การประเมินกำลังต้านแผ่นดินไหวของอาคารที่พักอาศัยเตี้ยในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • กิตติชัย หนูจิ๋ว ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
  • ชยานนท์ หรรษภิญโญ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
  • ปิยะพงษ์ วงค์เมธา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200

Keywords:

อาคารพักอาศัยเตี้ย, วิธีการผลักประลัย, ประเมินกำลังต้านทานแผ่นดินไหว, Low-rise Residential Buildings, Nonlinear Static Pushover, Seismic Capacity Evaluation

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการประเมินกำลังต้านแผ่นดินไหวของอาคารที่พักอาศัยเตี้ยซึ่งเป็นกลุ่มอาคารที่มีจำนวนมากในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การสุ่มสำรวจสมรรถภาพอาคารต้านทานแผ่นดินไหวเบื้องต้นโดยวิธีการสังเกตด้วยตาอย่างรวดเร็วจำนวน 100 อาคาร (Rapid visual screening) และส่วนที่ 2 การวิเคราะห์อาคารตัวแทนที่ได้จากผล RVS โดยวิธีการผลักประลัย (Nonlinear Static Pushover) จำนวน 4 อาคาร การศึกษาสรุปได้ว่ามีอาคารที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ยอมรับได้จำนวน 80 อาคาร จากทั้งหมดที่สำรวจ 100 อาคาร เนื่องจากอาคารเหล่านี้ส่วนมากไม่ได้ถูกออกแบบให้ต้านทานแรงแผ่นดินไหว และมีความไม่สม่ำเสมอของรูปร่างอาคาร ส่วนผลจากการวิเคราะห์โดยวิธีผลักประลัย พบว่าอาคารไม่ผ่านเกณฑ์ทั้ง 4 หลัง โดยมีค่าขีดจำกัดสมรรถนะของชิ้นส่วนโครงสร้างอาคารอยู่ในระดับป้องกันการพังทลาย (CP) และทั้งหมดเกิดขึ้นที่เสาของอาคาร


Earthquake Capacity Evaluation of Low-rise Residential Buildings in Chiang Mai

This paper was aimed to evaluate the seismic capacity of low-rise residential buildings representing most of buildings in Chiangmai city. The study can be divided into 2 parts. The first part was rapid visual screening of 100 building samples. The second part was nonlinear static pushover analysis of 4 buildings selected from the previous part. The study could be concluded that there are 80 buildings identified as unacceptable seismic performance from 100 total surveyed buildings. This is due to the non-seismic design and building irregularities. For the nonlinear pushover analysis, all 4 buildings performed lower seismic performances with identified as collapse prevention (CP) performance limit. The buildings were complete collapsed at columns.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)