การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดทดลองอิเล็กทรอนิกส์ วิชาวงจรไฟฟ้ากระแสตรง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดทดลองอิเล็กทรอนิกส์ วิชาวงจรไฟฟ้ากระแสตรง 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบความคงทนทางการเรียนรู้ 4) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนเกรดเฉลี่ย (Y) กับคะแนนหลังเรียน (X) และรวมทั้งการประเมินระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดทดลองที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ในภาคเรียนที่ 1/2557 จำนวน 20 คน เครื่องมือแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านชุดทดลอง และใบงานทดลอง จากนั้นได้หาประสิทธิภาพของชุดทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูลอาศัยการทดสอบก่อนและหลังเรียนและทดสอบอีกครั้งหลังการสอนสิ้นสุดผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ จากผลการวิจัย พบว่า ชุดทดลองที่สร้างขึ้น มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.62/83.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (80/80) ผลเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน =19.55 (S.D. = 2.13) สูงกว่าก่อนเรียน =8.28 (S.D. = 1.78) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความคงทน พบว่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ ∆ =3.30 ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนเกรดเฉลี่ย กับคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน มีค่าเท่ากับ .67 ซึ่งอยู่ในระดับสูงและผู้เรียนมีความพึงพอใจที่ได้เรียนด้วยชุดทดลองที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับมาก =4.42 (S.D. = 0.72)
Construction and Finding of the Efficiency of Experimental Set Electronics on DC circuit
The purposes of this study were 1) to construction and finding of the efficiency of experimental set electronics on DC circuit, 2) to compare the mean scores between the pre-learning and post-learning, 3) to compare the learning Retention, 4) to analyze the correlation of the GPA (Y) and the mean scores post-learning (X) and evaluating Experimental Set satisfaction. The sample of this study was 20 on electronics technology program, Faculty of Industrial Technology, Buriram Rajabhat University, in Direct Current Circuits course in the semester 1/2014. Which was divided into two parts: experimental Set and laboratory Sheet. Pre-test and post-test were used to collect the data. The subjects were tested again two weeks after the experiment was over. The results of research found that the efficiency of the Experimental Set was 84.62/83.20, which was higher than the set criteria of 80/80. The comparison of the post-test mean scores was =19.55 with S.D. = 2.13 higher than that of the pre-test scores was =8.28 with S.D. = 1.78 at a significance level of .05. The comparison the learning Retention the difference of the mean scores was ∆ =3.30. Regarding the correlation between the scores GPA and the mean scores post-learning, it was found that the correlation of the scores was 0.67, which was quite high. The student were satisfied in the Experimental set at the mean high level =4.42 with S.D. = 0.72.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ท้ังในรูปแบบของรูปเล่มและอิเล็กทรอนิกส์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ