การใช้กิจกรรมการพัฒนาทักษะการออกแบบขั้นตอนวิธีทางคอมพิวเตอร์ ด้วยวิธีปัญหาเป็นฐาน โดยใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 และเทคนิคพี่เลี้ยง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมและเครื่องมือของกิจกรรมการพัฒนาทักษะการออกแบบขั้นตอนวิธีทางคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีปัญหาเป็นฐาน โดยใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 และเทคนิคพี่เลี้ยง และ 2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้กิจกรรมและเครื่องมือของกิจกรรมการพัฒนาทักษะการออกแบบขั้นตอนวิธีทางคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีปัญหาเป็นฐาน โดยใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 และเทคนิคพี่เลี้ยง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย2 กลุ่ม คือ 1) นักศึกษากลุ่มพี่เลี้ยง จำนวน 11 คน และ 2) นักศึกษากลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาทักษะ จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย กิจกรรมและเครื่องมือของกิจกรรมการพัฒนาทักษะการออกแบบขั้นตอนวิธีทางคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีปัญหาเป็นฐาน โดยใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 และเทคนิคพี่เลี้ยง และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อกิจกรรมและเครื่องมือของกิจกรรมการพัฒนาทักษะ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบ t และค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อกิจกรรมและเครื่องมือของกิจกรรมการพัฒนาทักษะเฉลี่ยโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.63, S.D. =0.50) 2) ผลการเรียนรู้หลังเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาทักษะสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาทักษะอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) ประสิทธิภาพของกิจกรรมการพัฒนาทักษะตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 89.21/81.01 ซึ่งถือได้ว่ากิจกรรมการพัฒนาทักษะนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 4) ผลการฝึกปฏิบัติใบงานของผู้เรียนในกิจกรรมการพัฒนาทักษะ มีคะแนนของการฝึกปฏิบัติโดยรวมร้อยละ 89.21 และ 5) ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาทักษะเฉลี่ยโดยรวมมีความพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.50, S.D. =0.61)
Using a Skill Development Activity for Computer Algorithm Design Using Problem Based Learning on 2.0 Web Technology and a Mentoring Technique
This research aimed to 1) develop the skills development activity for computer algorithm design by using problem based learning on 2.0 web technology and a mentoring technique and 2) to study the results on try out a model of such skill development activity. The target group included 1) a group of 11 mentor students, and 2) a group of 33 students participating in the skill development activity. The tools used in this research included the activity for computer algorithm design by using problem based learning on 2.0 web technology and a mentoring technique, and an expertise questionnaire towards the activity. The research statistics were: Mean, Standard Deviation, t-test and Efficiency in accordance with E1/E2 criterion. The research results obtained by follow-up of using the skill development model showed that 1) the expertise towards the appropriateness of the skill development activity and its tools in average was at the highest level (=4.63, S.D. =0.50) ; 2) the learning result of the students after their participation in the skill development activity was higher than that of before participation with the statistical significance level at .05 3) the efficacy of the skill development in accordance with E1/E2 criterion was 89.21/81.01. It can be explained that the efficiency of the skills development activity was higher than the criterion determined; 4) according to the result of student practice by using the worksheet of the skill development activity, the overall score of the students was 89.21; and 5) the participants’ satisfaction with the skill development activity in average was at the highest level (=4.50, S.D. =0.61).
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ท้ังในรูปแบบของรูปเล่มและอิเล็กทรอนิกส์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ