การเลือกตำแหน่งที่เหมาะสมของเครื่องบดปฐมภูมิในเหมืองแร่ดินบอลเคลย์

Main Article Content

ศิวโรฒม์ ศิริลักษณ์
ลัดดาวัลย์ ดุลย์
วิทยกุล สิทธิสาร

บทคัดย่อ

เหมืองดินบอลเคลย์มีพื้นที่ 70,000 ตารางเมตร อายุของเหมืองถูกประเมินเป็นระยะเวลา 16 ปี กิจวัตรงานขุดขนลำเลียงผลิตแร่เป็นงานที่ต้องทำเป็นประจำ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ ทำการศึกษาหาตำแหน่งเครื่องย่อยแร่ในจุดที่ดีที่สุด อันเป็นผลให้ผลรวมของเส้นทางสั้นที่สุด โดยการใช้วิธีวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองแบบบล็อกถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาสำหรับพื้นที่ไม่เป็นรูปแบบเรขาคณิต ปริมาตรของดินบอลเคลย์จากข้อมูลการเจาะถูกออกแบบไว้เป็นสองระดับ ขั้นตอนแรกใช้การหาระยะกระจัดตามทฤษฎีของยูคลิเดียน เชบีเชฟ และแมนฮัตตัน เพื่อนำมาทดสอบหาจุดที่การกระจัดน้อยที่สุดของชั้นที่ 1 จากนั้นชั้นใต้ดินจะต้องคำนึงถึงผนังที่เกิดขึ้นจากขอบของบ่อเหมือง เงื่อนไขนี้ถูกแก้ปัญหาโดยไดค์สตาร์อัลกอริทึม ซึ่งผลการทดลองตลอดโครงการพบว่า จุดติดตั้งที่ดีที่สุดจะมีระยะทางสั้นที่สุดรวม 1,237 หน่วย จุดที่แย่ที่สุดจะมีระยะทางยาวที่สุดรวม 2,453 หน่วย มีผลให้ระยะทางรวมตลอดโครงการลดลงถึง 43 เปอร์เซ็นต์ การวางแผนการทำเหมืองแร่ที่ดีสามารถทำในเหมืองขนาดเล็กโดยปราศจากซอฟท์แวร์สำเร็จรูป ผลประโยชน์จากการติดตั้งเครื่องย่อยแร่ที่เหมาะสมนั้นจะส่งผลให้ ค่าใช้จ่ายในการขุดขนลดลง เวลาที่ใช้ลดลง ค่าใช้จ่ายในการบริหารการขนส่งลดลง การลดลงของฝุ่นเมื่อรถบรรทุกแร่ต้องเคลื่อนตัวน้อยลง การปล่อยก๊าซจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ก็น้อยลงไปด้วย เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งระบบ ท้ายนี้วิธีการแก้ปัญหานี้สามารถประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาที่หลากหลาย เช่น งานดิน ถมกลับ งานเคลื่อนย้ายเปลือกดินด้วย

Article Details

How to Cite
[1]
ศิริลักษณ์ ศ., ดุลย์ ล., และ สิทธิสาร ว., “การเลือกตำแหน่งที่เหมาะสมของเครื่องบดปฐมภูมิในเหมืองแร่ดินบอลเคลย์”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 12, ฉบับที่ 2, น. 15–27, ก.ย. 2022.
บท
บทความวิจัย

References

Carty, W. M., & Senapati, U. (1998). Porcelain—raw materials, processing, phase evolution, and mechanical behavior. Journal of the American Ceramic Society, 81(1), 3-20. DOI:10.1111/ j.1151-2916.1998.tb02290.x

Kes, M. (2007). Determination of the particle interactions-rheology-suface roughness relationship for dental ceramics (Master's thesis, İzmir Institute of. Technology).DOI:10.1016 /j.jeurceramsoc2009.04.015

Chandrasekhar, S., & Ramaswamy, S. (2002). Influence of mineral impurities on the properties of kaolin and its thermally treated products. Applied clay science, 21(3-4), 133-142. DOI:10.1016/S0169-1317(01)00083-7

Hall, P. L., Angel, B. R., & Braven, J. (1974). Electron spin resonance and related studies of lignite and ball clay from South Devon, England. Chemical Geology, 13(2), 97-113.DOI:10.1016/ 0009-2541(74)90002-3

Wilson, I. R. (1998). The constitution, evaluation and ceramic properties of ball clays. Cerâmica, 44(287-288), 88-117.DOI:10.1590/S0366-691319980004000027.

He, M. X., Wei, J. C., Lu, X. M., & Huang, B. X. (2010). The genetic algorithm for truck dispatching problems in surface mine. Information technology journal, 9(4), 710-714. DOI:10.3923/itj.2010. 710.714

Saito, T., & Toriwaki, J. I. (1994). New algorithms for euclidean distance transformation of an

n-dimensional digitized picture with applications. Pattern recognition, 27(11), 1551-1565. DOI:10.1016 /0031-3203(94)90133-3

Bozer, Y. A., Schorn, E. C., & Sharp, G. P. (1990). Geometric approaches to solve the Chebyshev traveling salesman problem. IIE transactions, 22(3), 238-254.DOI:10.1080/ 07408179008964179

Medrano-Marqués, N. J., & Martín-del-Brío, B. (1999, June). Topology preservation in SOFM: an euclidean versus manhattan distance comparison. In International Work-Conference on Artificial Neural Networks (pp. 601-609). Springer, Berlin, Heidelberg.DOI:10.1007/BFb0098218

Fadzli, S. A., Abdulkadir, S. I., Makhtar, M., & Jamal, A. A. (2015, December). Robotic indoor path planning using dijkstra's algorithm with multi-layer dictionaries. In 2015 2nd International Conference on Information Science and Security (ICISS) (pp. 1-4). IEEE.DOI:10.1109/ICISSEC.2015. 7371031