การประยุกต์ใช้พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนด้วยวิธีการพ่นหมอกและสั่งงานด้วยอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง

Main Article Content

วิชัย นระมาตย์
วศกร ไตรพัฒน์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการนำเสนอ การประยุกต์ใช้พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนด้วยวิธีการพ่นหมอกและสั่งงานด้วยอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อออกแบบสร้างและใช้พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานและ 2. เพื่อควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนด้วยวิธีการพ่นหมอกและสั่งการด้วยอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง โครงสร้างระบบประกอบด้วย 1. ระบบพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ 2. ระบบควบคุม ประกอบด้วยเครื่องควบคุมอุณหภูมิอุณหภูมิ รุ่น STC – 3008 รับสัญญาณแอนะล็อกจากเซนเซอร์ DHT21 ในการทดสอบได้ปรับตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 35 องศาเซลเซียส ภายใต้เงื่อนไขการทำงานเมื่ออุณหภูมิมากกว่าค่าปรับตั้ง 1 องศาเซลเซียส ระบบพ่นหมอกจะทำงาน และหยุดการทำงานเมื่ออุณหภูมิลดลงต่ำกว่าค่าที่ปรับตั้ง 1 องศาเซลเซียส ผลการออกแบบระบบพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ พบว่าค่าความต้องการพลังงานรวมทั้งหมดรายวัน 1,780 วัตต์ – ชั่วโมง เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตพลังงานในหนึ่งวันเฉลี่ย 320 วัตต์ – ชั่วโมง ด้วยระบบพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ที่ออกแบบสร้างเป็นรูปแบบการผลิตแบบอิสระที่มีแบตเตอรี่ ในการออกแบบได้ใช้แบตเตอรี่ที่มีความจุ 200 แอมแปร์ แรงดันที่ใช้ในระบบ 24 โวลต์ ดังนั้นกำลังไฟฟ้าในระบบเท่ากับ 4,800 วัตต์ ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของระบบที่ใช้งานจริงเท่ากับวันละ 30 นาที ช่วงที่ระบบทำงานค่าอุณหภูมิในโรงเรือนมีค่าเฉลี่ย 38.1 องศาเซลเซียส และค่าความผิดพลาดเฉลี่ย 3.2 องศาเซลเซียส ค่าความผิดพลาดยังอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถยอมรับได้ และสามารถสั่งการทำงานด้วยแอปพลิเคชัน  eWeLink ที่ควบคุมระบบสปริงเกอร์ในการรดน้ำวันละ 30 นาที ช่วงที่ระบบทำงานค่าอุณหภูมิในโรงเรือนมีค่าเฉลี่ย 38.1 องศาเซลเซียส และค่าความผิดพลาดเฉลี่ย 3.2 องศาเซลเซียส ค่าความผิดพลาดยังอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถยอมรับได้ และสามารถสั่งการทำงานด้วยแอ็ปพลิเคชัน eWeLink ที่ควบคุมระบบสปริงเกอร์ในการรดน้ำ

Article Details

How to Cite
[1]
นระมาตย์ ว. และ ไตรพัฒน์ ว., “การประยุกต์ใช้พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนด้วยวิธีการพ่นหมอกและสั่งงานด้วยอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 14, ฉบับที่ 2, น. 99–112, ก.ย. 2024.
บท
บทความวิจัย

References

K. Pongtana and C. Sakul, “Hydroponics house with automatic control system using solar energy,” UTK Research Journal, vol. 13, no. 2, pp. 65-77, Jul. – Dec. 2019. (in Thai)

J. Manwicha, “Smart Farms Technology,” Hatyai Academic Journal, vol. 14, no. 2, pp. 201-210, Jul. – Dec. 2016. (in Thai)

J. Muangprathub et al., “IoT and agriculture data analysis for the smart farm,” Computers and Electronics in Agriculture, vol. 156, pp. 467-474, Jan. 2019.

E. S. Mohamed et al., “Smart farming for improving agricultural management,” The Egyptian Journal of Remote Sensing and Space Sciences, vol. 24, no. 3, pp. 971-981, Dec. 2021.

N. Lefore, A. Closas and P. Schmitter, “A framework to deliver inclusive and environmentally sustainable solar irrigation for smallholder agriculture,” Energy Policy, vol. 154, Jul. 2021, Art. no. 112313.

T. Rudchapo and M. Punon, “The Development of Flat Plate Solar Hot Water System Combined with Induction Water Heating System : SIWH,” Journal of Industrial Technology Ubon Ratchathani Rajabhat University, vol. 9, no. 2, pp. 73-84, Jul. – Dec. 2019. (in Thai)

N. Ruecha, T. Kanta and C. Tapok, “Guidelines for utilizing solar energy to support policies (Green office) in Kamphaeng Phet Rajabhat University, Mae Sot area. The Golden Teak,” Science and Technology Journal, vol. 9, no. 1, pp. 65-83, Jan. – Jun. 2022. (in Thai)

R. J. Mustafa, M. R. Gomaa, M. Al-Dhaifallah and H. Rezk, “Environmental Impacts on the Performance of Solar Photovoltaic Systems,” Sustainability, vol. 12, no. 2, 2020, Art. no. 608.

P. C. Ene, C. C. Okoh, P. A. Okoro, S. V. Egoigwe and K. C. Chike, “Application of smart DC-Grid for efficient use of the solar photovoltaic system in driving separately excited DC motor: Dynamic performance and techno-economic assessments,” Cleaner Engineering and Technology, vol. 4, Oct. 2021, Art. no. 100136.

R. Himmina and A. Calng, “Energy Backup for Building,” B.D. thesis, Dept. Elect. Eng., Prince of Songkla University, Songkla, Thailand, 2021. (in Thai)

M. I. Hlal, V. K. Ramachandaramurthy, A. Sarhan, A. Pouryekta and U. Subramaniam, “Optimum battery depth of discharge for off-grid solar PV/battery system,” Journal of Energy Storage, vol. 26, Dec. 2019, Art. no. 100999.

N. Hamrouni, M. Jraidi and A. Chérif, “Solar radiation and ambient temperature effects on the performances of a PV pumping system,” Revue des Energies Renouvelables, vol. 11, no. 1, pp. 95-106, Mar. 2008.

T. Namhormchan and A. Seripatananon, “PLC-Based Automatic Control System of Temperature and Relative Humidity in Soilless Culture Greenhouse with an Evaporative Cooling System and Fogging System,” EAU Heritage Journal Science and Technology, vol. 8, no. 1, pp. 98-111, Jan. – Apr. 2014. (in Thai)