลา สุทารัต. (2549). เตาย่างไก่พลังแสงอาทิตย์ไร้ควัน. นิตยสารรายปักษ์ เส้นทางเศรษฐี. วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 11 ฉบับที่ 149.

ธเนศ ไชยชนะ, หมะกรือซม อาลี และ มัสยา หลงสมัน. (2013). การศึกษาประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาหุงต้มระดับครัวเรือน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 32, 626-630.

ธีรศาสตร์ คณาศรี. (2559). เตาอบย่างไก่ด้วยความร้อนจากพลังงานไฟฟ้า, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1, 35-47.

อุราวรรณ อุ่นแก้ว. (2553). พลังงานทดแทน: ถ่านอัดแท่ง. กรุงเทพมหานคร: กรมวิทยาศาสตร์บริการ.

Table of Total Emissivity. สืบค้นจาก: https://www.omega.com/temperature/Z/ pdf/z088-089.pdf [16 พฤษภาคม 2561]

Yunus, A. C. (2002). Heat Transfer: A Practical Approach. 2nd ed.