การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตแหนมหมู : กรณีศึกษา ร้านแหนมหมู จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

กนกวรรณ สุภักดี
นริศรา สารีบุตร

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตแหนมหมู ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาสภาพปัญหา โดยใช้แผนภูมิการไหลของกระบวนการผลิต และแผนภาพการไหลในการเก็บข้อมูลแล้วทำการวิเคราะห์สาเหตุโดยใช้หลักการแผนภูมิก้างปลา พบว่ามี 2 ขั้นตอนที่เกิดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตแหนมหมู คือ
1) กระบวนการบดหนังหมู มีความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต คือ ระหว่างการบดหนังหมูมีหนังหมูกระเด็นออกจากเครื่องบดเกิดเป็นของเสีย จำนวน 300 กรัมต่อวัน ปัญหาดังกล่าวข้างต้นผู้วิจัยได้คิดวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้การออกแบบอุปกรณ์ป้องกันการกระเด็นของหนังหมู หลังการปรับปรุงพบว่าสามารถลดของเสียลงได้เหลือ 20 กรัม จาก 300 กรัม การปรับปรุงส่งผลให้ของเสียลดลง 280 กรัม คิดเป็นร้อยละ 93.33 ของจำนวนของเสียทั้งหมดและ 2) กระบวนการอัดแหนม พบปัญหาที่เกิดขึ้นหลังการกระบวนอัดแหนม พนักงานต้องบีบแหนมออกจากถุงทุกครั้ง เนื่องจากกระบวนการอัดแหนมเกินขนาดที่ต้องการ จึงต้องมีการบีบแหนมออกจากถุงเพื่อให้ได้ขนาดที่ต้องการก่อนปิดปากถุง ซึ่งทำให้เกิดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต ส่งผลไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในขั้นตอนนี้ ผู้วิจัยจึงได้ออกแบบและพัฒนาหัวอัดแหนมใหม่ ส่งผลให้น้ำหนักแหนมแต่ละห่อมีน้ำหนักใกล้เคียงกัน และสามารถผลิตแหนมจากเดิม 12 กิโลกรัม ใช้เวลา 26,280 วินาที หลังจากทำการพัฒนาหัวอัดแหนม พบว่า สามารถผลิตแหนมได้เพิ่มขึ้นเป็น
16 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 33.33 และใช้เวลาในการผลิตเพียง 22,680 วินาที หรือคิดเป็นร้อยละ 13.69 ส่งผลให้สามารถผลิตแหนมได้ตามความต้องการของลูกค้าและแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้

Article Details

How to Cite
[1]
สุภักดี ก. และ สารีบุตร น. . ., “การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตแหนมหมู : กรณีศึกษา ร้านแหนมหมู จังหวัดอุบลราชธานี”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 12, ฉบับที่ 1, น. 81–92, พ.ค. 2022.
บท
บทความวิจัย

References

Pornchaloempong P., Rattanapanone N. Neam [Internet]. 2020 [cited 2020 Mar 1]; available from: http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1942/แหนม-Neam. (in Thai)

Kanjanapanyakom R. Industrial Work Study (edition 2019). Bangkok: Top Publishing. 2019. (in Thai)

Chantakit W. 17 problem solving devices. 6th ed. Bangkok: Thailand Productivity Institute. 2006. (in Thai)

Cordkaew T. Production Efficiency Improvement in Sour Pork Production Process [Independent Study]. Chiang Mai University. 2011. (in Thai)

Mongkhon Ch. Production Efficiency Development of Community Enterprise of Fruit-processing Women Group in Bangkhla, Chachoengsao Province. Journal of Industrial Technology Ubon Ratchathani Rajabhat University. 2016; 6(2): 99-114. (in Thai)

Charoenprasit S and Thaingoen K. Spare Parts Disbursement Documenting Time Reduction by Using DMAIC Concept. Journal of Industrial Technology Ubon Ratchathani Rajabhat University. 2020; 10(1): 124–36. (in Thai)

Department of Industrial Promotion. Case Study: Nham Factory Increase efficiency and reduce waste with QCC group activity [Internet].2020 [cited 2020 Mar 15]; available from: https://bsc.dip.go.th/en/category/case-all/qs-casestudy6. (in Thai)