การศึกษาการซ่อมบำรุงผิวจราจรคอนกรีตด้วยวัสดุใยสังเคราะห์ ร่วมกับแอสฟัลท์ติกคอนกรีต กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชลบุรี

Authors

  • ชยุตพงศ์ ถิรศักดิ์โกศล หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม
  • ศักดิ์ชาย รักการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • อัตถกร กลั่นความดี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม
  • สุนิติ สุภาพ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • โกวิท สุรโกมล สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Keywords:

วัสดุสังเคราะห์แอสฟัลท์ติกคอนกรีต,, ซ่อมบำรุงผิวถนนคอนกรีต,, ความคุ้มค่า, Geotextile of Asphaltic Concrete,, Pavements Repaired for Road Surface,

Abstract

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปัญหาการซ่อมบำรุงถนนในจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของภาคตะวันออกที่มีการก่อสร้างถนนเชื่อมโยงเพื่อรองรับการขนส่งด้วยรถบรรทุกขนาดใหญ่วิ่งเข้ามามากมาย ซึ่งเส้นทางสัญจรมีถนนที่มีผิวทางประเภทแอสฟัลท์ติคคอนกรีต (Asphaltic Concrete) เป็นจำนวนมาก ผิวจราจรประเภทนี้มักเกิดความเสียหายแบบรอยร้าว (Crack) ก่อให้เกิดรอยแตกตามยาว รอยแตกตามขวางและรอยแตกทั่วไปรวมถึงทำให้เกิดการยุบตัวของแผ่นคอนกรีต เกิดความเสียหายเร็วกว่ากำหนดเป็นเหตุให้น้ำซึมลงไปสะสมใต้ผิวทางคอนกรีตและมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าที่ออกแบบไว้ดังนั้งผู้วิจัยต้องการศึกษาการซ่อมบำรุงผิวจราจรคอนกรีตด้วยวัสดุใยสังเคราะห์ร่วมกับแอสฟัลท์ติคคอนกรีตกรณีศึกษาถนนคอนกรีตเสริมในตำบลแห่งหนึ่งโดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษาวิธีการซ่อมบำรุงการใช้แผ่นใยสังเคราะห์ร่วมกับแอสฟัลท์ติคคอนกรีตเป็นวัสดุผิวจราจร และกำหนดแนวทางการใช้แผ่นใยสังเคราะห์ร่วมกับแอสฟัลท์ติคคอนกรีตในการดำเนินการสร้างและซ่อมบำรุงผิวจราจร จากการศึกษาในกรณีศึกษาถนนทั้ง 2 เส้นทางในตำบลพบว่ามีความเสียหายเกิดรอยแตกร้าวเป็นส่วนใหญ่ เมื่อได้ทำการซ่อมบำรุงด้วยแอสฟัลท์ติคคอนกรีตร่วมกับแผ่นใยสังเคราะห์ดังกล่าว โดยมีลักษณะการซ่อมที่ครอบคลุมความเสียหายทั้งแผงบริเวณรอยต่อ ผลการสำรวจตรวจสอบด้วยสายตาในช่วงเวลา 1 ปีหลังการเปิดใช้ พบว่าอยู่ในระดับที่ดี ไม่พบรอยแตกร้าวบริเวณรอยต่อของแผ่นพื้นคอนกรีต ในเชิงเศรษฐศาสตร์พบว่าค่าใช่จ่ายในการก่อสร้างด้วยวิธีการใช้แผ่นใยสังเคราะห์ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 แต่ทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงถนนได้ถึงร้อยละ 42 (ระยะเวลา 5 ปี) และสามารถยืดระยะเวลาการซ่อมบำรุงผิวจราจรได้มากกว่าวิธีการทั่วไป นอกจากนี้จะทำให้ถนนมีคุณภาพสูงขึ้นสำหรับการขนส่งทางบก ซึ่งจะส่งผลให้ทำให้เกิดการประหยัดน้ำมัน ค่าซ่อมบำรุง และลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดบนท้องถนนจากผู้ใช้ถนนได้

This research studies the problem of Chonburi province, where is currently the center of the eastern industry. The construction of road is connected to accommodate the transportation of large trucks. The road have been asphaltic concrete surfaces, and usually cracks with resulting in latitude and longitude cracks including the collapse of concrete slabs. The damage and life period is faster in cause the water to accumulate under the concrete surface. The researcher would like to study the repair of concrete surface with synthetic fiber with asphalt concrete. The case study has compared between of reinforced concrete road and reinforced concrete road. The purpose of this study is a maintenance approach by using synthetic fiber asphalt with asphaltic concrete as traffic surface material and determining the approach of using synthetic fiber with asphalt concrete. A case study of two roads in district finds the damage of the crack on concrete surface. When, the maintenance approach is applied by asphalt concrete in combination with synthetic fiber, which is a comprehensive repair feature with covering the whole panel on joint of concrete slabs. The results of visual inspection not find the crack on concrete surface and joint concrete slabs after road activation within first year. Clearly, the roads are to be at a good level with no crack occurring at the joints of concrete slabs. Moreover, the aspect of economic and social can allude to breakeven on investment and safety environment. Even thought, the cost of construction of synthetic sheets increased by 16 percent, but it can be reduced maintenance costs by 42 percent within five years. This exactly could be extended the life period of road. Also, the higher quality road results in fuel savings and reduced road accidents.

Downloads

Published

2018-05-12

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)