การบริหารจัดการสินค้าคงคลังและคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัทการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
Keywords:
การจัดการสินค้าคงคลัง, คลังสินค้า, ทฤษฏีพาเรโต้, Inventory Management, Warehouse, Pareto PrincipleAbstract
ในบทความนี้ได้ทำการศึกษาการบริหารจัดการสินค้าคงคลังและคลังสินค้าของบริษัทการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากสินค้าที่ค้างสต๊อกมีมูลค่าสูงกว่าที่ควรจะเก็บสต๊อก จากการคำนวณจากทฤษฏี โดยบริษัทการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ได้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ โดยเป็นสินค้าที่ผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า ปัญหาที่พบจากการตรวจนับสต๊อกสินค้าเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2556 พบว่ามีวัตถุดิบค้างสต๊อกมีมูลค่า 40,190,674.46 บาท จากการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ “หลักพาเรโต้” หรือทฤษฏี 80/20 สำหรับการวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้น พบว่าวัตถุดิบที่มีมูลค่าสูงจำนวน 25 รายการ คิดเป็น 80% ของมูลค่าวัตถุดิบทั้งหมดที่ได้นำมาศึกษาวิจัย โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel มาสร้างรูปแบบการแก้ปัญหาในการควบคุมการสั่งซื้อ การผลิตและการจัดเก็บสินค้า ตั้งแต่การพยากรณ์ การกำหนดปริมาณสินค้าคงคลังต่ำสุดและสูงสุด การวิเคราะห์ต้นทุนสินค้าคงคลังและการสั่งซื้อ เพื่อใช้ในการควบคุมการสั่งซื้อและการจัดเก็บสินค้าให้มีประสิทธิภาพ ผลการศึกษาวิจัยจากการคำนวณจากทฤษฎีสินค้าคงคลัง แล้วพบว่ามีสินค้าจำนวน 25 รายการ มีต้นทุนสูงและยังไม่ควรสั่งซื้อเข้ามา ซึ่งจะต้องหาวิธีการระบายกระดาษออกจากคลังสินค้าโดยเร็ว เพื่อจะลดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า การดูแลรักษา และพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าเพิ่มมากขึ้นด้วย แนวทางในการแก้ไขปัญหาจะต้องปรึกษาและร่วมมือกับฝ่ายออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อออกแบบให้สามารถใช้กระดาษที่มีในสต๊อกมาผลิตงาน ให้ฝ่ายขายดำเนินการขอใช้กระดาษที่มีในสต๊อกกับลูกค้า เพื่อผลิตสินค้าขายให้กับลูกค้าในราคาพิเศษ และให้ฝ่าย QA ทำการสุ่มตรวจสอบสินค้าเกี่ยวกับอายุการใช้งานของสินค้า คุณภาพของสินค้า เช่น สี ความขาว ความแข็งแรงและความชื้นของกระดาษ และสุดท้ายดำเนินการการเจรจากับผู้ผลิตในการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบรายการอื่นที่มีปริมาณการใช้ที่มากกว่าแทน รวมถึงทำการเจรจาตกลงกับผู้ผลิตในเรื่องของ Lead time การสั่งซื้อ (30 วัน) และขั้นต่ำในการสั่งซื้อ (30 รีม) ผลการดำเนินการในระยะเวลา 6 เดือน พบว่าสามารถลดต้นทุนสินค้าคงคลังและต้นทุนการจัดเก็บได้ เฉลี่ยลดลง 14.9%
Inventory management and warehousing : Case Study of PRINTING AND PACKAGING COMPANY
This research is study to inventory management and warehousing of case study of printing and packaging company. Because of product remain in stock at a value higher than it should be kept in stock. Calculated from the theory. By printing and packaging companies. It operates on the packaging printing. The products are manufactured according to customer orders. The problem of the stock of late December 2556 has found that the raw material stock outstanding value 40,190,674.46 Baht. The data is collected and analyzed by using the "Pareto principle" or theory 80/20 for a preliminary analysis of the problem. Find that the high value is 25 SKU, Accounted for 80% of all raw materials have to study. By using Microsoft Excel to create a solution to control orders production and storage. Since Forecast to determine the minimum and maximum inventory levels. Cost analysis, inventory and orders.In order to control the purchase and storage to maximize efficiency. The findings from the calculation of the theoretical inventory. Found a list of 25 SKU with the high cost and also should not buy into. Which must find a way to vent out of the paper warehouse soon. In order to reduce the cost of storage and maintenance space to store product increased. Approach to the problem would be to consult and cooperate with the department of product design. The design can be used to produce paper in stock.The Sales to request a paper in stock to customers. In order to produce product for sale to customers in special price and provide a QA random inspection of goods on the lifetime of product. The quality of product as a white color, strength and moisture content of the paper. Finally, conduct negotiations with suppliers of raw materials in exchange for another item, the more consumption instead. As well as to negotiate with producers in the Lead time order (30 days) and the minimum order (30 reams). Results of operations in the six-month period found that can reduce inventory costs and storage costs have decreased 14.9%.
Downloads
Issue
Section
License
*Copyright
The article has been published in Kasem Bundit Engineering Journal (KBEJ) is the copyright of the Kasem Bundit University. Do not bring all of the messages or republished except permission from the university.
* Responsibility
If the article is published as an article that infringes the copyright or has the wrong content the author of article must be responsible.