การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการคัดเลือกสายทางในจังหวัดอุดรธานี เพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าโดยรถไฟทางคู่
คำสำคัญ:
AHP, rural road, logistics, road prioritization, double-track railบทคัดย่อ
โครงการรถไฟทางคู่เป็นโครงการในแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย ที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ ลดต้นทุนการขนส่ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า ทั้งนี้ กรมทางหลวงชนบทเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายภารกิจสำคัญในการพัฒนาโครงข่ายถนนเพื่อรองรับการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยในการคัดเลือกถนนของกรมทางหลวงชนบท เพื่อนำไปพัฒนาและสนับสนุนการขนส่งสินค้าโดยรถไฟทางคู่บริเวณจังหวัดอุดรธานีโดยการประยุกต์ใช้หลักการ AHP จากผลการวิเคราะห์พบว่าเกณฑ์น้ำหนักความสำคัญของปัจจัยหลักได้แก่ 1) ปัจจัยด้านวิศวกรรมศาสตร์ และ 2) ปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์ มีค่าเท่ากับร้อยละ 61.43 และ 38.57 ตามลำดับ สำหรับเกณฑ์น้ำหนักความสำคัญของปัจจัยรองที่อยู่ภายใต้ปัจจัยหลักด้านวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ 1.1) ปริมาณจราจรรถบรรทุกบนเส้นทาง 1.2) การเชื่อมต่อระหว่างถนนกับสถานีรถไฟและจุดขนถ่ายสินค้า และ 1.3) ความเหมาะสมของขนาดถนนที่สามารถรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้น มีค่าเท่ากับร้อยละ 19.71, 25.71 และ 16.01 ตามลำดับ และสำหรับเกณฑ์น้ำหนักความสำคัญของปัจจัยรองที่อยู่ภายใต้ปัจจัยหลักด้านเศรษฐศาสตร์ศาสตร์ ได้แก่ 2.1) ถนนมีความสอดคล้องกับนโยบายด้านโลจิสติกส์ขนส่งสินค้า 2.2) ถนนสามารถเข้าถึงแหล่งผลิตด้านอุตสาหกรรม 2.3) ถนนสามารถเข้าถึงแหล่งผลิตด้านเกษตรกรรมและ 2.4) ถนนสามารถเข้าถึงแหล่งแปรรูปด้านเกษตรกรรม มีค่าเท่ากับร้อยละ 19.55, 5.69, 5.67 และ 7.66 ตามลำดับ เมื่อคัดเลือกสายทางของทางหลวงชนบทบริเวณจังหวัดอุดรธานีเบื้องต้นจำนวน 15 สายทาง สามารถประเมินคะแนนความสำคัญของแต่ละสายทางได้ สามารถเสนอแนะสายทางบนโครงข่ายถนนของกรมทางหลวงชนบทบริเวณจังหวัดอุดรธานีที่สามารถสนับสนุนการขนส่งสินค้าโดยรถไฟทางคู่ ได้แก่ อด.3001, อด.1079 และ อด.1020 ซึ่งมีคะแนนความสำคัญร้อยละ 83.91, 73.88 และ 79.62 ตามลำดับ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ห้ามนำข้อความทั้งหมดไปตีพิมพ์ซ้ำ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตแล้ว
ความรับผิดชอบ
หากบทความที่ได้รับการตีพิมพ์นั้นเป็นบทความที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นหรือมีความไม่ถูกต้องในเนื้อหาของบทความ ผู้เขียนบทความนั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบ