การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการจัดการสินค้าคงคลังสำหรับโรงงานผลิตภัณฑ์เบเกอรี่

Main Article Content

ชมพูนุท เกษมเศรษฐ์
ศิวัช ปริญญาเมธี
ธีรโชติ สกุลศึกษาดี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการบริหารสินค้าคงคลังในการปรับปรุงการจัดการวัตถุดิบคงคลังของโรงงานผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากการผลิตผลิตภัณฑ์ เบเกอรี่มีการใช้วัตถุดิบที่มีความแตกต่างกัน วัตถุดิบบางประเภทจะมีช้อจำกัดในเรี่องอายุในการเก็บรักษา จากรายการวัตถุดิบทั้งหมด 2,561 รายการ จะถูกจำแนกโดยพิจารณามูลค่าการใช้ของวัตถุดิบตามหลักการการแบ่งกลุ่มแบบ ABC ร่วมกับการให้ความสำคัญแบบพิจารณาหลายเกณฑ์ โดยใช้สามเกณฑ์การพิจารณา ได้แก่ เกณฑ์วันหมดอายุของสินค้า เกณฑ์เวลานำในการสั่งซื้อ และเกณฑ์การมีวัตถุดิบทดแทน ซึ่งทำให้ สามารถจำแนกวัตถุดิบออกเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่ AA , AB , AC , BA , BB , BC , CA , CB และ CC จากนั้น เลือกเฉพาะวัตถุดิบที่มีความสำคัญ 5 กลุ่ม ทำการหารูปแบบการสั่งซื้อที่เหมาะสม โดยที่กลุ่มวัตถุดิบ AA และ BA จะพิจารณาการสั่งซื้อปริมาณการสั่งซื้ออย่างประหยัดแบบ EOQ with Nonlinear Holding Cost เนื่องจากเป็นกลุ่มวัตถุดิบที่มีมูลค่าการใช้สูงและอายุสั้น AB และ AC พิจารณาการสั่งซื้อแบบการสั่งซื้อแบบ ประหยัด หรือ EOQ และ CA พิจารณาใช้การสั่งซื้อแบบ ระบบรอบเวลาสั่งซื้อที่คงที่ โดยรูปแบบการสั่งซื้อที่ นำเสนอช่วยให้ต้นทุนรวมของการจัดการสินค้าคงคลังลดลง 787,328.92 บาท คิดเป็น 76.4% จากต้นทุนเดิม และมูลค่าคงคลังเฉลี่ยลดลง 512,158.08 บาท คิดเป็น 6.1% จากมูลค่าคงคลังเฉลี่ยเดิม นอกจากนั้นยังพบว่าระบบที่นำเสนอในงานวิจัยนี้ใช้ไค้ผลดีถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงของราคาต้นทุนวัตถุดิบก็ตาม เมื่อ เปรียบเทียบกับต้นทุนรวมก่อนการปรับปรุง

 

The Application of Inventory Management Theory for Bakery Factory

The objective of this research is to present the application of inventory theory in raw material management of one bakery factory in Chiang Mai province. เท bakery production, raw materials used are various. Some raw material is short shelf-life. For this case study, there are 2,561 types of raw materials classified by considering value of each raw material following ABC classification concept combined with Multiple Attribute Decision Making (MADM) using three criteria as expired date, ordering lead time and possibility to use alternative raw materials. Raw materials were classified into nine groups as AA, AB, AC, BA, BB, BC, CA, CB and cc. From those groups, only five groups were selected for setting practical ordering systems. For AA and BA, EOQ with Nonlinear Holding Cost was applied for these two groups due to short shelf-life. Economic Order Quantity (EOQ) was used for AB and AC. Fixed Order Interval System was used for CA. The results of the proposed system showed that the total inventory management cost can be reduced as 787,328.92 Baht or 76.4% reduction. The value of average inventory level can be decreased as 512,158.08 or 6.1% reduction. เท addition, the proposed policy is also valid when the cost of raw material significantly increases.

Article Details

How to Cite
[1]
เกษมเศรษฐ์ ช., ปริญญาเมธี ศ., และ สกุลศึกษาดี ธ., “การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการจัดการสินค้าคงคลังสำหรับโรงงานผลิตภัณฑ์เบเกอรี่”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 4, ฉบับที่ 1, น. 12–26, มิ.ย. 2016.
บท
บทความวิจัย