การอบแห้งสมุนไพรดีปลีที่อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ

Main Article Content

นพพร เทนอิสสระ
สมเกียรติ สุขุมพันธ์

บทคัดย่อ

 


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการอบแห้งสมุนไพรดีปลี และเพื่อหาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมกับการอบแห้งสมุนไพรดีปลีที่อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ โดยอบแห้งสมุนไพรดีปลีด้วยอากาศจากเครื่องควบคุมอากาศที่พัฒนามาจากเครื่องปรับอากาศในอาคารทำงานร่วมกับขดลวดทำความร้อน
ผลการทดลอง พบว่า ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อเวลาการอบแห้ง เมื่อความชื้นสัมพันธ์ของอากาศเพิ่มขึ้นจาก 30 เปอร์เซ็นต์ เป็น 40 เปอร์เซ็นต์ และ 50 เปอร์เซ็นต์ ค่าเวลาการอบแห้งจะเพิ่มขึ้นจาก 74 ชั่วโมง เป็น 105 ชั่วโมง และ 113 ชั่วโมง ตามลำดับ และส่งผลต่อค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นของสมุนไพรดีปลี เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศเพิ่มขึ้น ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นของสมุนไพรดีปลีจะลดลง มีค่าการทดลองดีที่สุด คือ ที่ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ 30 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้เวลาในการอบแห้งน้อยที่สุด 74 ชั่วโมง มีค่าอัตราการอบแห้งสูงสุดเท่ากับ 0.13 ต่อชั่วโมง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นของการทดลองและมีค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นสูงสุดเท่ากับ 11.156264×10-12 ตารางเมตรต่อวินาที  แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการอบแห้งที่อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ คือ แบบจำลองเฮนเดอร์สันและพาบิส 2 เทอม การหาค่านอกช่วงการทดลองโดยแบบจำลองพบว่า การลดความชื้นให้ต่ำลง ค่าเวลาการอบแห้งจะต่ำลงเช่นเดียวกัน และส่งผลให้ค่าความสิ้นเปลืองพลังงานเพิ่มขึ้น ดังนั้นถ้าพิจารณาจากความสิ้นเปลืองพลังงาน พบว่า ปัจจัยความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ 35 เปอร์เซ็นต์ เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด เพราะมีความสิ้นเปลืองพลังงานน้อยสุด 32.5 กิโลวัตต์-ชั่วโมง นอกจากนั้นยังพบว่าการอบแห้งแบบแสงอาทิตย์จะมีปริมาณเชื้อรามากกว่าการอบแห้งแบบอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ต่ำถึง 7.99×103 โคโลนีต่อกรัม

Article Details

How to Cite
[1]
เทนอิสสระ น. และ สุขุมพันธ์ ส., “การอบแห้งสมุนไพรดีปลีที่อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 13, ฉบับที่ 2, น. 125–138, ก.ย. 2023.
บท
บทความวิจัย

References

Khedari J, Sangprajak A and Hirunlab J. Thailand climatic zones. Renewable Energy. 2002; 25: 267–80.

Prakash Q and Kumar A. Solar drying technology: concept, design, testing, modeling, economics, and environment: Springer; 2017.

Barbosa-Cánovas G V, Fontana A J, Schmidt S J and Labuza T P. Water activity in foods: fundamentals and applications. John Wiley & Sons. 2020.

Arundel A V, Sterling A M, Biggin J H, and Sterling T D. Indirect health effects of relative humidity in indoor environments. Environmental health perspectives. 1986; 65: 351-61.

Aritiaya P and Amornchai A. Drying Technology. Technology Promotion Association (Thailand-Japan). 2014; 41: 234 (in Thai)

Zlatanovic I, Komatina M, and Antonijevic D. Low-temperature convective drying of apple

cubes. Applied Thermal Engineering. 2013; 53: 114-23.

Ondier G O, Siebenmorgen T J and Mauromoustakos A. Low-temperature, low-relative humidity drying of rough rice. Journal of Food Engineering. 2010; 100: 545-50.

Sosle V, Raghavan G, and Kittler R. Low-temperature drying using a versatile heat pump dehumidifier. Drying Technology. 2003; 21: 539-54.

Nagaya K, Li Y, Jin Z, Fukumuro M, Ando Y, and Akaishi A. Low-temperature desiccant-based food drying system with airflow and temperature control. Journal of food engineering. 2006;

: 71-7.

Arundel A V, Sterling A M, Biggin J H, and Sterling T D. Indirect health effects of relative humidity in indoor environments. Environmental health perspectives. 1986; 65: 351-61.

Zlatanovic I, Komatina M, and Antonijevic D. Low-temperature convective drying of apple

cubes. Applied Thermal Engineering. 2013; 53: 114-23.

Serm J. Solar Drying Technology [Internet]. 2560 [cited 2020 December 19] availablefrom:

http://www.phy.sc.su.ac.th/book/SolarDrying2017.pdf (in Thai)

Crank, J. (1975). The Mathematics of Diffusion. Clarendon Press, Oxford.. (1975); 2: 413

Zlatanovic I, Komatina M, and Antonijevic D. Low-temperature convective drying of apple

cubes. Applied Thermal Engineering. 2013; 53: 114-23.