สมรรถนะของเครื่องยนต์แก๊สโซลีนที่ใช้แก๊สเตาผลิตจากซังข้าวโพด

Authors

  • จตุรงค์ แป้นพงษ์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก 41/1 หมู่ 7 ตำบลไม้งาม อำเภอเมือง จังหวัดตาก 63000
  • สนิท ขวัญเมือง สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก 41/1 หมู่ 7 ตำบลไม้งาม อำเภอเมือง จังหวัดตาก 63000

Keywords:

แก๊สเตาผลิต, ซังข้าวโพด, เครื่องยนต์แก๊สโซลีน, Producer gases, Corn cob, spark-ignited engine

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการใช้แก๊สเตาผลิตจากซังข้าวโพดและน้ำมันเบนซินในเครื่องยนต์แก๊สโซลีนขนาดเล็ก โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพเชิงปริมาตร กำลังงานเบรก ความดันผลเฉลี่ยเบรก ความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะเบรก และประสิทธิภาพเชิงความร้อน ที่ความเร็วรอบเครื่องยนต์ 1,500 2,000 2,500 3,000 3,500 และ 4,000 รอบต่อนาที และตำแหน่งลิ้นเร่งร้อยละ 50 และ 75 ของการเปิดเต็มที่ ของการใช้แก๊สเตาผลิตและน้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิง แก๊สเตาผลิตที่ใช้ในงานวิจัยนี้ได้มาจากเตาผลิตแก๊สแบบไหลลง จากผลการทดลองพบว่า การใช้แก๊สเตาผลิตเป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ให้ประสิทธิภาพเชิงปริมาตร กำลังงานเบรก ความดันผลเฉลี่ยเบรก และประสิทธิภาพเชิงความร้อนต่ำกว่าการใช้น้ำมันเบนซินประมาณ ร้อยละ 18-19, 50-60, 40-45 และ 2 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงพบว่า แก๊สเตาผลิตสิ้นเปลืองมากกว่าการใช้น้ำมันเบนซินประมาณร้อยละ 57

 

Performance of a spark-ignited engine on producer gas from corn cob

This research studied to using the producer gas and gasoline in a small spark-ignited engine. Volumetric efficiency, brake power, brake mean effective pressure, brake specific fuel consumption and thermal efficiency were evaluated at engine speed 1,500 2,000 2,500 3,000 3,500 and 4,000 rpm and throttle position opening of 50 and 75 % of full throttle position. A downdraft gasifier was used to generate producer gas from corn cob. From experimental, the volumetric efficiency, brake power, brake mean effective pressure and thermal efficiency were lower for the producer gas operation, respectively by 18-19, 50-60 %, 40-45 % and 2 % compared to the gasoline operation. However, when considering the break specific fuel consumption, it was found the producer gas had higher than gasoline approximated 57 %.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)