การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้การเรียนรู้ระหว่างแบบฝึกทักษะ ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์กับวิธีสอนแบบปกติ

Main Article Content

ธนัญญา สดชื่น
เผ่าไทย วงศ์เหลา
ประสาร ไชยณรงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวประกอบการสอนแบบคอนสตรัคติวิสต์ ให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้แบบฝึกทักษะกับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านยางและโรงเรียนบ้านแก้ง รวม 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวประกอบการสอนแบบคอนสตรัคติวิสต์ และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวประกอบการสอนแบบคอนสตรัคติวิสต์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวน และการทดสอบค่าทีแบบอิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบการสอนแบบคอนสตรัคติวิสต์ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.68/84.29 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ .7665 คิดเป็นร้อยละ 76.65 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบการสอนแบบคอนสตรัคติวิสต์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

A Comparison of Learning Achievement on Linear Inequalities in One Variable Grade Nine Students by Learning between Skills Exercises Based on Constructivist Theory and Traditional Teaching Method

The research aimed to develop the mathematics package on one variable linear in equalities along with the constructive method to achievement the effectiveness of 80/80; to compare the learning achievement of the students who were taught by a constructivist method and by a conventional method. The samples used in the present study were 28 grade nine students from Ban Yang School and 28 students from Ban Kang School. They were derived by means of a cluster random sampling. The research instruments were 1) on one variable linear Inequalities for grade nine students for a conventional method; 2) mathematics skill package on one variable linear Inequalities 3) achievement test. Single variable linear inequalities. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, variance test and t-test. The research findings were as follows. The mathematics package on one variable linear Inequalities for grade nine students had an efficiency equivalent to 83.68/84.29. It was in line with the set criterion. Its effectiveness index was equivalent to .7665 or 76.65%.The students who learned by using the package had a higher learning achievement than their counterparts who learned by a conventional method at the statistical level of .01 significance.

Article Details

How to Cite
[1]
สดชื่น ธ., วงศ์เหลา เ., และ ไชยณรงค์ ป., “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้การเรียนรู้ระหว่างแบบฝึกทักษะ ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์กับวิธีสอนแบบปกติ”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 5, ฉบับที่ 2, น. 193–204, มิ.ย. 2016.
บท
บทความวิจัย