อุปกรณ์การฝึกการทรงตัวแบบให้ผลป้อนกลับผ่านทางสายตา

Main Article Content

เกียรติสิน กาญจนวนิชกุล
ปริญญ์ ชุปวา
นพชัย คงเจริญ
กฤษฎา ศรีแจ่ม

บทคัดย่อ

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คือ ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการทรงตัว เนื่องจากการสูญเสียความสามารถในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลำตัวและขา และการสูญเสียการรับความรู้สึก ในการฟื้นฟูผู้ป่วยด้วยการฝึกทรงตัว ผู้ป่วยได้รับการป้อนกลับด้วยเสียงโดยอาศัยการสังเกตของนักกายภาพบำบัด ซึ่งการสังเกตนี้ อาจจะขาดความถูกต้อง และไม่สามารถวัดค่าเป็นเชิงปริมาณได้ ดังนั้น วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ คือ การพัฒนาอุปกรณ์การฝึกการทรงตัวแบบให้ผลป้อนกลับผ่านทางสายตาซึ่งมีส่วนประกอบ 2 ชุด คือ ชุดป้อนกลับสำหรับการนั่งทรงตัว และชุดป้อนกลับสำหรับการยืนทรงตัว โหลดเซลล์จำนวน 2 ตัว ถูกติดตั้งในชุดป้อนกลับการนั่งทรงตัว ใช้เพื่อวัดน้ำหนักและเฝ้าติดตามการทรงตัวในการนั่ง และโหลดเซลล์ จำนวน 4 ตัว ถูกใช้ในชุดป้อนกลับการยืนทรงตัว เพื่อตรวจวัดการลงน้ำหนักของเท้าทั้งปลายเท้าและส้นเท้า ค่าน้ำหนักถูกส่งไปยังตัวแสดงผลผ่านทางการสื่อสารแบบ RS485 ตัวแสดงผลรับค่าน้ำหนักและแสดงผลป้อนกลับผ่านทางหน้าจอ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวเองกลับสู่สมดุลได้โดยสังเกตจากหน้าจอ ผลการทดลองพบว่า อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตามที่ออกแบบไว้ ผู้ทดสอบทราบการลงน้ำหนักด้วยการมองขณะฝึก นอกจากนี้ หลังจากการฝึกนักกายภาพบำบัดยังได้ผลสรุปการฝึกเพื่อนำไปวิเคราะห์หรือเปรียบเทียบประสิทธิภาพก่อนและหลังการฝึกได้

Article Details

How to Cite
[1]
กาญจนวนิชกุล เ. ., ชุปวา ป., คงเจริญ น., และ ศรีแจ่ม ก., “อุปกรณ์การฝึกการทรงตัวแบบให้ผลป้อนกลับผ่านทางสายตา”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 13, ฉบับที่ 2, น. 41–54, ก.ย. 2023.
บท
บทความวิจัย

References

Marsden J, Playford D, Day B. The vestibular control of balance after stroke. Journal of Neurology, Neurosurgery and Psychiatry. 2005; 76(5): 670-79.

Chen I, Cheng P, Chen C, Chen S, Chung C, Yeh T. Effects of balance training on hemiplegic stroke patients. Chang Gung Medical Journal. 2002; 25(9): 583-90.

Barclay-Goddard R, Stevenson T, Poluha W, Moffatt W, Taback S. Force platform feedback for standing balance training after stroke. Stroke. 2005; 36(2): 412–13.

Ramachandran R, Ramanna L, Ghasemzadeh H, Pradhan G, Jafari R, Prabhakaran B. Body sensor networks to evaluate standing balance: Interpreting muscular activities based on inertial sensors. In Borriello G, Petrioli C, editors. The 2nd International Workshop on Systems and Networking Support for Health Care and Assisted Living Environments; 2008 June 17; Colorado: Association for Computing Machinery; 2008. Article No. 4.

Kennedy M, Schmiedeler J, Crowell C, Villano M, Striegel A, Kuitse J. Enhanced feedback in balance rehabilitation using the Nintendo Wii balance board. In Shyu C, editor. The 13th IEEE International Conference on e-Health Networking Applications and Services (Healthcom): 2011 June 13-15; Missouri: IEEE; 2011. 162-68.

Schwenk M, Sabbagh M, Lin I, Morgan P, Grewal G, Mohler J, Coon D, Najafi B. Sensor-based balance training with motion feedback in people with mild cognitive impairment. Journal of Rehabilitation Research & Development; 2016; 53(6): 945-58.

Pellegrino L, Giannoni P, Marinelli L, Casadio M. Effects of continuous visual feedback during sitting balance training in chronic stroke survivors. Journal of NeuroEngineering and Rehabilitation. 2017; 14(1): Article No. 107.

Pramodhyakul N, Yangngam O, Satjapibantham N, Keawtep P. Effect of balance training by smartphone visual feedback on standing balance in patients with stroke: pilot study. Thai Journal of Physical Therapy. 2017; 39(1): 20 – 31. (in Thai)

Lee C, Sun T. Evaluation of postural stability based on a force plate and inertial sensor during static balance measurements. Journal of Physiological Anthropology. 2018; 37(1): Article No. 27.

Moreira G, de Lima E, Machado I, Cunha Loureiro A, Manffra E. The use of virtual reality rehabilitation for individuals post stroke. Journal Rehabilitation Therapy. 2019; 1(1): 21-7.

Forghany S, Nester C, Tyson S, Preece S, Jones R. Plantar pressure distribution in people with stroke and association with functional mobility. Journal of Rehabilitation Sciences & Research. 2019; 6(2): 80-5.