ผลกระทบของแถบเส้นชะลอความเร็วรูปแบบต่าง ๆ ต่อการตื่นรู้ของผู้ขับขี่สำหรับประยุกต์ใช้บริเวณจุดตัดทางรถไฟ

ผู้แต่ง

  • อาทิตยา นิ่มอนงค์ อาจารย์, คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย, 225 ถ.พญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. 10330
  • พรณรงค์ เลื่อนเพ็ชร อาจารย์, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 1381 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กทม. 10800

คำสำคัญ:

Rumble Strip, Noise Level, Vibration Level, Appropriate Design

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความดังของเสียงและความสั่นสะเทือนภายในห้องโดยสารของยานพาหนะจากการเคลื่อนที่ผ่านแถบเส้นชะลอความเร็วที่ออกแบบ โดยเลือกใช้รถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถกระบะและรถบรรทุก เป็นยานพาหนะทดสอบ สำหรับการประเมินผลกระทบที่มีต่อการตื่นรู้ของผู้ขับขี่จะพิจารณาจากความต่างระดับเสียงและความสั่นสะเทือนภายในห้องโดยสารก่อนและหลังเคลื่อนที่ผ่านแถบเส้นชะลอความเร็ว ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าระดับความดังของเสียงภายในห้องโดยสารขณะที่ยานพาหนะเคลื่อนที่ผ่านแถบชะลอความเร็วจะเพิ่มขึ้นตามความเร็วของรถ ในทางกลับกันความสั่นสะเทือนของยานพาหนะภายในห้องโดยสารขณะเคลื่อนที่ผ่านแถบชะลอความเร็วนั้นจะลดลงเมื่อความเร็วเพิ่มขึ้น สำหรับรูปแบบแถบเส้นชะลอความเร็วที่เหมาะสม ผลการศึกษาสรุปได้ว่า รูปแบบแถบเส้นชะลอความเร็วที่เหมาะสมแตกต่างกันออกไปตามยานพาหนะทดสอบแต่ละประเภทและแต่ละช่วงความเร็ว โดยผลจากการพิจารณาความเร็ว 85 เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ระยะ 350 เมตรก่อนเข้าสู่บริเวณจุดตัดทางรถไฟ พบว่า รูปแบบของแถบเส้นชะลอความเร็วที่เหมาะสมสำหรับรถจักรยานยนต์ รูปแบบที่มีขนาด กว้าง 10 ซม. หนา 0.3 ซม. ระยะห่างระหว่างแถบ 25 ซม. รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รูปแบบที่มีขนาด กว้าง 10 ซม. หนา 0.6 ซม. ระยะห่างระหว่างแถบ 25 ซม. รถกระบะ รูปแบบที่มีขนาด กว้าง 10 ซม. หนา 0.6 ซม. ระยะห่างระหว่างแถบ 50 ซม. และ รถบรรทุก รูปแบบที่มีขนาด กว้าง 20 ซม. หนา 0.6 ซม. ระยะห่างระหว่างแถบ 50 ซม. ตามลำดับ ผลลัพธ์ที่จะได้จากการศึกษานี้ช่วยเพิ่มความก้าวหน้าของความรู้ เพื่อปรับปรุงข้อกําหนดการออกแบบ เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยในการข้ามทางรถไฟ ลดความน่าจะเป็นในการเกิดอุบัติเหตุ และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของระบบรถไฟ

References

Roywiratana S. Teaching documents for the seminar on the railway network of Thailand and the region. Bangkok, Thailand: Infrastructure engineering and management, Kasetsart university; 2017. (In Thai)

Operation control division, State railway of Thailand. Statistics on train accidents for fiscal years 2011-2021. Bangkok, Thailand: State railway of Thailand; 2022. (In Thai)

Department of rail transport. Master plan for improving future railway intersections. Study project to reduce accidents at road and railway intersections. Bangkok, Thailand: Department of rail transport; 2022. (In Thai)

Vadeby A, Anund A. Effectiveness and acceptability of milled rumble strips on rural two-lane roads in Sweden. European transport research review 2017;9;29. doi: 10.1007/s12544-017-0244-x.

Hossain A, Sun X, Rahman A, Khanal S. Safety evaluation of centerline rumble strips on rural two-lane undivided highways: Application of intervention time series analysis. IATSS Research 2023;47(2):286-98. doi: 10.1016/j.iatssr.2023.05.001.

Satthayamalee S. Research to determine the standard for using rumble strips to reduce traffic speed. Nakhon Ratchasima, Thailand: Suranaree university of technology; 2010. (In Thai)

Walton S, Meyer E. The effect of rumble strip configuration on sound and vibration levels. ITE Journal 2002;72(12):28-32.

Montella A, Aria M, D’Ambrosio A, Galante F, Mauriello F, Pernetti M. Simulator evaluation of drivers’ speed, deceleration and lateral position at rural intersections in relation to different perceptual cues. Accident Analysis & Prevention 2011;43(6):2072-84. doi: 10.1016/j.aap. 2011.05.030.

Karkle DE, Rys MJ, Russell ER. Centerline rumble strips usage in the united states. Journal of the Transportation Research Forum 2011;50(1): 101-17. doi: 10.5399/osu/jtrf.50.1.2676.

Miles JD, Finley MD. Factors that influence the effectiveness of rumble strip design. Transportation Research Record 2007;2030(1):1-9. doi: 10.3141/2030-01.

Wilson Ihrig & Associates, Inc. Central area guideway ground borne noise and vibration report and northern area Berryessa extension. VTA Capital expressway light rail project; 2008.

Houix O, Bonnot S, Vienne F, Vericel B, Pardo LF, Misdariis N, Susini P. Perceptual influence of the vibratory component on the audio component of alarms produced by rumble strips, by measuring reaction times. Proceedings of the Acoustics 2012 Nantes Conference; 2012 Apr 23-27; Nantes, France. p.1083-8.

Pimentel RL, de Melo RA, Rolim IA. Estimation of increases in noise levels due to installation of transverse rumble strips on urban roads. Applied Acoustics. 2014;76:453-61. doi: 10.1016/j.apacoust.2013.09.014.

Kasess CH, Maly T, Majdak P, Waubke H. Effects of rumble strip parameters on acoustics, vibration, and perception. Acta Acustica 2021;5:54. doi: 10.1051/aacus/2021047.

American Association of State Highway and Transportation Officials (AASHTO). A policy on geometric design of highways and streets. 7th ed. Washington, D.C., USA: AASHTO; 2018.

Spring GS. Rumble strips in Missouri. Rolla, USA: Department of Civil Engineering, University of Missouri-Rolla; 2003.

ATS Consulting. Noise and vibration study: AC transit. Oakland, California, USA: ATS Consulting; 2005.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)