อุปสรรคและการส่งเสริมของการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้างขนาดกลางในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
Obstacles of practical BIM, Building information modeling (BIM), Medium sized contractorsบทคัดย่อ
การที่รัฐบาลมีนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่เน้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะนำโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และการเข้าร่วมเป็นหนึ่งในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้าง และแบบจำลองแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling, BIM) คือ แนวคิดและกระบวนการที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารงานก่อสร้างตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบ โดยแนวคิดดังกล่าวสนับสนุนงานออกแบบก่อสร้างด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถระบุข้อมูลทางกายภาพพร้อมลักษณะการทำงานของส่วนประกอบอาคาร และแสดงผลให้เห็นในรูปของแบบจำลองสามมิติ พร้อมทั้งยังแสดงบัญชีปริมาณงานได้ในคราวเดียว เทคโนโลยีนี้สามารถประยุกต์ใช้งานได้ในหลายๆ ด้าน อาทิเช่น สามารถใช้แสดงเอกสารการประกวดราคา หรือใช้นำเสนอโครงการต่อผู้เกี่ยวข้อง หรือใช้วางแผนงานก่อสร้างและบริหารทรัพยากร เพิ่มความปลอดภัยในการดำเนินโครงการไม่เพียงแต่ในขั้นตอนการออกแบบแต่รวมถึงการจำลองการส่งมอบงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการได้อีกด้วย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปสรรคและการส่งเสริมของการประยุกต์ใช้ BIM สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยวิธีสุ่มตัวอย่างบุคลากรที่เกี่ยวข้องในบริษัทรับเหมาก่อสร้าง จำนวน 70 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการศึกษาสามารถจำแนกอุปสรรคในการประยุกต์ใช้ BIM ได้เป็น 5 ประเด็นหลัก เรียงตามระดับความสำคัญของค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด คือ อุปสรรคจากองค์ความรู้มีความสำคัญมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 และอุปสรรคจากรูปแบบการทำงานขององค์กรมีความสำคัญมากอันดับที่สองซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 และอุปสรรคจากเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 และยังแปลผลอยู่ในระดับมากเป็นอันดับที่สาม และถัดลงมาในอันดับที่สี่และห้าซึ่งแปลผลความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง คือ อุปสรรคจากทัศนคติส่วนบุคคลซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.24 และอุปสรรคจากเทคโนโลยีด้านซอฟท์แวร์โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.23 ตามลำดับ ทั้งนี้ในส่วนของแนวทางส่งเสริมการประยุกต์ใช้ BIM สำหรับผู้รับเหมา พบว่ามี 2 แนวทาง ได้แก่ การสนับสนุนให้เจ้าของงานกำหนดให้ใช้ BIM เป็นหนึ่งเงื่อนไขใน TOR เพื่อคัดเลือกผู้รับเหมา และการสนับสนุนในการเพิ่มความรู้ความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุน BIM แก่บุคคลากร
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ห้ามนำข้อความทั้งหมดไปตีพิมพ์ซ้ำ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตแล้ว
ความรับผิดชอบ
หากบทความที่ได้รับการตีพิมพ์นั้นเป็นบทความที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นหรือมีความไม่ถูกต้องในเนื้อหาของบทความ ผู้เขียนบทความนั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบ