การศึกษาความต้องการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขอนและองค์การบริหารส่วนตำบลค้อน้อย จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

จิระภา ศรีคำ
สุปิยา ทาปทา
ฬิฏา สมบูรณ์
เจษฎา ชะโกฏ

บทคัดย่อ

การศึกษาความต้องการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุกรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขอนและองค์การบริหารส่วนตำบลค้อน้อยจังหวัดอุบลราชธานีเป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์การศึกษาได้แก่ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของที่อยู่อาศัยและการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาการปรับปรุงที่อยู่อาศัยและสาเหตุการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ 3) เพื่อศึกษาความต้องการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุและสาเหตุความต้องการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุและ 4) เพื่อศึกษาความสามารถของครัวเรือนในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงอายุประชากรในการศึกษาได้แก่ผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลหนองขอนจานวน 882 คนและผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลค้อน้อยจานวน 682 คนรวม 1,542 คนกลุ่มตัวอย่างจานวน 330 คนโดยเทียบจากตารางสำเร็จรูปของทาโร่ยามาเน่ที่ระดับความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์การสุ่มตัวอย่างให้กระจายไปตามแต่ละหมู่บ้านตามสัดส่วนของจำนวนผู้สูงอายุโดยมีตัวแปรต้นได้แก่เพศกลุ่มอายุขนาดครัวเรือนความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันและระยะเวลาที่อยู่อาศัยในบ้านตัวแปรตามได้แก่การปรับปรุงที่อยู่อาศัยและความต้องการปรับปรุงที่อยู่อาศัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ร้อยละวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามด้วยค่าไคสแคว์ณระดับนัยสำคัญ 0.05 จากการศึกษาพบว่าเพศกลุ่มอายุขนาดครัวเรือนความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันและระยะเวลาที่อยู่อาศัยในบ้านไม่มีความสัมพันธ์ต่อการปรับปรุงที่อยู่อาศัยและความต้องการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ


A Study of Requirements of Elderly Houses Improvements Case Study: Nongkhon Sub-District Administrative Organization and Konoi Sub-District Administrative Organization Ubon Ratchathani Province

This survey research aimed to examine the current conditions of the housing and ways of the elderly living, study the improvement and the causes of the improvement of the elderly housing, investigate the needs of the housing improvement of the elderly and the causes of the needs in order to improve the elderly housing, and learn the ability of the family members to improve housing for the elderly. 330 senior citizens of Tambon Nong Khon and Tambon Koh Noi at Ubon Ratchathani were selected randomly and interviewed to find the needs of the housing improvement. The independent variables were gender, age, household size, ability of being independence, and the length of being residents in the houses. The dependent variables were the improvement and the causes of the improvement of the elderly housing. The research tool was the interview forms. The results of each group of variables were analyzed by using descriptive statistics: frequency and percentage. The relationships between the independent and dependent variables were analyzed by using Chi-Square.

Article Details

How to Cite
[1]
ศรีคำ จ., ทาปทา ส., สมบูรณ์ ฬ., และ ชะโกฏ เ., “การศึกษาความต้องการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขอนและองค์การบริหารส่วนตำบลค้อน้อย จังหวัดอุบลราชธานี”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 5, ฉบับที่ 2, น. 117–130, มิ.ย. 2016.
บท
บทความวิจัย