ผลกระทบของเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางไม่ชัดเจนต่อพฤติกรรมการขับขี่ กรณีศึกษา: งานก่อสร้างบนทางหลวงหมายเลข 35

ผู้แต่ง

  • พรณรงค์ เลื่อนเพ็ชร อาจารย์, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 1381 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กทม. 10800
  • อาทิตยา นิ่มอนงค์ อาจารย์, คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย, 225 ถ.พญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. 10330
  • สุหฤท มาศเมฆ วิศวกรขนส่งอาวุโส, บริษัท ทรานส์โค้ด จำกัด, 999/29 ถนนศรีวรา แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กทม. 10310
  • ภาวัต ไชยชาณวาทิก อาจารย์, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, 1761 ถนนพัฒนาการ แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง กทม. 10250

คำสำคัญ:

Work Zone, Unclear Road Markings, Typical Road Markings, Influence, Driving Behavior

บทคัดย่อ

การก่อสร้างโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 (M82) ช่วงบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ตามรูปแบบที่กำหนดจะเป็นการดำเนินการก่อสร้างบริเวณพื้นที่เกาะกลางเดิมของถนนพระราม 2 และ ปรับปรุงเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางเพื่อป้องกันความสับสนของผู้ขับขี่ แต่เนื่องจากการดำเนินงานปรับปรุงในบางช่วงของพื้นที่ก่อสร้างยังไม่สมบูรณ์ ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ใช้ทาง การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบต่อพฤติกรรมการขับขี่ที่เกิดขึ้นจากเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางที่ไม่ชัดเจนโดยเฉพาะในพื้นที่ก่อสร้าง โดยการเปรียบเทียบพฤติกรรมการขับขี่ในพื้นที่ก่อสร้างบนทางหลวงหมายเลข 35 ระหว่างบริเวณที่มีเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางไม่ชัดเจน (กม.32+700 ขาเข้ากรุงเทพฯ) และ บริเวณที่มีเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางปกติ (กม.15+500 ขาเข้ากรุงเทพฯ) ด้วยการประเมินอัตราการไหลของกระแสจราจร พฤติกรรมการใช้ความเร็วของยานพาหนะ และ ตำแหน่งของยานพาหนะในช่องจราจรผลการเปรียบเทียบอัตราการไหลของกระแสจราจรสามารถสรุปได้ว่าในบริเวณพื้นที่เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางปกติ สามารถระบายการจราจรได้มากกว่าบริเวณพื้นที่เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางไม่ชัดเจน การเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้ความเร็วของยานพาหนะ พบว่า ในบริเวณพื้นที่เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางปกติ ยานพาหนะสามารถทำความเร็วได้มากกว่าบริเวณพื้นที่เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางไม่ชัดเจน โดยเฉพาะในช่วงนอกชั่วโมงเร่งด่วน แต่เมื่อพิจารณาในช่วงชั่วโมงเร่งที่มีการจราจรหนาแน่น พบว่า พฤติกรรมการความเร็วของยานพาหนะทั้ง 2 พื้นที่มีค่าใกล้เคียงกัน สำหรับการเปรียบเทียบอัตราการเปลี่ยนช่องจราจร สามารถสรุปได้ว่า ในช่วงเวลาที่มีความหนาแน่นน้อย อัตราการเปลี่ยนช่องจราจรบริเวณพื้นที่เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางไม่ชัดเจนจะเกิดขึ้นค่อนข้างสูง สำหรับอัตราการขับขี่คร่อมช่องจราจรและทับเครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง พบว่าบริเวณพื้นที่เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางไม่ชัดเจนมีอัตราการขับขี่คร่อมช่องจราจรและทับเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางมากกว่าบริเวณพื้นที่เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางปกติ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางที่มีต่อพฤติกรรมการขับขี่ภายในพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งผลลัพธ์สามารถนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการควบคุมงานก่อสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการจราจรระหว่างก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ

References

Office of Transport and Traffic Policy and Planning. Traffic sign maintenance manual traffic and transportation safety standards study project. Bangkok, Thailand: Ministry of Transport; 2003. (In Thai)

Gibreel GM, Easa SM, Hassan Y, El-Dimeery IA. State of the art of highway geometric design consistency. Journal of Transportation Engineering 1999;125(4):305-13. doi: 10.1061/(ASCE)0733-947X(1999)125:4(305).

Peckham G. Choosing the right product safety label formats: A critical decision for product safety engineers. In: Steve B, editor. Proceedings of the 2010 IEEE Symposium on product compliance engineering; 2010 Oct 18-20, Boston, USA. Boston, USA: Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE); 2011. p.1-5. doi: 10.1109/PSES.2010.5637824.

Latif SD. Design of horizontal and vertical alignment for the centerline of a federal highway. International Journal of Engineering and Manufacturing. 2020;10:27-42. doi: 10.5815/ijem.2020.03.03.

Chai H, Xie J, Zhao XL. Operating speed based criteria for design consistency evaluation on motorways in China. Applied Mechanics and Materials 2013;361-3: 2092-5. doi: 10.4028/www.scientific.net/AMM.361-363.2092.

Ng JC. Sayed T. Effect of geometric design consistency on road safety. Canadian Journal of Civil Engineering 2004;31(2):218-27. doi: 10.1139/l03-090.

Diamandouros K, Gatscha M. Rainvision: The impact of road markings on driver behavior – wet night visibility. Transportation Research Procedia 2016;14:4344-53. doi: 10.1016/j.trpro.2016.05.356.

Horberry T, Anderson J, Regan M. The possible safety benefits of enhanced road markings: A driving simulator evaluation. Transportation Research Part F: Traffic Psychology and Behaviour 2006;9(1):77-87. doi: 10.1016/j.trf.2005.09.002.

Babic D, Brijs T. Low-cost road marking measures for increasing safety in horizontal curves: a driving simulator study. Accident Analysis & Prevention 2021;153:106013. doi: 10.1016/j.aap.2021.106013.

Bosurgi G, Marra S, Pellegrino O, Sollazzo G, Villari M. Effects of road marking visibility on vehicles driving along curves: A preliminary study in a simulated environment. Transportation Research Record Journal of the Transportation Research Board 2022;2676(12):691-702. doi: 10.1177/036119812 21097095.

Davidse RJ, Driel CV, Goldenbeld C. The effect of altered road markings on speed and lateral position [internet]. Leidschendam, Netherlands: SWOV; 2004 [cited 2022 February 10]. Available from: http://www.swov.nl/rapport/R-2003-31.pdf.

Yahia HA, Ismail A, Ali SIA‬, Almselati ASI, Ladin MA. Attitudes and awareness of traffic safety among drivers in Tripoli-Libya. Research Journal of Applied Sciences Engineering and Technology 2014;7(24):5297-303. doi: 10.19026/rjaset.7.929.

Munge RM, Masiga C, Ngari L. Contribution of road design to road accidents along Thika superhighway, Kenya. The International Journal of Humanities & Social Studies 2020;8(6):120-7. doi: 10.24940/theijhss/2020/v8/i6/HS2006-001.

Suliman A, Gargoum, El-Basyouny K, Kim A. Towards setting credible speed limits: Identifying factors that affect driver compliance on urban roads, Accident Analysis & Prevention 2016;95(A):138-48. doi: 10.1016/j.aap.2016.07.001.

Wang C, Quddus MA, Ison S. The effect of traffic and road characteristics on road safety: A review and future research direction. Safety Science 2013;57:264-75. doi: 10.1016/J.SSCI.2013.02.012.

Akple MS, Sogbe E, Atombo C. Evaluation of road traffic signs, markings and traffic rules compliance among drivers in Ghana. Case Studies on Transport Policy 2020;8(4):1295-306. doi: 10.1016/j.cstp.2020.09.001.

Amini E, Roja, Katrakazas C, Antoniou C. Negotiation and decision-making for a pedestrian roadway crossing: A literature review. Sustainability 2019;11(23):6713. doi: 10.3390/su11236713.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)