การประมาณขนาดหม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้ในระบบจำหน่ายเชิงเศรษฐศาสตร์ให้เหมาะสมกับโหลดและลดกำลังไฟฟ้าสูญเสีย
คำสำคัญ:
cost to own transformer (COT), power losses, depreciationบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ นำเสนอการประมาณขนาดหม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้ในระบบจำหน่ายเชิงเศรษฐศาสตร์ให้เหมาะสมกับโหลดเพื่อลดกำลังไฟฟ้าสูญเสีย ด้วยการนำค่าพลังงานสูญเสียของหม้อแปลงไฟฟ้ารวมกับราคาของหม้อแปลงไฟฟ้ามาคำนวนค่าใช้จ่าย พารามิเตอร์ในการวิเคราะห์ประกอบด้วยราคาเริ่มต้นของหม้อแปลง อายุการใช้งาน อัตราดอกเบี้ย ค่าเสื่อมราคา ค่าความสูญเสียของหม้อแปลง และอัตราค่าพลังงานไฟฟ้าต่อหน่วย มาทำการวิเคราะห์หาค่าราคาของหม้อแปลงไฟฟ้า (Cost to Own Transformer; COT) ที่พิกัดหม้อแปลงขนาดต่างๆ กัน โดยกำหนดให้หม้อแปลง
จ่ายโหลดเท่ากัน ในงานวิจัยนี้ได้กำหนดตัวอย่างการวิเคราะห์ให้หม้อแปลงจ่ายโหลด 350 kVA และทำการเปรียบเทียบหม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้ในระบบจำหน่ายตามมาตรฐานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(PEA) จำนวน 3 ขนาด คือ 400 kVA 500 kVA และ 630 kVA ผลจากการวิจัยพบว่า หม้อแปลงไฟฟ้าขนาด 630 kVA มี COT ต่ำสุด ผลจากงานวิจัยนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการเลือกขนาดของหม้อแปลงให้มีความเหมาะสมกับโหลด ช่วยในการตัดสินใจที่จะเลือกหม้อแปลงเผื่อโหลดในอนาคต ช่วยประหยัดเงินลงทุนและยังช่วยลดค่าพลังงานสูญเสียได้เป็นอย่างดี
References
Suechoey B, Siriporananon S, Wannaraj O. Impact analysis of a solar rooftop with batteries installed on the roof of an organic fertilizer plant. Kasem Bundit Engineering Journal 2022;12(2):51-66. (In Thai)
Sitiprom P, Suechoey B, Monprapatsorn A. Loss analysis of distribution transformer for optimum used. Proceedings of the 7th SAU National Interdisciplinary Conference; 2020 May 29-30; Bangkok, Thailand. p. 248-52. (In Thai)
Suechoey B. Design and use of distribution transformer. 8th ed. Bangkok: Southeast Asia University; 2020. (In Thai)
Rijiwanich W, Ploymeka C. Engineering economy. 12th ed. Bangkok: Chulalongkorn University; 2011. (In thai)
Provincial Electricity Authority of Thailand (PEA). Rate of charge - Type 3 medium industry [Internet]. 2018 [cited 2018 Oct 1] Available from:https://www.pea.co.th/Portals/0/demand_response/Electricity%20Reconsider. pdf?ver=2018-10-01-155123-370. (In Thai)
Provincial Electricity Authority of Thailand (PEA). Three-phase transformer for 22 kV and 33 kV distribution systems with ability to withstand short circuit. Specification No. RTRN035/2561; 2018. (In Thai)
Suechoey B, Siriporananon S. Power losses analysis in 3 phase distribution transformer in normal load and overload condition using artificial neural networks technique. Srinakarinwirot University (Journal of Science and Technology) 2023;15(29):249768. (In Thai)
International Electrotechnical Commission. IEC60076-2. Power transformer part 2: Temperature rise for liquid-immersed transformers. Geneva, Switzerland: International Electrotechnical Commission; 2011.
International Electrotechnical Commission. IEC60354. Loading guide for oil-immersed power transformer. Geneva, Switzerland: International Electrotechnical Commission; 1991.
Franklin AC, Franklin DP. The J & P transformer book. 11th ed. London: Butterworth-Heinemann;1983.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ห้ามนำข้อความทั้งหมดไปตีพิมพ์ซ้ำ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตแล้ว
ความรับผิดชอบ
หากบทความที่ได้รับการตีพิมพ์นั้นเป็นบทความที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นหรือมีความไม่ถูกต้องในเนื้อหาของบทความ ผู้เขียนบทความนั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบ