แนวทางการจัดการกระบวนการผลิตยาเม็ดเพื่อเพิ่มผลผลิต กรณีศึกษาโรงงานผลิตยา

Authors

  • ลักษณา ปานนิล วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ศักดิ์ชาย รักการ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการงานวิศวกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • อัตถกร กลั่นความดี อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการงานวิศวกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ธนาคม สกุลไทย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการงานวิศวกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Keywords:

การจัดการกระบวนการผลิตยาเม็ด, ต้นทุนต่ำที่สุด, ขนาดรุ่นการผลิตที่เหมาะสม, เพิ่มผลผลิต, เวลามาตรฐาน, อัตราการใช้งานเครื่องจักร, แบบจำลองทางคณิตศาสตร์, Tableting production management, Optimal Cost and Lot size, Productivity improvement, Standard time, Machine utilization, Mathematical model

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการจัดการกระบวนการผลิตยาเม็ดในโรงงานผลิตยาเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต และประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์มากำหนดขนาดการผลิตที่เหมาะสมให้มีต้นทุนรวมต่ำสุด โดยการศึกษานี้ได้ทำการศึกษากระบวนการผลิตยา A ซึ่งเป็นยาเม็ดที่มียอดขายสูงสุดของโรงงานผลิตยาสามัญแห่งหนึ่ง และมีแนวโน้มพยากรณ์การขายปรับเพิ่มขึ้นจนเกินกำลังการผลิต จึงศึกษาแนวทางการย้ายสายการผลิตไปยังสายใหม่ที่มีอัตราการใช้เครื่องจักรต่ำกว่า พร้อมทั้งเพิ่มขนาดรุ่นการผลิตขึ้น 3 เท่า ให้เหมาะสมกับความจุของเครื่องผสม ส่งผลให้มีเวลามาตรฐานที่ใช้ในการผลิตยา A ด้วยสายผลิตใหม่ลดลงเฉลี่ย 0.036 วินาทีต่อเม็ด และมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 60% พร้อมทั้งประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาหาความเหมาะสมของจำนวนรุ่นการผลิตในแต่ละชุดการผลิต พบว่า ในขั้นตอนการผสมแกรนูลยา A ใช้เครื่องจักรร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นอีก 3 รายการ ได้แก่ ยา E ยา G และยา R และควรวางแผนให้มีการผสมยา A 18 Lot ต่อเนื่องทุก 12 วัน ยา E ควรผสม 12 Lot ต่อเนื่องทุก 16 วัน ยา G ควรผสม 6 Lot ต่อเนื่องทุก 7 วัน และยา R ควรผสม 12 Lot ต่อเนื่องทุก 10 วัน โดยมีต้นทุนรวมในการผลิตและจัดเก็บ 84,653.92 บาท/เดือน ในขณะที่ขั้นตอนการตอกอัดเม็ดยา A ใช้เครื่องจักรร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นอีก 2 รายการ ได้แก่ ยา C และยา H จึงควรวางแผนให้มีการตอกอัดเม็ดยา A 4 Lot ต่อเนื่องทุก 20 วัน ยา C ควรตอก 5 Lot ต่อเนื่องทุก 17 วัน และยา H ควรตอก 6 Lot ต่อเนื่องทุก 17 วัน โดยมีต้นทุนรวมในการผลิตและจัดเก็บ 171,439.4 บาท/เดือน

 

This research aims to find an approach of tableting production management in a pharmaceutical industry for increasing productivity and applying mathematical models to determine the optimal production size that gives the lowest total cost. This study investigates the production process of product A which is the top-selling tablet of a generic pharmaceutical manufactory that tends to be sold over its production capacity in the near future. Therefore, this study will focus on studying how to move current production line to new line with lower machine utilization rates and increase the lot-size of the production to three times base on the capacity of the mixer. As a result, the average standard time used in the production of product A with a new line decrease to 0.036 second per tablet, and the productivity increases significantly from the previous production lines to 60%. Moreover, when applying the mathematical models to determine the optimal number of lot in each campaign, it was found in the granulation process that product A  which uses the same machine as the other three products, namely product E, product G and product R should be planed to mix 18 lots of product A continuously every 12 days, the product E should be mixed 12 lots continuously every 16 days, the product G should be mixed 6 lots continuously every 7 days, and product R should be mixed 12 lots continuously every 10 days. To sum up, the total cost of production and holding is 84,653.92 baht / month. The tableting process of product A which uses the same machine as the other two products, namely product C and product H should be planed to compress 4 lots of product A continuously every 20 days, the product C should be compressed 5 lots continuously every 17 days, and product H should be mixed 6 lots continuously every 17 days. To sum up, the total cost of production and holding is 171,439.4 baht/month.

 

Downloads

Published

2018-05-12

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)