การศึกษาและปรับปรุงคุณสมบัติของถ่านอัดเม็ดจากมูลวัวเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงแข็ง
Keywords:
เชื้อเพลิงแข็ง, ชีวมวลอัดเม็ด, มูลวัว, ไพโรไลซีส, ค่าความร้อน, solid fuel, pellet, cow manure, pyrolysis, heating valueAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและปรับปรุงคุณสมบัติของถ่านอัดเม็ดจากมูลวัว เพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงแข็ง โดยศึกษาผลของขนาดและความดันในการอัดเม็ดมูลวัว อุณหภูมิและเวลาในกระบวนการไพโรไลซีสถ่านอัดเม็ดจากมูลวัว ซึ่งวัตถุดิบเหล่านี้จะถูกอัดเม็ดโดยไม่ใช้ตัวประสาน ด้วยแบบอัดเม็ดสามขนาด คือ เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 cm 1.5 cm และ 2 cm ที่ความยาว 1 cm ด้วยระบบไฮดรอลิก พบว่า เวลาและอุณหภูมิที่เหมาะสมในการศึกษาครั้งนี้ คือ 30 min อุณหภูมิในกระบวนการไพโรไลซีส 400 ºC และยังพบว่าความดันในการอัดเม็ดมูลวัว มีผลต่อค่าความร้อนของถ่านอัดเม็ด โดยเมื่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 cm ที่ความดันในการอัดเม็ดมูลวัวที่ 30 40 50 60 และ 70 bar ถ่านอัดเม็ดมูลวัวมีค่าความร้อนคือ 9,750 9,820 10,430 10,520 และ 10,782 kJ/kg ตามลำดับ และเมื่อความดันในการอัดเม็ดมูลวัว 70 bar ที่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 cm 1.5 cm และ 2 cm ถ่านอัดเม็ดมูลวัวมีค่าความร้อนคือ 10,782 11,279 และ 11,682 kJ/kg ตามลำดับ โดยที่ความดันในการอัดเม็ดมูลวัวที่เหมาะสมเพื่อใช้ในกระบวนการไพโรไลซีส คือ 70 bar โดยที่ไม่ใช้ตัวประสาน ทำให้ประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ และค่าความร้อนของชีวมวลและถ่านอัดเม็ดที่ได้กับเชื้อเพลิงแข็งจากงานวิจัยอื่นๆ พบว่า มีค่าใกล้เคียงกัน ดังนั้น มูลวัวมีความเหมาะสมที่สามารถนำมาเป็นแหล่งพลังงานเนื่องจากหาได้ง่าย และราคาถูก [1-4]
This research aims to study and modification of the solid fuel of char pellets from cow manure. The effects of size, pressure, temperature and time of pyrolysis by pellets from cow manure. These raw materials are pelletized without the use of binder. With three pellets of diameter 1 cm, 1.5 cm and 2 cm at 1 cm length, with hydraulic system, it was found that the optimum time and temperature in this study were 30 min, pyrolysis temperature 400 ºC. It also found that the pressure in the pellets influence of heat on char pellets from cow manure, which the diameter of 1 cm at the pellet pressure of 30, 40, 50, 60 and 70 bar the char pellets from cow manures had the heating values of 9,750, 9,820, 10,430, 10,520 and 10,782 kJ/kg, respectively. And the pellet pressure of diameter 70 bar at pellets of diameter 1 cm, 1.5 cm and 2 cm the char pellets from cow manures had the heating values of 10,782 11,279 and11,682 kJ/kg, respectively. The optimum pellet pressure is 70 bars without the use of binder. It saves energy and costs. And biomass heating and solid fuel pellets obtained with other solid fuels were similar. As a result, cow manure is suitable as a source of energy because it is easily available and cheap. [1-4]
Downloads
Published
Issue
Section
License
*Copyright
The article has been published in Kasem Bundit Engineering Journal (KBEJ) is the copyright of the Kasem Bundit University. Do not bring all of the messages or republished except permission from the university.
* Responsibility
If the article is published as an article that infringes the copyright or has the wrong content the author of article must be responsible.