การศึกษาศักยภาพและการพัฒนาการออกแบบผังบริเวณบึงหนองช้างเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์บัวของจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

จิระภา ศรีคำ
สุจิตรา สืบนุการณ์
วิเชียร โสมณวัฒน์
ภาสวัฒน์ ยศรักษา
เกริกไกร แก้วล้วน
บวร ไชยษา

บทคัดย่อ

การศึกษาศักยภาพและการพัฒนาการออกแบบผังบริเวณบึงหนองช้างเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์บัวของจังหวัด อุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของที่ตั้งบึงหนองช้าง 2) เพื่อศึกษา ศักยภาพของบึงหนองช้างเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์บัวของจังหวัดอุบลราชธานี และ 3) เพื่อศึกษาแนว ทางการออกแบบวางผังบริเวณบึงหนองช้าง งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ รวบรวมข้อมูลโดยการ สอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต การสำรวจ ณ สถานที่จริง การถ่ายภาพเพื่อเปรียบเทียบกับ เอกสารอ้างอิง การเก็บตัวอย่างไปทดสอบในห้องทดลอง และรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิที่เป็นเอกสารและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มประชากรได้แก่ ประชาชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชน จำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่และร้อยละ

ผลการศึกษา พบว่า ปัจจุบันบึงหนองช้างเป็นหนองนํ้าขนาดเล็กความสำคัญระดับท้องถิ่น พื้นที่รวม พื้นที่ป่าชุมชนประมาณ 509 ไร่ พื้นที่ประกอบด้วย พื้นที่ป่าชุมชน พื้นที่คันดินรอบหนองและเกาะ พื้นที่นํ้า ท่วมขัง และพื้นที่ผืนนาเปิดโล่ง ดินในหนองนํ้ามีสภาพเป็นกรด มีค่า pH เฉลี่ย 3.98 นํ้ามีสภาพเป็นกรด มี ค่า pH เฉลี่ย 5.02 พบพืชนํ้าจำนวน 33 ชนิด ไม้ยืนต้นจำนวน 20 ชนิด พบนกจำนวน 26 ชนิด นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งนํ้าสำหรับปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เก็บหาของป่า การประมงพื้นบ้าน เป็นสถานที่พักผ่อน และเป็น สถานที่จัดกิจกรรมประจำปีของตำบลหนองขอนและตำบลใกล้เคียง

ด้านศักยภาพของบึงหนองช้างเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์บัวของจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า มี ศักยภาพสำหรับการปลูกบัวระดับมากที่สุด 2 ด้านได้แก่ ด้านช่วงของอุณหภูมิและความเร็วลม และด้าน ปริมาณแสงแดด มีศักยภาพระดับปานกลาง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณสมบัติของดิน ด้านภาชนะที่ปลูกหรือความ ลึกของนํ้า ด้านผู้ปลูกเลี้ยงผู้ดูแล และด้านโรคและศัตรู มีศักยภาพระดับน้อย 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความเช้าใจ เรื่องชนิดและพันธุ์บัว และด้านคุณสมบัติของนํ้า

ด้านแนวทางการออกแบบวางผังบริเวณบึงหนองช้าง พบว่า ควรมีองค์ประกอบของโครงการ 8 ส่วน ได้แก่ 1) พิพิธภัณฑ์บัว 2) พิพิธภัณฑ์สัตว์นํ้าจืด 3) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจแบบพอเพียง 4) ศูนย์บริการ นักท่องเที่ยว 5) สวนสาธารณะสำหรับชุมชน 6) พิพิธภัณฑ์เทียนพรรษา 7) เส้นทางการศึกษาธรรมชาติ และ 8) หอประวัติบุคคลสำคัญ โดยมีแนวคิดการวางเขตการใช้ที่ดิน (Zoning) โดยคำนึงถึงผู้เช้าร่วมกิจกรรม และ การรักษาความปลอดภัยให้กับสิ่งที่จัดแสดงเป็นหลัก

ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายไดิให้แก่ชุมชน ควรมีการศึกษา เกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพดินและนํ้าในการปลูกบัวในหนองช้าง

 

A Study of Potential and Site Planning Development of Bueng Nong Chang to be a Resource of Water Lily Collecting of Ubonratchathani Province

The study aimed 1) to examine the current condition of Beung Nong Chang, 2) to study the potential use of Beung Nong Chang as a collecting resource for water lily species at Ubon Ratchathani province, and 3) to study how to design the site planning of Beung Nong Chang. This research was a survey research. It was conducted by collecting data from enquiries, interviewing, direct observation at the location, taking pictures to compare with documents, gathering and testing laboratory samples, and collecting secondary data from documents and research. The population were residents of Ubon Ratchathani province, and the sample size was 400 people. The data was analyzed by frequency and percentage.

The results found that Beung Nong Chang was a small swamp that was important locally. Its total area is approximately 509 rai consisting of community forest areas, levees around Beung Nong Chang, islands, flooded areas, and open water areas. Soil in the swamps was acidic with an average pH of 3.98, and the water was acidic with an average pH of 5.02. There were 33 species of water plants, 20 species of trees, and 26 species of birds, In addition, Beung Nong Chang was also a source of water for growing crops, raising animals, searching for objects in the forest, and traditional fishing. Moreover, it was also used as a resting place and the venue for annual activities by Nong Khon sub-district and other nearby sub-districts.

For the potential of Beung Nong Chang to be used as a collecting resource of water lily species at Ubon Ratchathani, the research found that the highest levels of potential to plant water lilies included two factors: the periods of temperature and wind speed and the quantity of sunshine, while the middle levels of potential had four factors: soil property, culture containers or depth of water, farmers, and diseases and pest. In addition, the study also found that in the low level of potential, there were two factors: understanding water lily species and the quantity of water.

In designing site plan of Beung Nong Chang, the study found that there were eight components: a water lily museum, an aquarium, an economy learning center, a tourist service center, a public park, a candle festival museum, tracks used to study nature, and an important peoples biography tower. The site planned with the eight components was designed using the concepts of zoning, consideration for the safety of the participants, and items to be exhibited.

Recommendation: tours around the areas should be promoted to make profits in the community, and a study about the improvement of soil and water at Beung Nong Chang should be conducted.

Article Details

How to Cite
[1]
ศรีคำ จ., สืบนุการณ์ ส., โสมณวัฒน์ ว., ยศรักษา ภ., แก้วล้วน เ., และ ไชยษา บ., “การศึกษาศักยภาพและการพัฒนาการออกแบบผังบริเวณบึงหนองช้างเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์บัวของจังหวัดอุบลราชธานี”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 4, ฉบับที่ 1, น. 79–94, มิ.ย. 2016.
บท
บทความวิจัย