การออกแบบและพัฒนาดอกสว่านในการเจาะรูชิ้นงานอลูมิเนียมด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ: กรณีศึกษาบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์

ผู้แต่ง

  • กิตติ วิโรจรัตนาภาพิศาล อาจารย์, สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก, 41 ถนนพหลโยธิน ตำบลไม้งาม อำเภอเมือง จังหวัดตาก 63000
  • จิรวัฒน์ วรวิชัย อาจารย์, สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก, 41 ถนนพหลโยธิน ตำบลไม้งาม อำเภอเมือง จังหวัดตาก 63000
  • อุกฤษฏ์ ธนทรัพย์ทวี อาจารย์, สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก, 41 ถนนพหลโยธิน ตำบลไม้งาม อำเภอเมือง จังหวัดตาก 63000
  • ศิวศิษฏ์ ปิจมิตร อาจารย์, สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก, 41 ถนนพหลโยธิน ตำบลไม้งาม อำเภอเมือง จังหวัดตาก 63000

คำสำคัญ:

ความเร็วรอบ, อัตราป้อน, เจาะรู, ความหยาบผิว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการออกแบบและพัฒนาดอกสว่านในการเจาะรูชิ้นงานอลูมิเนียม ผลิตภัณฑ์ที่ยึดไฟหน้า ด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ โดยการใช้แผนผังแสดงเหตุและผล ช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาของการเจาะรูชิ้นงานอลูมิเนียมใช้เวลานาน พบว่าสาเหตุย่อยเกิดจากต้องใช้ดอกลบคมชิ้นงานแยกจากดอกสว่านเจาะชิ้นงานมีผลทำให้ผลผลิตต่ำ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการปรับปรุงวิธีการทำงานใหม่ โดยทำการรวมดอกสว่านเจาะชิ้นงานและดอกลบคมชิ้นงานเข้าไว้ด้วยกันเพื่อที่จะลดเวลาในการสับเปลี่ยนดอกสว่าน ในการดำเนินงานใช้วิธีการออกแบบการทดลองแฟคทอเรียล เต็มรูปแบบทั่วไป เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการเจาะรูชิ้นงานด้วยดอกสว่านที่ได้พัฒนาใหม่ ผลจากการทดลองพบว่าค่าปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับดอกสว่านแบบใหม่ที่ความเร็วรอบ 3,000 รอบ/นาที และอัตราป้อนอยู่ที่ 250 มิลลิเมตร/นาที จะได้ค่าความหยาบผิวที่ดีกว่าดอกสว่านแบบเดิม โดยค่าความหยาบผิวแบบเดิมมีค่าเฉลี่ย Rz 8.484 µm และค่าความหยาบผิวแบบใหม่มีค่าเฉลี่ย Rz 5.103 µm ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตชิ้นงานจาก 282 ชิ้นต่อวัน เป็น 297 ชิ้นต่อวัน เพิ่มขึ้น 15 ชิ้นต่อวัน

References

Kanjanapunyakom R. Industrial work study. Bangkok, Thailand: Top Publisher; 2009. (In Thai)

Pipatpanyanugul K. Quality control. Bangkok, Thailand: Top Publisher; 2014. (In Thai)

Montgomery DC. Design and analysis of experiments. 6th ed. USA: John Wiley & Sons; 2005.

Rijiravanich V. Work study principles and case study. Bangkok, Thailand: Chulalongkorn University Publisher; 2010. (In Thai)

Sitticharoen W. Work study. Bangkok, Thailand: Odeon Store Publisher; 2004. (In Thai)

Kaewploy S, Boonseng K. Design of experiment for evaluating the optimal condition in drying process of rubberwood. KKU Research Journal 2014;19(2):284-92. (In Thai)

Praputtakun K, Wuttipornpun T. A study of optimal proportion of factors in concrete ready mixed process using factorial experiment. The Journal of KMUTNB 2011;21(2): 313-20. (In Thai)

Chantasee S. The effects of machining parameters on milling of 6061-T6 aluminum alloy. Naresuan University Journal: Science and Technology 2017;25(1):138-49. (In Thai)

Kiswanto G, Azmi M, Mandala A, Ko TJ. The effect of machining parameters to the surface roughness in low speed machining micro-milling Inconel 718. IOP Conference Series: Materials Science and Engineering 2021;65(2):141-50.

Misumi Technical Center. Roughness [Internet]. 2021 [cited 2021 Aug 5]. Available from: https://misumitechnical.com/technical/tools/what-is-roughness/ (In Thai)

Sudasna-na-Ayudthya P, Luangpaiboon P. Design and analysis of experiments. Bangkok, Thailand: Top Publishing. 2009. (In Thai)

Homsri P, Khongthana J. Design of experiment (DOE) to reduce waste in plastic injection process of automotive part. Kasem Bundit Engineering Journal 2013;3(2):73-95. (In Thai)

Sae-Sio B, Sokul N. Reducing defects in packaging by applying experimental results: a case study of a snack company. Industrial Technology Lampang Rajabhat University Journal 2016;9(2):30-44. (In Thai)

Yaemphuan P. Engineering economy. Bangkok, Thailand: Se-Education Publisher; 2013. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)