พยาบาลอาชีวอนามัย: หนึ่งฟันเฟืองในการขับเคลื่อนด้านวิศวกรรมความปลอดภัยในสถานประกอบการ
คำสำคัญ:
occupational health nurses, safety engineering, safety management systemบทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอถึงบทบาทหน้าที่ ความสำคัญและสมรรถนะของพยาบาลอาชีวอนามัย ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบจัดการความปลอดภัยในสถานประกอบการอุตสาหกรรม เพื่อให้คนในสถานประกอบการมีคุณภาพชีวิตในการทำงาน ซึ่งบทบาทหน้าที่หลักของพยาบาลอาชีวอนามัย ที่สนับสนุนวิศวกรรมความปลอดภัยประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการรายกรณี โดยการดูแลสุขภาพ การรักษาพยาบาลและส่งต่อ และการฟื้นฟูเพื่อกลับเข้าทำงาน 2) การให้คำปรึกษาและการจัดการดูแลภาวะวิกฤติ ทั้งด้านการเจ็บป่วยทางกายและทางจิตใจที่กระทบกับงาน หรือการบาดเจ็บจากการทำงาน 3) การส่งเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยง โดยจัดโครงการหรือการฝึกอบรมให้เกิดพฤติกรรมความปลอดภัย 4) การปฏิบัติตามข้อกฎหมายและการพิทักษ์สิทธิ์ และ 5) การปกป้องผู้ใช้แรงงานจากสิ่งก่ออันตรายในการทำงานโดยการรวบรวม ตรวจ วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบที่เกิดขึ้นตั้งแต่การรับคนเข้างาน กระบวนการผลิต กระบวนการทำงานที่ปลอดภัย และการเสริมสร้างทักษะการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายหรือโรคจากการทำงาน ทั้งนี้พยาบาลอาชีวอนามัยมีกระบวนการทำงานที่อิสระทางวิชาชีพ สถานประกอบการจำเป็นต้องให้เอกสิทธิ์ในการทำงานที่เหมาะสมตามบทบาทหน้าที่ เพื่อสนับสนุนให้ระบบการจัดการวิศวกรรมความปลอดภัยดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่อง เป็นองค์กรความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
References
Techakomen A. International Labour Organization [Internet]. Bangkok, Thailand: Department of Skill Development; 2016 [cited 2020 Dec 19]. Available from: http://www.fio.co.th/south/law/11/114.pdf (In Thai)
International Cooperation Bureau. International Labour Organization [Internet]. Bangkok, Thailand: Ministry of Labour; 2019 [cited 2020 Dec 19]. Available from: http://www.fio.co.th/content/uploads/sites/10/2020/06/ (In Thai)
Silpasuwan S. Occupational health nursing: concept and implementation. 5th ed. Bangkok, Thailand: Danex Intercorperation; 2018. (In Thai)
Simmachokdee V, Chalermchirarat V. Engineering and industrials safety management. 38th ed. Bangkok, Thailand: Technology Promotion Association Publishing; 2020. (In Thai)
International Labour Organization. C161 - Occupational health services convention, 1985 (No. 161) [Internet]. Geneva, Switzerland: International Labour Organization; 2020 [cited 2020 Dec 19]. Available from: http://www.ilo.org/dyn/normlex/en/f?p= NORMLEXPUB:12100:0::NO:12100:P12100_ILO_CODE:C161
Department of Labour Protection and Welfare. International Labour Organization [Internet]. Bangkok, Thailand: Ministry of Labour; 2011 [cited 2020 Dec 19]. Available from: https://www.labour.go.th/index.php/hm8/81-2011-06-02-15-06-22. (In Thai)
Kono K, Goto Y, Hatanaka J, Yoshikawa E. Competencies required for occupational health nurses. Journal of Occupational Health 2017;59(6):562-71. doi:10.1539/joh.16-0188-OA.
World Health Organization. Role of the occupational health nurse in the workplace [Internet]. Geneva, Switzerland: International Labour Organization; 2020 [cited 2020 Dec 19]. Available from: https://www.who.int/occupational_health/regions/en/oeheurnursing.pdf
Pasra R. Nurse and occupational [Internet]. Bangkok, Thailand: Suan Sunandha Rajabhat University; 2012 [cited 2020 Dec 19]. Available from: http://www.elnurse.ssru.ac.th/rangsima_pa/pluginfile.php/246/block_html (In Thai)
Kaewchantra W, Chanprasit C, Kaewthummanukul T. Nurses’ roles in implementing occupational and environmental health in workplaces. Nursing Journal 2018;45(4):84-96. (In Thai)
Nakhruea K, Kaewpan W, Kalampakorn S, Sillabutra J. Role performance factors of occupational health nurses in Industrail Estates of Thailand. Journal of Public Health Nursing 2018;32(1):97-116. (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ห้ามนำข้อความทั้งหมดไปตีพิมพ์ซ้ำ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตแล้ว
ความรับผิดชอบ
หากบทความที่ได้รับการตีพิมพ์นั้นเป็นบทความที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นหรือมีความไม่ถูกต้องในเนื้อหาของบทความ ผู้เขียนบทความนั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบ