การศึกษาแบบจำลองการกระจายการเดินทางของประชากรที่เดินทางไปทำงาน กรณีศึกษาอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ณัฐดนัย อาศัยธรรมกุล นักศึกษา, หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวิศกรรมโยธา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กทม. 10800
  • เทอดศักดิ์ รองวิริยะพานิช อาจารย์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กทม. 10800

คำสำคัญ:

Work Trip, Banglamung District, Trip Distribution Model

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและรูปแบบการเดินทางของประชากรวัยทำงานในอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี การกระจายตัวของจุดปลายทางในการเดินทางไปทำงาน และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางเศรษฐกิจสังคม กับรูปแบบการเดินทางของประชากรวัยทำงานที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอบางละมุง ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมเมืองพัทยา อำเภอบางละมุง ที่ทำการสำรวจในปี พ.ศ. 2562 โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ กลุ่มประชากรในวัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) จำนวน 648 คน ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์แบบจำลองการกระจายการเดินทาง (Trip Distribution Model) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเดินทางระหว่างบ้านและที่ทำงานที่อยู่ในพื้นที่ย่อยเดียวกันและคนละพื้นที่ย่อย ได้แก่ ประเภทยานพาหนะ ระยะเวลาในการเดินทาง และช่วงเวลาที่เริ่มเดินทาง นอกจากนี้ ยังพบว่า เพศ กลุ่มอาชีพ รายได้บุคคล และประเภทยานพาหนะ มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการเดินทางระหว่างบ้านและที่ทำงาน เมื่อทำการวิเคราะห์แบบจำลองการการกระจายการเดินทางพบว่า ระยะทางระหว่างพื้นที่ย่อย คือ ปัจจัยต้านการเดินทางที่ใช้ในแบบจำลอง

References

Department of Public Works and Town & Country Planning. Pattaya City planning project (Banglamung District). Bangkok, Thailand: Ministry of Interior; 2019. (In Thai)

Laosirihongthong T. Travel demand forecasting for greater Bangkok Metropolitan Area [Master of engineering]. Bangkok, Thailand: Chulalongkorn University; 1991. (In Thai).

Krainate P. Passenger transportation. Bangkok, Thailand: Ramkhamhaeng University Press; 1998. (In Thai)

Piriyawat S. Chapter 3 travel demand analysis [Internet]. 2009 [cited 2020 Jan 21]. Available from: http://www.surames.com/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=3. (In Thai)

Meyer MD, Miller EJ. Urban transportation planning. New York, United States: McGraw-Hill; 2001.

Rujopakarn W. Urban transportation planning. Bangkok, Thailand: Kasetsart University Press; 2001. (In Thai).

Morimoto A. Chapter 2 transportation and land use [Internet]. 2020 [cited 2020 Jan 22]. Available from: https://www.iatss.or.jp/common/pdf/en/publication/commemorative-publication/iatss40_theory_02.pdf

Giuliano G. The geography of urban transportation. 4th ed. New York, United States: The Guilford Press; 2004.

Meyer MD, Miller EJ. Urban transportation planning: a decision-oriented approach. New York, United States: McGraw-Hill; 1984.

Taro Y. Statistics, an introductory analysis. 2nd ed. New York, United States: Harper and Row; 1967.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)