การปรับปรุงแผนผังโรงงานด้วยวิธีการจำลองสถานการณ์: กรณีศึกษาโรงโอ่งมังกร

Main Article Content

ธวัชชัย ประหยัดวงศ์
เชิดชัย ธุระแพง
ทองแท่ง ทองลิ่ม
ชูศักดิ์ พรสิงห์

บทคัดย่อ

บทความนี้ได้นำเสนอการศึกษาและแนวทางการปรับปรุงแผนผังโรงงานผลิตโอ่งมังกรด้วยแบบจำลองสถานการณ์ จากการศึกษาแผนผังโรงงานเป็นการจัดตามกระบวนการผลิตประกอบด้วยสถานีการผลิต 5 สถานี มีการใช้แรงงานคนและรถขนของลากจูงในการขนถ่ายวัสดุระหว่างสถานี พบปัญหาว่ามีเส้นทางการขนถ่ายวัสดุมีการย้อนกลับไปกลับมา ทำให้เกิดการสูญเปล่าในกระบวนการผลิต วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อหาแนวทางการลดระยะทางในการขนถ่ายวัสดุระหว่างสถานีการผลิตในใช้พื้นที่ในโรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยใช้เครื่องมือในวิเคราะห์กระบวนการผลิตร่วมกับแผนผังจากไปและความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมในการแก้ปัญหา เริ่มจากการสร้างแบบในการจำลองแผนผังโรงงานด้วยโปรแกรมกูเกิลสเก็ตอัพทำการจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรมเฟลคซิม กระบวนการผลิตโอ่งมังกร ตามแผนผังโรงงานและขั้นตอนการผลิตแต่ละสถานี วิเคราะห์ข้อมูลจากโรงงานที่เป็นกรณีศึกษา ได้แก่ ระยะห่างและแรงงานที่ปฏิบัติงานขนถ่ายวัสดุระหว่างสถานี แบบจำลองสถานการณ์แผนผังเดิมมีระยะทางรวม 8,830.22 เมตร จากนั้นทำการออกแบบแผนผังทางเลือก 3 รูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า แผนผังทางเลือกที่ 2 มีระยะทางรวม 7,025.30 เมตร มีข้อมูลการเคลื่อนที่ในการขนถ่ายวัสดุน้อยที่สุด ระยะทางที่สั้นลงคิดเป็นระยะทางที่ลดลงได้ร้อยละ 20.44 จากแผนผังเดิม

Article Details

How to Cite
[1]
ประหยัดวงศ์ ธ., ธุระแพง เ., ทองลิ่ม ท., และ พรสิงห์ ช., “การปรับปรุงแผนผังโรงงานด้วยวิธีการจำลองสถานการณ์: กรณีศึกษาโรงโอ่งมังกร”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 12, ฉบับที่ 2, น. 69–81, ก.ย. 2022.
บท
บทความวิจัย

References

Suainapanusorn J, Toadithep T. Changes in local wisdom of glazed water jar with dragon pattern in Mueang district, Ratchaburi province. Journal for social sciences research. 2018; 9(2): 9-24. (in Thai)

Muangkaew T. The development of clay slip for creation in Ratchaburi's pottery. Veridian

E –Journal, Silpakorn University. 2018; 11(2): 2414-30. (in Thai)

Sriampornsanta P, Rattanamanee W. A new approach to generate from to chart for solving uncertainty data in the dynamic plant layout problem. Journal of Industrial Technology, Ubon Ratchathani Rajabhat University. 2014; 4(1): 67-78. (in Thai)

Bunterngchit C. Simulation - based application in warehouse layout design for reducing material handing time. Kasem Bundit Engineering Journal. 2018; 8(3): 1-14. (in Thai)

Chainavakul A, Muangwai A, Khanongnuch T. Efficiency improvement of material flow by using plant layout improvement. Industrial Technology and Engineering Pibulsongkram Rajabhat University Journal. 2019; 1(2): 12-9. (in Thai)

Mhoraksa T, Samattapapong N, Yunyao S, Wongsakul P. Simulation - based application for improving drinking water production process: a case study of the drinking water factory in chanthaburi. RMUTL Engineering Journal. 2020; 5(2): 36-42. (in Thai)

Prayogo A, Zusi H. Increase efficiency with production model re-layout using activity relationship chart. Dinasti International Journal of Education Management and Social Science. 2020; 1(3): 270-81.

Desai S S, Madhale A K. Optimization of machining facility layout by using simulation: case study. International Research Journal of Engineering and Technology (IRJET). 2019; 6(6): 1861-65.

Siriya K, and et al. A Simulation Model and Break-Even Analysis for Improving Painting Robots. International Journal of Advanced Trends in Computer Science and Engineering. 2020; 9(4): 4977-83.