การกำหนดปัจจัยที่มีผลกระทบต่อขนาดกระเบื้องผนังพอร์ซเลนชนิดดูดซึมน้ำต่ำโดยวิธีการทดลองแบบแฟคตอเรียลเต็มรูปแบบ: กรณีศึกษาโรงงานผลิตกระเบื้องพอร์ซเลน
Keywords:
กระเบื้องพอร์ซเลน,, การปรับปรุงกระบวนการผลิต,, การออกแบบการทดลอง,, ขนาดกระเบื้อง, design of experiment, process improvement, tile dimension, wall tile porcelainAbstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขนาดของกระเบื้องผนังพอร์ซเลนชนิดดูดซึมน้ำต่ำแบบไม่ขัดขอบ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่และกำหนดระดับของปัจจัยที่เหมาะสมในกระบวนการผลิต โดยการประยุกต์การออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียลเต็มรูปและการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลจากการทดลองพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อขนาดกระเบื้องคือ ค่าแรงอัดขึ้นรูปแผ่นกระเบื้องและค่าการหดตัวผงดิน ทั้งนี้ค่าแรงอัดขึ้นรูปแผ่นกระเบื้องควรมีค่าเท่ากับ 362 กิโลกรัมต่อตารางเซ็นติเมตร และค่าการหดตัวผงดินเท่ากับร้อยละ 7.56 ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตกระเบื้องมีขนาดตามที่กำหนด รวมถึงคุณสมบัติทางกลด้านการดูดซึมน้ำและค่าโมดูลัสแตกร้าว เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานการผลิต นอกจากนี้ผลลัพธ์ของการวิจัยสามารถใช้เป็นข้อกำหนดของขั้นตอนมาตรฐานในการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่และการปรับปรุงผลิตภาพการผลิตโดยการลดการสูญเสียเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักรสำหรับการขึ้นรูปกระเบื้องก่อนการผลิต
The objective of this paper is to analyze the factors that affect the dimension of low water absorption of new product; wall tile porcelain without edge trimming. Design of experiment with full factorial analysis is employed including multiple regression analysis for model fitting. The experimental results reveal that pressing pressure and powder shrinkage affect the dimension of such tile porcelain while other quality requirements of water absorption and modulus of rupture are compliant with the standards. The appropriate value setting for both factors are recommended at 362 kg/cm2 and 7.56 percent, respectively. In addition, the research’s results can be applied in determining standard manufacturing procedures of other new products and improving productivity of pressing machine in terms of set up time reduction.
Downloads
Published
Issue
Section
License
*Copyright
The article has been published in Kasem Bundit Engineering Journal (KBEJ) is the copyright of the Kasem Bundit University. Do not bring all of the messages or republished except permission from the university.
* Responsibility
If the article is published as an article that infringes the copyright or has the wrong content the author of article must be responsible.