การประยุกต์ใช้เทคนิควิศวกรรมคันเซสำหรับการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตางค์จากต้นคลุ้ม
คำสำคัญ:
Kansei Engineering, Emotional Design, Donax Canniformis, Wallet Productบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตางค์จากคลุ้มจักสาน โดยการประยุกต์ใช้เทคนิควิศวกรรมคันเซ งานวิจัยนี้เริ่มจากการสำรวจและคัดเลือกคำแสดงความรู้สึกหรือคำคันเซของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์ จากนั้นสำรวจอารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการของลูกค้าทั้งด้านความรู้สึกและด้านคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ที่มีต่อภาพตัวแทนผลิตภัณฑ์สำหรับนำไปใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งแบบสอบถามที่ใช้ในการสำรวจข้อมูลเป็นแบบลิเคิร์ต ข้อมูลที่ใช้ในการสร้างแบบสอบถามที่ 3 ส่วนหลักคือ ส่วนคำแสดงขอบเขตความรู้สึก ส่วนขอบเขตคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ และภาพตัวแทนผลิตภัณฑ์ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่ามีคำแสดงความรู้สึกในการออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตางค์จากคลุ้มจักสานหลัก ๆ คือ กะทัดรัด โดดเด่น ใช้งานสะดวก ทันสมัย และสะดุดตา ทั้งพบว่า ข้อกำหนดและคุณลักษณะสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตางค์จากคลุ้มจักสานประกอบด้วย ขนาดของผลิตภัณฑ์ ผิวสัมผัส วัสดุเปิด-ปิดกระเป๋า วัสดุเย็บขอบผลิตภัณฑ์ และรูปทรงของผลิตภัณฑ์ มีความสอดคล้องกับอารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น
References
Chudhavipata W. Folk art. Bangkok: Chulalongkorn University; 2009. (In Thai)
Leesuwan V. Thailand basketry. Bangkok: OS Printing House; 1989. (In Thai)
Muangmeesri B, Vanpetch W, Phongphit S, Ekpetch C. Design procedure development in Bulrush Reed product development by the community management. Suratthani Rajabhat Journal 2008;1(2):131-9. (In Thai)
Faisha M, Mohamad E, Jaafar R, Rahman AA, Adiyanto O, Jatmiko HA, et al. Integrated approach to customer requirement using quality function deployment and kansei engineering to improve packaging design. Asia-Pacific Journal of Science and Technology 2021;26(2):1-10.
Nagamachi M. Kansei engineering as a powerful consumer-oriented technology for product development. Applied Ergonomics 2002;33(3):289-94.
Schutte S. Designing feelings into products: integrating kansei engineering methodology in product development. [thesis]. Linkoping, Sweden: Linkopings University; 2002.
Kumpong N, Kasemset C. Application of kansei engineering in food product development framework: A case study of parboiled rice. Proceedings of IE-Network Conference 2012; 2012 Oct 17-19; Phetchaburi, Thailand. p. 2030-7.
Kikumoto M., Kurita Y. and Ishihara S. Kansei engineering study on car seat lever position. International Journal of Industrial Ergonomics 2021;86:103215.
Rawangwong S, Homkhiew C, Srivabut C, Phanthasri P. Application of kansei engineering technique and kano model for design and development of lamp products from krajood basketry. The Journal of Industrial Technology 2022;18(3):161-78 (In Thai)
Yodwangjai S. Product design and development for dinner chair of kansei engineering. KKU Engineering Journal 2014;41(2):191-200. (In Thai)
Rawangwong S, Homkhiew C, Chantaramanee S, Chumsri P. Application of kansei engineering techniques in the design and development of TV table furniture products from oil palm trunks. Ladkrabang Engineering Journal 2022;39(2):13-26. (In Thai)
Rawangwong S, Homkhiew C, Pirom T, Kamnerdwam AT, Boonyaso T. An application of kansei engineering technique for the design and development of leather product: a case study of leather manufacturer. muang district, songkhla province. Journal of Engineering and Innovation 2022;15(1):144-56. (In Thai).
Rawangwong S, Kamnerdwam AT, Homkhiew C, Laosat C, Srivabut C, Boonyaso T. Application of quality function deployment techniques with kansei engineering for the design and development of Bags in the Lygodium. RMUTL Engineering Journal 2024;9(1):52-64. (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ห้ามนำข้อความทั้งหมดไปตีพิมพ์ซ้ำ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตแล้ว
ความรับผิดชอบ
หากบทความที่ได้รับการตีพิมพ์นั้นเป็นบทความที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นหรือมีความไม่ถูกต้องในเนื้อหาของบทความ ผู้เขียนบทความนั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบ