กระดานไวท์บอร์ดเสมือนจริงหน้าจอสัมผัสด้วยปากกาแสงอินฟราเรด
Keywords:
แสงอินฟราเรด, หน้าจอสัมผัส, การประมวลผลภาพ, ระบบปฏิบัติการอูบุนตู, Infrared Light, Touch Screen, Image Processing, Ubuntu Operating SystemAbstract
การเรียนการสอนแบบใช้เครื่องฉายทำให้เกิดความไม่สะดวกในการเขียนหรือวาดภาพบนฉากรับภาพ งานวิจัยนี้ได้นำเสนอกระดานหน้าจอสัมผัสทำงานผ่านปากกาแสงอินฟราเรดมาประยุกต์ใช้งานกับเครื่องฉาย โดยการออกแบบปากกาแสงอินฟราเรดเป็นตัวระบุตำแหน่งการเคลื่อนที่ ผ่านหลักการประมวลผลภาพที่มีการใช้กล้องเว็บแคม ตรวจจับแสงอินฟราเรดสำหรับระบุพิกัดจุดเซนทรอยด์ของตำแหน่งแสงอินฟราเรด เพื่อควบคุมเมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการบนระบบปฏิบัติการอูบุนตู จากผลการวิจัยพบว่าเมื่อนำปากกาแสงอินฟราเรดมาทำการวาดรูปทรงพื้นฐานจำนวน 5 รูปทรง เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 13.74 วินาที เทียบกับการใช้เมาส์อยู่ที่ 12.02 วินาที เวลาจะแตกต่างกันเล็กน้อย แต่การระบุพิกัดจากปากกาแสงอินฟราเรดทำได้ง่ายกว่า นอกจากนี้การวางปากกาแสงอินฟราเรดในลักษณะตั้งฉากที่ 90 องศา ทำให้แสงอินฟราเรดชัดเจน ส่งผลให้หลักการประมวลผลภาพตรวจจับแสงอินฟราเรดได้แม่นยำมากที่สุด
TOUCH SCREEN VIRTUAL WHITEBOARD WITH INFRARED LIGHT PEN
Teaching used the projector which incurred inconvenience writing or drawing on the screen. This research decided to adopt of the touch screen board via infrared light pen which was applied to the projector by designing an infrared pen in order to specifying the movement via the image processing. This system had a web camera to detect infrared light for specifying the centroid coordinate of the light spectrum to control the mouse in the desired position on the Ubuntu operating system. The result found that when the infrared pen drew the five basic shapes which average time was 13.74 seconds, while compare with using a mouse was 12.02 seconds. The time was slightly difference. The specifying coordinates of the infrared pen was easier to use. Furthermore infrared pen was placed perpendicular at 90° In order to make clear infrared. This result in the detection of infrared image processing was most accurate.
Downloads
Issue
Section
License
*Copyright
The article has been published in Kasem Bundit Engineering Journal (KBEJ) is the copyright of the Kasem Bundit University. Do not bring all of the messages or republished except permission from the university.
* Responsibility
If the article is published as an article that infringes the copyright or has the wrong content the author of article must be responsible.