การประยุกต์ใช้หลักการซิกซ์ ซิกม่าเพื่อลดสินค้าที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในกระบวนการบรรจุเครื่องดื่ม
คำสำคัญ:
six sigma, reducing waste, beverage fillingบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณของเสียที่เกิดจากการเติมปริมาณเครื่องดื่มไม่ได้ตามข้อกำหนดการผลิต โดยประยุกต์ใช้หลักการของทฤษฎีซิกซ์ ซิกม่าในการช่วยปรับปรุงกระบวนการบรรจุเครื่องดื่มให้มีการแปรผันน้อยที่สุด ซึ่งงานวิจัยนี้ดำเนินการตามขั้นตอนของ DMAIC ประกอบไปด้วย ขั้นตอนการกำหนดปัญหา (Define Phase) การตรวจวัดสภาพปัญหา (Measure Phase) การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา (Analyze Phase) การปรับปรุง (Improve Phase) และ การควบคุม (Control Phase) ในขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหาจะหาปัจจัยที่มีผลต่อ
ของเสียโดยใช้การออกแบบการทดลอง (Design of Experiment: DOE) ด้วยวิธีการ 2k Factorial Design แบบกำหนดระดับปัจจัย 2 ระดับ ผลการทดลองพบว่าเมื่อตั้งค่าเครื่องจักรด้วยค่าที่เหมาะสมดังนี้ ปรับความยาวของ Vent tube เพิ่มขึ้นจากเดิม 3 มิลลิเมตร ปรับแรงดันใน
Ring Bowl เพิ่มขึ้นจากเดิม 0.1 บาร์ และ ปรับระดับน้ำใน Ring Bowl เพิ่มขึ้นจากเดิม 20 มิลลิเมตร จะส่งผลให้ของเสียประเภทเติมเครื่องดื่มเกินมาตรฐานกำหนด (Overfill) จากเดิม 16.31% ลดลงเหลือ 0% และค่าความสามารถของกระบวนการ (Cpk) จากเดิม 0.33 เพิ่มขึ้นเป็น 0.68
References
Yongpisanphob W. Business/Industry Innovation 2019-2021: Beverage Products: Bank of Ayudhya Public Company Limited [Internet]. 2022 [cited 2023 Feb 1]. Available from: https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/food-beverage/beverage/io/io-beverage-2022. (In Thai)
Ketsarapong P, Sriyanalugsana S. Reducing defective in food refrigerator production process with six sigma technique. Kasem Bundit Engineering Journal 2019;9(2):25-37. (In Thai)
Promthep S, Thawesaengskulthai D. Defective reduction in flexible packaging film production process. Research and Development Journal 2011;22(4):77-85. (In Thai)
Mahanil N, Joomsawat P, Makpin K, Weerawong K. Reducing waste in the liquid detergent packaging process by applying the six sigma concept. Journal of Science and Technology, Southeast Bangkok University 2023;3(1):1-12. (In Thai)
Noirach K, Chutima P. Reduction of waste from welding splash in motorcycle battery production process. Research and Development Journal 2014;25(3):55-61. (In Thai)
Pinthet K, Suksomkit P, Taweedech T. Reduction of waste in the thermoforming plastic process using six sigma technique: a case study of a packaging factory. Journal of Science and Technology Thonburi University 2022;6(1):109-21. (In Thai)
Ritprasertsri T. Reduction of waste time in sauce production process using lean six sigma concept [Master's Thesis in Industrial Engineering]. Bangkok, Thailand: Chulalongkorn University; 2016. (In Thai)
Arunrat A. Reduction of losses in bottled drinking water production process: a case study of a drinking water factory [Master's Independent Study in Industrial Management]. Songkhla, Thailand: Prince of Songkla University; 2021. (In Thai)
Saesiw B, Sosakun N. Reducing defects in the packaging process by applying experimental design: a case study of a snack company. Journal of Industrial Technology Lampang Rajabhat University 2016;9(2):30-44. (In Thai)
Pankham V, et al. Reduction of syrup loss from under volume standard problems in production process 5. Journal of Science and Technology Thonburi University. 2022;6(2):109-19. (In Thai)
Wongkart P. Saltiness variation reduction of soaking process in canned pickled mustard greens manufacturing by six sigma techniques [Master's thesis]. Bangkok, Thailand: Chulalongkorn University; 2011. (In Thai)
Kaewyindee W. Defect reduction in dyeing and finishing processes in a sample factory using the DMAIC method [Master’s thesis]. Nakhon Pathom, Thailand: Silpakorn University; 2019. (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ห้ามนำข้อความทั้งหมดไปตีพิมพ์ซ้ำ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตแล้ว
ความรับผิดชอบ
หากบทความที่ได้รับการตีพิมพ์นั้นเป็นบทความที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นหรือมีความไม่ถูกต้องในเนื้อหาของบทความ ผู้เขียนบทความนั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบ